1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ...

176
1 ISSN 1905-677x วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal วารสารราย 4 เดือน ปที3 ฉบับที7 พฤษภาคม สิงหาคม 2551 Volume 3 No. 7 May – August 2008 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค สรร สรร สรร คสรางความรู นําสูสังคม คสรางความรู นําสูสังคม คสรางความรู นําสูสังคม สํานักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค 398 หมูที9 ตําบลนครสวรรคตก .เมือง .นครสวรรค 60000 โทร. 0-5621-9100-29 ตอ 1173-1178 Mobile 08-6592-4099 http://registrar.nsru.ac.th/graduate

Transcript of 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ...

Page 1: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

1

ISSN 1905-677x

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาวารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรคมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal วารสารราย 4 เดือน ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

Volume 3 No. 7 May – August 2008

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรคบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

สรรสรรสรรคสรางความรู นําสูสังคมคสรางความรู นําสูสังคมคสรางความรู นําสูสังคม

สํานักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค 398 หมูที่ 9 ตําบลนครสวรรคตก อ.เมือง จ.นครสวรรค 60000

โทร. 0-5621-9100-29 ตอ 1173-1178 Mobile 08-6592-4099

http://registrar.nsru.ac.th/graduate

Page 2: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

2

บทบรรณาธิการ วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค ฉบับนี้เปน

ฉบับท่ี 7 ปท่ี 3 จัดทําข้ึนโดยมีวัตถุประสงคเพื่อเปนส่ือกลางในการเผยแพรบทความทางวิชาการ งานวิจัย และบทความวิทยานิพนธของนักศึกษาและอาจารยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค และเพ่ือเปนเวทีเปดทางวิชาการใหนักวิชาการ ผูทรงคุณวุฒิ และผูสนใจ ไดเผยแพรความรูทางวิชาการ งานวิจัย และผลงานอ่ืน ๆ เพื่อรวมกัน “สรรคสรางความรู นําสูสังคม”

สาระในวารสารฉบับนี้ประกอบดวยบทความทางวิชาการ 2 เร่ือง ไดแก “U-Learning การเรียนรูท่ีไรขีดจํากัด” และ “หลักพื้นฐานในการสรางงานวิจัยคุณภาพ” บทความวิจัยเร่ือง “การพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรู เพื่อเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา” ยังมีบทความวิทยานิพนธของผูสําเร็จการศึกษา จํานวน 12 เร่ือง จําแนก เปนสาขาหลักสูตรและการสอน 9 เร่ือง สาขาการสงเสริมสุขภาพ 1 เร่ือง สาขาการบริหารการศึกษา 1 เร่ือง และสาขารัฐศาสตร 1 เร่ือง ในจํานวนนี้เปนบทความวิทยานิพนธจากตางสถาบัน 4 เร่ือง หวังอยางยิ่งวาวารสารฉบับนี้ จะเปนประโยชนตอผูอานบางตามสมควร หากผูอานจะมีขอเสนอแนะใดในการปรับปรุงวารสารนี้ใหสมบูรณยิ่งข้ึน กองบรรณาธิการขอนอมรับไวดวยความยินดียิ่ง

บรรณาธิการ

Page 3: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

3

สารบัญ ท่ี บทความวิชาการ หนา 1 U-Learning : การเรียนรูที่ไรขีดจํากัด ............................................................................. มงคล จันทรภิบาล 1 2 หลักพ้ืนฐานในการสรางงานวิจัยคุณภาพ .................................. พัชราภา สิงหธนสาร และ ศรีนํ้า ขุนออน 5 บทความวิจัย 3 การพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพ่ือเสริมสรางทักษะการสอนเขียน

ภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ................................................................................... บัณฑิต ฉัตรวิโรจน

13 บทความวิทยานิพนธ 4 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษา

ปที่ 1 ที่ไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา กับการสอนตามปกติ............. กมลทิพย แกวนกสิการณ

25 5 ผลการใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูที่มีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

ความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6..สายพิณ มาวรรณ

37 6 การพัฒนาชุดการสอนวิชาประวัติศาสตรไทย เรื่องอาณาจักรสุโขทัยสําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 4

............................................................................................................................... ซอนกลิ่น เพียรกสิกรรม

49 7 การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง Food and Health สําหรบันักเรียนช้ันมัธยมศึกษา

ปที่ 5 ...................................................................................................................................... นฤมล คําชมภู

59 8 ผลการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ที่มีตอคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงคและ

ความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 5 .. พรทิวา ชางปลิว

69 9 ผลการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลที่มีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

เจตคติตอวิชาคณิตศาสตรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6 ........................................... ฐิติพจน โพธิ์ช่ืน

83 10 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ัน

มัธยมศึกษาปที่ 2 .............................................................................................................. โรจนฤทธิ์ จันนุม

93 11 ผลของการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรที่สงผลตอความสามารถทางศิลปะและความคิดสรางสรรค

ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 ............................................................................ รัตนภรณ สังฆะมณีย

104 12 การพัฒนาหลักสูตรทองถ่ิน เรื่อง โปงลางสําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 ................ ลําไย ศิริสุวรรณ 116 13 ผลของการออกกําลังกายตอการลดระดับไขมันในเลือดของเจาหนาที่โรงพยาบาลสวรรคประชารักษ .........

............................................................................................................................................. อําไพ ทองแบน

126 14 การพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูในโรงเรียนบานดงเมือง(ดงเมืองวิทยา) อําเภอกุมภวาป จังหวัด

อุดรธานี ................................................................................................................................ นิรมล ทองตัน

139 15 การตรวจสอบทุจริตการจัดซื้อจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล ............................. ณัฐา ปยะวิทยวนิช 153 16 แนะนําหนังสือ: Active Learning 101 Strategies to Teach Any Subject ................. ประจักร รอดอาวุธ 170

Page 4: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

4

คณะกรรมการกลั่นกรอง ตนฉบับบทความทางวิชาการและบทความวิทยานิพนธในวารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค ปท่ี 3 ฉบับท่ี 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551 ไดรับการตรวจอานและแกไขจากผูทรงคุณวุฒิ ดังรายนามตอไปนี ้ 1. รองศาสตราจารย ดร.นิพนธ กินาวงศ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. รองศาสตราจารย ดร.ประจักษ สายแสง มหาวิทยาลัยนเรศวร

3. รองศาสตราจารย ดร.วารีรัตน แกวอุไร มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. รองศาสตราจารย ดร.ชุติมา สัจจานันท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 5. รองศาสตราจารย ดร.ทวศัีกดิ์ จินดานุรักษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

6. รองศาสตราจารย ดร.นวลจิตต เชาวกีรติพงศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

7. ผูชวยศาสตราจารย ดร.ประเสริฐ จริยานกุูล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

สําหรับบทความวิทยานิพนธท่ีนํามาตีพิมพในแตละฉบับ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบเปนข้ันแรก แลวจัดใหมีกรรมการภายนอกรวมกล่ันกรอง (Peer Review) และประเมินบทความตามเกณฑและแบบฟอรมท่ีกาํหนด ในลักษณะเปน blind review คือปกปดรายช่ือผูเขียนบทความและผูเกี่ยวของ

ทัศนะ แนวคิด และรูปแบบการนําเสนอบทความในวารสารฉบับนี้ เปนความรับผิดชอบของผูเขียนแตละคน

การนําบทความหรือสวนหนึง่ของบทความไปตีพิมพเผยแพร ใหอางอิงแสดงท่ีมา

ขอมูลเกี่ยวกบัผูเขียนบทความ และการสงบทความตีพิมพ ดูรายละเอียดไดท่ีปกหลังดานใน

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพและจะแจงใหเจาของบทความทราบหลังจากผูประเมินอิสระตรวจอานบทความแลว

กําหนดปดรับตนฉบบั

ฉบับท่ีแรกของป (มกราคม-เมษายน) กําหนดออกเดอืนพฤษภาคม ปดรับ 31 มีนาคม

ฉบับท่ีสองของป (พฤษภาคม-สิงหาคม) กําหนดออกเดอืนกันยายน ปดรับ 31 กรกฎาคม

ฉบับท่ีสามของป (กันยายน-ธันวาคม) กําหนดออกเดอืนมกราคมปถัดไป ปดรับ 30 พฤศจิกายน

Page 5: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

1

U-Learning : การเรียนรูท่ีไรขีดจํากัด มงคล จันทรภิบาล*

เราคงจะคุนเคยกับคําวา e-Learning วาการเรียนในลักษณะใดก็ได ซ่ึงใชการถายทอดเนื้อหาผานทางอุปกรณอิเล็กทรอนิกสท้ังหลายไมวาจะเปนคอมพิวเตอร เครือขายอินเทอรเน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต การเรียนผานทางสัญญาณโทรทัศน หรือ สัญญาณดาวเทียม โดยเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยูในรูปแบบ คอมพิวเตอรชวยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนแบบออนไลน ( On-line Learning) การเรียนทางไกลผานดาวเทียม หรือ อาจอยูในลักษณะท่ียังไมคอยเปนท่ีแพรหลายนัก เชน การเรียนจากวิดีทัศนตามอัธยาศัย (Video On-Demand) การเรียนผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Learning : m – Learning) ซ่ึงชวยใหการจัดการเรียนการสอนเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ มีความสะดวก ผูเรียนสามารถเขาถึงแหลงขอมูลมากมายท่ีมีอยูท่ัวโลกไดอยางไรขอบเขตจํากัด ในเร่ืองระยะทาง เวลา และสถานท่ี โดยผานทางระบบเครือขายอินเตอรเน็ต อีกท้ังยังสนองตอบตอศักยภาพและความสามารถของผูเรียนไดเปนอยางดี ดวยความเจริญกาวหนาทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือขายอินเทอรเน็ตในปจจุบันท่ีมีการพัฒนาอยางไมหยุดยั้งท้ังในดานความรวดเร็วในการรับสงขอมูลและระบบที่ใช ซ่ึงจะเปนระบบท่ีไรสาย (wireless) มากข้ึน มีการใชเทคโนโลยีสําหรับการนําเสนอในระบบการเรียนการสอนท่ีนาสนใจหลายอยาง เชน การใชเสียงและการสงสัญญาณวิดีโอตามความตองการ (video on demand) การประชุมผานสัญญาณวิดีโอ (video conference) ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลนจึงเปนแนวโนมในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตอันใกลนี้ เพราะระบบเทคโนโลยีไรสายจะสามารถเขาถึงระบบการเรียนการสอนแบบออนไลนดีท่ีสุด ชนิดเขาถึงไดแบบทุกท่ีและเวลาแบบไมมีขอจํากัดอีกตอไป หากเราไดมีโอกาสไปเดินดูตามรานขายหนังสือไมวาจะเปนซีเอ็ดบุค บีทูเอส แลวดูหนังสือเกี่ยวกับไอที จะเจอคําศัพทไอที ท่ีกําลังเปนท่ีพูดถึงมากในขณะน้ี ก็คือ โลกเราทุกวันนี้กําลังกาวสูยุคของสังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous Computing Society) หรือ ยูบิคอมพ (Ubicomp) เราลองมาดูซิวาสังคมยูบิควิตัส และการเรียนรูแบบ Ubiquitous – Learning หรือU-Learning เปนอยางไร พัฒนาการดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารในอดีต เร่ิมมาจากการใชอุปกรณคอมพิวเตอรท่ีมีประสิทธิภาพสูงแตมีขนาดใหญ และเร่ิมพัฒนามาเปนคอมพิวเตอรขนาดท่ีเล็กลงแตประสิทธิภาพท่ีสูงข้ึน จากยุคคอมพิวเตอรท่ีใชบนโตะทํางาน (Desktop) พัฒนามาเปนรุนที่มีขนาดเล็กลงจนสามารถพกพาติดตัวไปได (Mobile) และในอนาคตอุปกรณตาง ๆ รอบตัวเราจะมีความสามารถในการประมวลผล

*อาจารยประจําสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

Page 6: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

2

ขอมูลและแสดงผลไดมากข้ึนกวาเดิม ทําใหสามารถชวยทํางานไดอยางหลากหลาย เชน เราสามารถดูรายการโทรทัศนหรือฟงเพลงจากโทรศัพทมือถือ สามารถส่ังซ้ือของหรือชําระคาใชจายตางๆไดจากตูกดเงินอัตโนมัตของธนาคาร แนวการดําเนินชีวิตท่ีสะดวกสบายมากข้ึนนี้ เปนการเดินทางเขาสูยุคของสังคมยูบิควิตัส ท่ีตองพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารท่ีทันสมัยยิ่งข้ึน ซ่ึงในปจจุบันเราก็เร่ิมพบเห็นสังคมยูบิควิตัสบางแลว เชน โทรศัพทท่ีสามารถส่ือสารกับหูฟงไรสายดวยเทคโนโลยี Bluetooth หรืออุปกรณควบคุมระยะไกล (Remote Control) ท่ีสามารถส่ือสารกับอุปกรณอิเลคโทรนิคสภายในบานไดหลายๆชนิด การที่อุปกรณเหลานี้สามารถส่ือสารกันได ทําใหชีวิตของเราไดรับความสะดวกสบายข้ึน คําวา ยูบิควิตัส (Ubiquitous) มีรากศัพท มาจากภาษาลาติน หมายถึง "มีอยูทุกหน ทุกแหง" ซ่ึง มารก ไวเซอร (Mark Weiser) แหงศูนยวิจัย Palo Alto ของบริษัทซีร็อกซ สหรัฐอเมริกา ซ่ึงถือกันวาเปน "บิดาแหงยูบิควิตัส" ไดจินตนาการไวต้ังแตป 1993 วา "ในอนาคตอันใกลนี้ คนเราสามารถท่ีจะเขาถึงคอมพิวเตอรไดตลอดเวลา ไมวาจะอยูท่ีใด (computing access will be everywhere)" การพัฒนาส่ิงเหลานี้ทําใหเทคโนโลยีตาง ๆ เขามาเกี่ยวของกับการดําเนินชีวิตประจําวัน Ubiquitous Computing รวมถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอรประเภท micro processors โทรศัพทเคล่ือนท่ี (mobile phones) กลองดิจิตอล และอุปกรณอ่ืน ๆ ท่ีทําใหเราสามารถเขาถึงขอมูลสารสนเทศไดทุกหนทุกแหง สภาพแวดลอมท่ีสามารถใชคอมพิวเตอรเพื่อการเช่ือมตอกับระบบเครือขายไมวาจะอยูในท่ีแหงใด โดยความจริงขอนี้ เร่ิมปรากฏใหเห็นเม่ือเรามีการนําการส่ือสาร แบบไรสาย และอินเทอรเน็ต มาใชงานรวมกัน ลักษณะเดนของสังคมยูบิควิตัส ก็คือ 1. มีการเช่ือมตอกับเครือขายตลอดเวลา 2. คอมพิวเตอรจะแทรกซึมเขาไปอยูในเคร่ืองใชตางๆ (anytime anywhere, anydevices) โดยท่ีผูใชไมรูสึกตัวเลยวา กําลังใชงานคอมพิวเตอรอยู 3. บริการตาง ๆ ของคอมพิวเตอร สามารถจะปรับเปล่ียนและตอบสนอง ไดตามตองการของผูใชแตละคน เพราะระบบคอมพิวเตอรขนาดจิ๋ว ท่ีจะเร่ิมเขามาฝงตัว (embedded) เขากับอุปกรณเคร่ืองใชไฟฟาตาง ๆ โดยนอกจากมันจะทํางานควบคุมเคร่ืองใชนั้น ๆ ใหทํางานไดแลว มันยังมีความสามารถในการติดตอส่ือสาร หรือแลกเปล่ียนขอมูลกับเคร่ืองใชอ่ืน ๆ ไดอีกดวย เชน ตูเย็นอินเทอรเน็ต ท่ีสามารถแจงส่ังของจากรานคามาเติมตูไดเองหากของในตูเย็นใกลหมด เตาอบไมโครเวฟอินเทอรเน็ต ท่ีสามารถเช่ือมตออินเทอรเน็ต เพื่อดูสูตรอาหารได หรือรถยนตท่ีเช่ือมตอ อินเทอรเน็ต เพื่อหาเสนทางวิ่งเองได ในแบบที่ลัดท่ีสุด เดินทางไดรวดเร็วท่ีสุด

Page 7: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

3

Ubiquitous Learning หรือ U-Learning คืออะไร U-Learning คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสําเร็จรูป (Instruction Package) ท่ีนําเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผานเทคโนโลยีเครือขายท้ังแบบใชสายและไรสาย รวมไปถึงพวกอุปกรณตาง ๆ ท่ีใชในการประมวลผลแบบไรขอบเขต ท่ีผูเรียนสามารถเรียนไดทุกท่ีและทุกเวลา หรืออาจหมายถึง e-Learning + m-Learning คือเปนการผนวกเอาการเรียนรูในลักษณะของ e-Learning และ m-Learning (mobile – Learning) เขาดวยกัน ขอดี และขอจํากัดของ Ubiquitous Learning ขอดีของ Ubiquitous Learning 1. Adaptive learning เปนการเรียนรูท่ีปรับวิธีการใหตรงกับรูปแบบการเรียนรูของผูเรียน การสอนท่ีปรับใหเขากับผูเรียนทําใหเกิดการเรียนรูไดรวดเร็ว ประสิทธิภาพสูงและเขาใจไดมากกวา เชน การติดตามกิจกรรมการเรียนของผูเรียน การแปลผล และใชขอมูลใหม ๆ เสริมกระบวนการเรียน (Paramythis and Loidl-Reisinger, 2004) 2. Ubiquitous Learning Environment (ULE) เปนสถานการณการเรียนรูแบบ pervasive (omnipresent education or learning) การเรียนเกิดข้ึนรอบตัวนักเรียนโดยนักเรียนอาจไมรูตัว ขอมูลไดรวมไวในอุปกรณตางๆ ขอเพียงนักเรียนพรอมท่ีจะเรียน ที่จริงแลว นาจะมาจากคําวา Ubiquitous e-learning แต e- ไดถูกตัดหายไป เนื่องจากเปนการเรียนรูท่ีเปนสวนหนึ่งของการดําเนินชีวิต ซ่ึงเกี่ยวพันธกับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ท้ังแบบดังเดิมและการใชเทคโนโลยีดานสารสนเทศดวย 3. การเช่ือมตอกับเครือขายไมวาผูใชงานจะเคล่ือนยายไปยังสถานท่ีตาง ๆ 4. การใหบริการที่สามารถเปล่ียนไปตามสถานการณท้ังสถานท่ี อุปกรณ ปจจัยทางกายภาพอ่ืน ๆ 5. การบูรณาการ U-learning นั้นทําใหเกิดประโยชนตอประสบการณการเรียนแบบกลางแจง (outdoor) และการเรียนในรม (indoor) ตัวอยางการเรียนกลางแจง ไดแก ในสวน ศูนยกลางของเมือง ในปา สวนการเรียนในรม ไดแก ในพิพิธภัณฑ ศูนยการเรียนรู หองปฏิบัติการ หรือท่ีบาน ขอจํากัดของ Ubiquitous Learning 1. ระบบเช่ือมโยงเครือขายเพื่อใหครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous ตองใชการลงทุนสูง 2. จํานวนผูใชบริการ และผูท่ีมีความสามารถในการเขาถึงเทคโนโลยีดังกลาว ยังนอย ไมคุมคาการลงทุน

Page 8: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

4

บทสรุป ถึงแมเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทําใหเราเขาถึงขอมูลขาวสารไดมากมายอยางไมเคยมีมากอน ไมมีขีดจํากัดในเร่ืองระยะทางที่หางไกล เราสามารถท่ีจะทําการโตตอบและมีปฏิสัมพันธกับคนอ่ืน ๆ ไดโดยปราศจากส่ิงกีดขวางใดๆ เนื้อหาสาระท่ีเคยเรียนผานไปแลวสามารถบันทึกเก็บไวเพื่อเรียกใชไดตามความตองการ ทําใหระบบการเรียนเปนแบบเครือขาย ท่ีทุกคนสามารถแลก เปล่ียนเรียนรู ชวยเหลือซ่ึงกันไดเปนอยางดี ความเปล่ียนแปลงท้ังหลาย ท้ังดานเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดลอม เทคโนโลยี และการศึกษา ลวนมีผลตอวิถีชีวิตของคนเรา การรูเทาทันการเปล่ียนแปลงเพ่ือการเผชิญกับสถานการณท่ีเปล่ียนแปลงไป จะทําใหเราใชชีวิตอยูในสังคมโลกไดอยางมีความสุข

********************

รายการอางอิง Jones, V and Jo J.H.; “Ubiquitous learning environment: An adaptive learning system learning using

ubiquitous technology”, www.ascilite.org.au/conferences/perth04/procs/ Roger, Y, Price, S., Randell, C, Fraser D.S., Weal, M, and Fitzpatrick G.; “Communications of the

ACM”, Jan 2005, Vol.48, Issue 1, p 55-59. ********************

Page 9: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

5

หลักพ้ืนฐานในการสรางงานวิจัยคุณภาพ ผศ.พัชราภา สิงหธนสาร*

ศรีน้ํา ขุนออน**

การจัดทํางานวิจัยคุณภาพนั้นประกอบดวยข้ันตอนหลายข้ันตอน การที่จะผลิตงานวิจัยท่ีไดรับการยอมรับจะตองพิถีพิถันต้ังแตการตั้งช่ือเร่ืองงานวิจัย จนกระท่ังนําเสนอผลงานการวิจัย บทความนี้เขียนข้ึนเพื่อแสดงใหเห็นถึงการประยุกตองคความรูท่ีจําเปนตอการสรางงานวิจัยคุณภาพ ซ่ึงจะกลาวถึง 3 ประเด็นดวยกัน กลาวคือการสรางทฤษฎีใหม การทบทวนวรรณกรรม และการกําหนดวิธีการวิจัยท่ีเหมาะสม

การสรางทฤษฎีใหม (Theory Building) งานวิจัยระดับปริญญาเอกน้ันมุงเนนใหผูวิจัยสรางทฤษฎีใหม ซ่ึงนับเปนงานท่ียากยิ่งยวด ท้ังนี้ผูวิจัยจะตองศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวของเปนจํานวนมากเพื่อใหสามารถกําหนดองคความรูท่ีแตกตางจากความรูเดิมได จากการศึกษาองคความรูดานการสรางทฤษฎีใหมของ Giola และ Pitre (1990) พบวา การใชกระบวนทรรศนเพียงมุมมองเดียวยอมไมสามารถอธิบายความเปนจริงของปรากฏการณตางๆ ไดอยางชัดแจงและครอบคลุม จึงจําเปนตองใชกระบวนทรรศนท่ีหลากหลายมุมมอง ในท่ีนี้จะเสนอแนวคิดของ Bridging Across Multiparadigm ซ่ึงเปนการอธิบายถึงการเช่ือมโยงกระบวนทรรศนกระแสหลักท้ังส่ีกระบวนทรรศน ไดแก Radical Humanist, Radical Structuralist, Interpretivist, Functionallist เพื่อทําใหไดเห็นมุมมองใหม ๆ ทําใหสามารถอธิบายปรากฏการณตาง ๆ ไดครอบคลุมจากหลากหลายมุมมอง ดังรูปท่ี 1

รูปท่ี 1 กระบวนทรรศนกระแสหลัก

* ผูชวยศาสตราจารย ประจําคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค/ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ** นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

Page 10: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

6

โดยผูวิจัยควรท่ีจะศึกษาภาพรวมท้ัง 4 สวน โดยในสวนของ Interpretivist - Functionalist จะเปนการสรางทฤษฎีตามแนวทางของ Empiricism โดยท้ังสองกระบวนทรรศนมีลักษณะเปนโครงสรางนิยมเหมือนกัน แตกตางกัน ตรงท่ี 1. Interpretivist ใชวิธีอุปมาน (Inductive) คือวิธีการหาเหตุไดจากผลที่เกิดข้ึน การรวบรวมหลักฐานขอเท็จจริงจากปรากฏการณตางๆ ท่ีเกี่ยวของกับปญหาท่ีเราตองการจะศึกษา แลวนํามาเปรียบเทียบวิเคราะหโดยใชวิธีการทางสถิติเพื่อหาขอสรุป หากวาพบขอเท็จจริงบางอยางท่ีเกิดข้ึนภายใตเง่ือนไขเดียวกันมีผลเหมือนกัน ก็สามารถต้ังเปนกฎ หรือทฤษฎีเพื่อปรับใชกับขอเท็จจริงซ่ึงเกิดข้ึนภายหลัง เชน ถาตองการศึกษาความสัมพันธระหวางรายไดของผูบริโภคกับปริมาณซ้ือ ก็เร่ิมตนจากการเก็บรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับรายไดของผูบริโภคกลุมตาง ๆ กับปริมาณสินคาหลาย ๆ ชนิดท่ีผูบริโภคทําการซ้ือ จากนั้นนําขอมูลมาจําแนกตามวิธีการทางสถิติแลวสรุปผล

2. Functionalist ใชวิธีอนุมาน (Deductive) ซ่ึงเปนวิธีการหาผลจากเหตุหรืออธิบายจากหลักมาหาขอเท็จจริง ผานข้ันตอน 3 ข้ันตอน 2.1 ต้ังขอสมมติ พฤติกรรมทางธุรกิจเร่ืองใดเร่ืองหน่ึงจะถูกกําหนดโดยปจจัยตาง ๆ มากมายจนไมสามารถศึกษาผลกระทบจากปจจัยเหลานั้นไดหมด จึงจําเปนตองเลือกศึกษาเฉพาะปจจัยตัวท่ีคิดวาจะมีอิทธิพลตอพฤติกรรมนั้นมากท่ีสุด เพื่อไมใหปจจัยอ่ืน ๆ ไปกระทบส่ิงท่ีกําลังศึกษา เปนเหตุใหตองสมมติใหปจจัยตัวอ่ืน ๆ นั้นคงที่ ดังนั้นในการต้ังสมมติฐานในเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง จึงตองมีการกําหนดขอสมมติข้ึนกอน

2.2 สรุปนัยสําคัญของสมมติฐานท่ีต้ังข้ึน เพื่อวางเปนหลักหรือทฤษฎี การตั้งสมมติฐานจะตองรูวาอะไรเปนเหตุ อะไรเปนผล แลวจึงกําหนดขอสมมติฐานเปนแบบจําลองไว เชน ถาตองการศึกษาความสัมพันธระหวางรายไดของผูบริโภค กับปริมาณความตองการซ้ือ ตามหลักเหตุและผลท่ีถูกตอง รายไดจะเปนเหตุและปริมาณซ้ือจะเปนผล เม่ือต้ังเปนสมมติฐานจะไดวา ถารายไดของผูบริโภคเปล่ียนแปลงไปจะทําใหปริมาณซ้ือเปล่ียนแปลงไปดวย

2.3 ทดสอบหลักหรือสมมติฐานท่ีต้ังข้ึนจากขอเท็จจริงท่ีเกิดข้ึน ตองอาศัยขอเท็จจริงในจํานวนท่ีมากพอจะยืนยันความถูกตองของสมมติฐานน้ันๆได หากขอเท็จจริงท่ีเกิดข้ึนสอดคลองกับสมมติฐานท่ีต้ังไว ก็แสดงวาสมมติฐานนั้นถูกตอง สามารถสรุปออกมาเปนทฤษฎีได ซ่ึงสอดคลองกับแนวคิดของ Paul และ Clayton (2005) ท่ีสรุปวิธีการสรางทฤษฎี/แนวความคิด ไว 3 ข้ันคือ 1) การสังเกต เพื่อใหไดโครงสราง (Constructs) 2) การจัดหมวดหมู เพื่อใหไดกรอบการทํางาน (Frameworks) และ 3) การเช่ือมโยงความคิด เพื่อใหไดแบบจําลอง (Models) แสดงไดดังตารางท่ี 1

Page 11: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

7

ตารางท่ี 1 กระบวนการสรางทฤษฎี

ขั้น Descriptive Theory Normative Theory

แบบจําลอง

(Models) บอ ก ถึ ง ค ว า ม สั ม พั น ธเบ้ืองตน

บอกถึงความสัมพันธท่ีเปนเหตุและผล

กรอบการทํางาน

(Frameworks) จัดหมวดหมูบนพื้นฐานของขอเท็จจริง

จัดหมวดหมูของสภาพแวดลอม

โครงสราง

(Constructs) สั ง เ ก ต บ ร ร ย า ย แ ล ะป ร ะ เ มิ น ข อ เ ท็ จ จ ริ ง ท่ีเกิดข้ึน

สัง เกต บรรยาย และประเ มินขอเท็จจริงท่ีเกิดข้ึน

จากตารางท่ี 1 วิธีอนุมาน และวิธีอุปมาน สามารถนํามาใชสรางทฤษฎีไดท้ัง Descriptive Theory และ Normative Theory แตสองวิธีนี้ นํา 3 ข้ันตอนของ Paul และ Clayton (2005) มาใชตางกันคือ วิธีอนุมาน จะเร่ิมจากแบบจําลอง กรอบการทํางาน โครงสราง อาจกลาวไดวาใชแบบจําลองทํานายขอเท็จจริงหรือปรากฎการณ สวนวิธีอุปมานจะตรงกันขามคือ เร่ิมจาก โครงสราง กรอบการทํางาน แบบจําลอง อาจกลาวไดวาใชขอเท็จจริงหรือปรากฎการณยืนยันแบบจําลอง ในสวนของ Radical Humanist – Radical Structuralist เปนการสรางทฤษฎีตามแนวทางของ Historical and Dialectical Materialism ท้ังสองกระบวนทรรศน มีสวนเช่ือมโยงท่ีมีความตองการใหเกิดการเปลี่ยนแปลงรากฐานเดิมดวยกันท้ังคู (Radical Change) เพียงแตแตกตางในระดับการวิเคราะหขอมูล และสมมติฐานของกระบวนทรรศนท่ีมาจากคนละดาน 3. Radical Structuralist มีการวิพากษวิจารณกฎเกณฑโดยมีเปาหมายคือการเปล่ียนแปลง 4. Radical Humanist คนภายในองคกรมีเสรีภาพท่ีจะวิพากษวิจารณการกระทําท่ีมีอยูแลวเพื่อกอใหเกิดการเปล่ียนแปลงกฎเกณฑ

การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) นับเปนข้ันตอนท่ีสําคัญของการวิจัย ซ่ึงสงผลใหผูวิจัยสามารถออกแบบงานวิจัยไดชัดเจนและมีระบบมากยิ่งข้ึน โดยหลักการในการทบทวนวรรณกรรมนั้น Webster และ Watson (2002) ไดช้ีใหเห็นถึงกระบวนการทบทวนวรรณกรรม ซ่ึงสามารถสรุปได 5 ประเด็น คือ การเร่ิมตนบทวรรณกรรม การกําหนดงานวิจัยท่ีเกี่ยวของ โครงสรางของงานทบทวนวรรณกรรม การพัฒนาทฤษฎีในบททบทวนวรรณกรรม และการประเมินผลทฤษฎี

อนุมาน อุปมา

Page 12: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

8

1. การเริ่มตนบทวรรณกรรม โดยเร่ิมต้ังแตการต้ังช่ือเร่ือง โดยช่ือเร่ืองงานวิจัยนั้นจะตองส่ือถึงเนื้อหาในบทความ และควรกระตุนความสนใจของผูอาน มีการอธิบายขอบเขตของตัวแปรในงานวิจัย รวมท้ังช้ีใหเห็นขอคนพบอยางชัดเจน นอกจากนี้ในสวนของขอบเขตงานวิจัยจะประกอบดวย ระดับของการวิเคราะห (Level of Analysis) ขอบเขตดานเวลาและเนื้อหา และขอบเขตในการทบทวนวรรณกรรม ซ่ึงผูวิจัยควรเขียนอธิบายใหชัดเจนเก่ียวกับหนวยท่ีวิเคราะห (Unit of Analysis) ซ่ึงผูวิจัยอาจใชหนวยวิเคราะหท่ีหลากหลายตามทฤษฎีของ Triangular (Giola และ Pitre, 1990) และรวมไปถึงเหตุผลในการใชหนวยวิเคราะหดังกลาว โดยใชวรรณกรรมตาง ๆ ท่ีทบทวนไว 2. การกําหนดงานวิจัยท่ีเก่ียวของ งานทบทวนวรรณกรรมน้ันจะตองมีความสมบูรณและชัดเจนในแนวความคิด ซ่ึงเกิดจากการการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวของท้ังหมด ไมจํากัดเพียงวิธีการดําเนินงานวิจัย หรือพื้นท่ีใดพื้นท่ีหนึ่งเทานั้น ลักษณะของการทบทวนแบบมุงเนนแนวความคิด ไมเนนท่ีตัวบุคคล สรุปในรูปแบบตาราง เพื่อใหสามารถนําไปตอยอดในการสังเคราะหแนวความคิดใหม ๆ ได นอกจากน้ีตองทําความเขาใจและนําเสนอขอเท็จจริงตามแนวความคิดท่ีวรรณกรรมนั้น ๆ นําเสนอ และระมัดระวังในการวิพากษวิจารณงานวรรณกรรมท่ีไดทบทวนในดานลบ การกําหนดงานวิจัยท่ีเกี่ยวของ มี 3 ข้ันตอน คือ 2.1 การคนหาขอคนพบหรือคําสําคัญในวารสารหรือฐานขอมูลช้ันนําตาง ๆ หรืออาจรวมไปถึงบทความวิชาการ รายงานประชุมทางวิชาการ 2.2 ทําการสํารวจงานวิจัยในแหลงตาง ๆ ดังท่ีไดคนหามาแลวในขอ 2.1 2.3 ทําการสํารวจงานวิจัย การคนหาจากงานวิจัยจะชวยใหผูวิจัยสามารถท่ีจะรวบรวมประเด็นตาง ๆ ไดครอบคลุมและสมบูรณมากยิ่งข้ึน ซ่ึงอาจทําใหผูวิจัยคนพบประเด็นตางๆท่ีนาสนใจ 3. โครงสรางการทบทวนวรรณกรรม การทบทวนวรรณกรรมควรมุงเนนท่ีแนวความคิดท่ีไดสรุปข้ึนมาหรือขอคนพบของงานวิจัย มากกวามุงท่ีตัวบุคคล ซ่ึงผูวิจัยควรจัดระบบการทบทวนวรรณกรรมโดยอาจประยุกตใชตารางสรุปแนวความคิดซ่ึงมีหลายรูปแบบ ซ่ึง Webster และ Watson (2002, p xvii ) ไดสรุปไวในตารางท่ี 2 ตารางท่ี 3 และตารางท่ี 4 ตารางท่ี 2 ตารางท่ีมุงเนนสรุปแนวความคิดและตามชื่อของนักวิจัย

Table 1 : Approaches to Literature Reviews Concept-centric Author-centric Concept x…(author A, author B…) Concept y…(author A, author C…)

Author A, Author B…(Concept x, concept y..) Author A, Author C…(Concept x, concept w..)

Page 13: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

9

หรือใชตารางแม็ททริกแนวความคิด (Concept Matrix) ซ่ึงการพิจารณาแนวความคิดและนักวิจัย แสดงเปนภาพทําใหสังเกตแนวความคิดท่ีใชหรือมุงเนนไดงายกวา ตารางท่ี 3 ตารางแม็ททริกแนวความคิด

Table 2 : Concept Matrix

Concept Articles

A B C ………. 1 X X 2 x X x

….. X x

สวนตารางท่ี 4 เปนตารางมุงเนนแนวความคิดเปนหลักและแตกเปนประเด็นยอยตามหนวยท่ีทําการวิเคราะห ซ่ึงจะทําใหนักวิจัยทราบประเด็นตางๆจากหนวยท่ีใชวิเคราะหอยางละเอียดมากกวาตารางท่ี 3 ตารางท่ี 4 ตารางมุงเนนแนวความคิดเปนหลักและแตกเปนประเด็นยอยตามหนวยท่ีทําการวิเคราะห

Table 3 : Concept Matrix Augmented with Unit of Analysis

Concept Articles

A B C ……….

O G I O G I O G I O G I 1 X X 2 X x x X

….. x X X

หมายเหตุ O: Organization , G : Group, I : Individual 4. การพัฒนาทฤษฎีในบททวนวรรณกรรม Webster และ Watson (2002) ยังไดเสนอวาทฤษฎีใหมท่ีพัฒนาข้ึนมาน้ันจะตองสามารถอธิบายเหตุผล ชัดเจน มีความเปนสากล และนําไปใชประโยชนได ซ่ึงควรประยุกตใช Multiparadigm ของ Giola และ Pitre (1990) ซ่ึงไดสรุปเปนแนวทางสรางทฤษฎีใหมดังขอมูลในหัวขอการสรางทฤษฎีใหมท่ีอธิบายไวแลวขางตน ซ่ึงการพัฒนา Conceptual Model นั้น Webster ไดแบงออกเปน 2 แนวทางการพัฒนา คือ แนวทางโดยการใชทฤษฎีตัวแปร (Variance Theory) ซ่ึงเปนการอธิบายปรากฏการณของตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ และแนวทางทฤษฎีกระบวนการ (Process Theory) เปนการอธิบายเหตุการณและสถานะเพ่ืออธิบายปรากฏการณท่ีเปล่ียนแปลงไปอยางตอเนื่อง ในทางปฏิบัติแลวสามารถประยุกตใชไดท้ัง 2 แนวทาง (Triangular) นอกจากนี้ Webster ไดแบงการพัฒนาโจทยวิจัย

Page 14: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

10

ออกเปน 3 แนวทาง คือแนวทางแรกเปนการอธิบายเหตุการณโดยอาศัยทฤษฎีท่ีมีอยู ซ่ึงเปนส่ิงสําคัญในการอธิบายและยืนยันขอคนพบ แนวทางที่สอง เปนคนพบจากการสังเกต โดยสังเกตจากงานวิจัยในอดีตในข้ันตอนของการทบทวนวรรณกรรม แนวทางท่ีสาม จากประสบการณในการปฏิบัติ ซ่ึงอาจมาจากประสบการณของผูวิจัยโดยตรงหรืองานวิจัยเชิงปฏิบัติ แนวทางท่ี 2 และ 3 สามารถนํามาสนับสนุนโจทยวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมไดแตไมควรนํามาเปนเหตุผลในเชิงตรรกะ 5. การประเมินผลทฤษฎี เม่ือผูวิจัยไดพัฒนาทฤษฎีข้ึนมาแลวจะทราบไดอยางไรวาทฤษฎีนั้นดีหรือไม ทฤษฎีท่ีดีนั้นตองอธิบายเหตุผลชัดเจน มีความเปนสากลและนําไปใชประโยชนได ในทางปฏิบัติมีสูตรสําเร็จในการสรางทฤษฎี ซ่ึงวิธีท่ีดีก็คือการเปดโอกาสรับฟงความคิดเห็นจากบุคคลท่ีเกี่ยวของหรือผูมีประสบการณเพื่อนําขอเสนอหรือขอคิดเห็นเหลานั้นมาพัฒนาการทบทวนวรรณกรรมของตน

วิธีดําเนินการวิจัย (Research Methodology) การกําหนดวิธีดําเนินการวิจัยท่ีเหมาะสมกับงานวิจัยนั้น ยังไมมีรูปแบบท่ีเหมาะสมท่ีสุดหรือดีท่ีสุด ซ่ึงในแตละวิธีนั้นยังคงมีขอดี ขอเสีย ซ่ึงนักวิจัยหลายทานไดช้ีแนะวิธีการลดความไมถูกตองท่ีเกิดข้ึน ดังเชน Scandura และ Williams (2000) ไดช้ีแนะวาควรใชวิธีการวิจัยแบบ Triangulation ซ่ึงเปนวิธีการวิจัยท่ีผสมผสาน หลากหลาย และปจจุบันมีแนวโนมท่ีจะใชวิธีการดําเนินการวิจัยท่ีมีความหลากหลาย โดยใชวิธีการ “Triangulation” ในการทําวิจัยมากข้ึน Scandura และ Williams (2000) ไดทําการศึกษาวิธีดําเนินการวิจัยโดยเนนท่ี “Validity” ซ่ึงเขาไดมุงศึกษาความถูกตองท่ีเกิดข้ึนใน 4 ประเด็นดวยกัน คือ Internal Validity, External Validity, Construct Validity และ Statistical Conclusion Validity ผูวิจัยควรท่ีจะตระหนักและใหความสําคัญถึงความถูกตองท้ัง 4 ประเด็นในการออกแบบวิธีดําเนินการวิจัย ดังนี้ 1. กลยุทธการวิจัย การใช triangulation จะชวยเพิ่มความสามารถของผูวิจัยในการสรุปขอมูลจากการศึกษา ซ่ึง Sackett และ Larson (1990) (cited in Scandura & Williams, 2000) ไดช้ีใหเห็นวาผลการวิจัยจะมีประสิทธิภาพหรือไมข้ึนอยูกับ 3 ประเด็นคือ 1) ประชากรท่ีใชควรมีความเปนสากล (Generalize) ซ่ึงถือวาประชากรอาจสงผลตอความถูกตองท่ีเกิดจากปจจัยภายนอก (External validity) 2) ความเที่ยงตรงแมนยําของมาตรวัดและการควบคุมตัวแปรตางๆ ซ่ึงจะมีผลตอความถูกตองภายในได (Internal validity) และ 3) ความจริงของบริบทท่ีศึกษา ในวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลตาง ๆ ผูวิจัยสามารถที่เลือกวิธีท่ีเหมาะสมท่ีสุด โดย McGrath (cited in Scandura และ Williams, 2000) ไดแบงกลยุทธการวิจัยออกเปนประเภทตาง ๆ 8 ประเภท ดังนี้ ทฤษฎีทางการ การสํารวจกลุมตัวอยาง การทดลองในหองทดลอง การประเมินภาระงาน การสรางสถานการณจําลองในคอมพิวเตอร การสรางสถานการณจําลองในการทดลอง การศึกษาภาคสนาม และการทดลองภาคสนาม โดย 8 วัตถุประสงคในการวิจัยเปนกลยุทธท่ีเนนพื้นฐานในการวิเคราะหการทํางาน มีดังนี้

Page 15: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

11

1.1 ทฤษฎีทางการ (Formal Theory) และการทบทวนงานวรรณกรรม เปนรูปแบบเพื่อแสดงการทดสอบเชิงประจักษ โดยท่ีทฤษฎีมีความเกี่ยวของในกระบวนการอุปมาน (Inductive Process) โดยเร่ิมจากขอมูลจากการสังเกตการณนําเสนอผลผลิตจากกระบวนการอนุมาน สวนการทบทวนวรรณกรรมในการคิดแบบกระบวนการอนุมาน (Deductive Process) แสดงถึงสมมติฐานในการทดสอบเชิงประจักษ 1.2 ในสวนของการสํารวจจากกลุมตัวอยางมาก ๆ การสุมท่ีจะเปนตัวแทนท่ีดีจากประชากรในการศึกษานั้น หากการสํารวจมีประชากรมากเกินไป ในการสรุปอางอิงไปยังประชากรจะมีคาความจริงของเนื้อหาท่ีนอยและไมสามารถตัดสินการวัดได 1.3 การทดลองในหองทดลอง จะมีแนวโนมในการสรุปอางอิงไดนอย และคาของเน้ือหาท่ีเปนจริงโดยแนวโนมนอยดวย

1.4 การประเมินภาระงาน จะนํามาใชกับการประเมินความมีสวนรวม หรืออัตราความสัมพันธทางพฤติกรรม กลยุทธนี้มีความเปนสากลในแงประชากรสูง แตมีความเปนจริงของเน้ือหาต่ํา 1.5 การสรางสถานการณจําลองในการทดลอง เปนกลยุทธระดับกลางในการตัดสินการวัดและความเปนจริงของเน้ือหา แตไมสามารถสรุปอางอิงได 1.6 การศึกษาภาคสนามจะใชขอมูลทุติยภูมิ โดยเก็บจากบุคคล ตัวแทน หรือองคการมากกวาการที่นักวิจัยไปเก็บขอมูลเอง 1.7 การทดลองภาคสนาม ในการสรางความแมนยําในการวัด และการควบคุมพฤติกรรมของตัวแปรและเน้ือหาความจริง และการมีความสามารถในการสรุปอางอิงไดอยูในระดับปานกลาง ถึงระดับสูง โดยจะตัดสินใจจากการกระทํา การมีสวนรวมหรือระดับของพฤติกรรมนั่นเอง 1.8 การสรางสถานการณจําลองดานคอมพิวเตอร มีกลยุทธอยูระดับสูงในเร่ืองประชากรท่ีใชอางอิงได และเนื้อหาความจริง แตในดานความแมนยําของการวัดอยูในระดับตํ่า 2. ความถูกตองจากภายในและภายนอกงานวิจัย Cook และ Campbell (1976) ไดช้ีใหเห็นวาความถูกตองจากภายนอก เกิดจากความเปนสากลในทุกสมัย การจัดต้ัง และความเปนรายบุคคล สวนความถูกตองจากภายในเกิดจากความสัมพันธระหวางเหตุและผลที่เกิดข้ึน การวิจัยแบบ Laboratory Experiments จะมีความถูกตองภายในสูง ซ่ึงอยูบนพื้นฐานของหลักฐานและการควบคุมพฤติกรรมของตัวแปร สวน Longitudinal Studies ซ่ึงศึกษาเหตุและผลจะเกิดผลดีตอความถูกตองภายนอก ผูวิจัยควรใชวิธีการวิจัยผสมผสานท้ังวิธี Laboratory Experiments และ Sample Survey จะชวยทําใหเกิดความถูกตองท้ังภายในและภายนอกมากข้ึน 3. ความถูกตองของการสราง ผูวิจัยจะตองใชวิธีการวัดท่ีเหมาะสมกับงานวิจัยหรือทฤษฎีท่ีใช ซ่ึงผูวิจัยจะตองทดสอบความผิดพลาดของมาตรวัด และเคร่ืองมือท่ีใช

Page 16: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

12

4. ความถูกตองของการสรุปผลทางสถิติ ความถูกตองของการสรุปผลทางสถิติเปนการวิเคราะหท่ีดีสุดในแงของสถิติท่ีใชกับคาพารามิเตอรของประชากร ตัวแบบ Triangulation จากมุมมองของการวิเคราะหของระดับตาง ๆ การวิจัยสามารถดําเนินการงานไดดวยระดับตนเอง โดยใชระดับปจเจกบุคคล (Individual) หรือกลุม (Group) และวิเคราะหในระดับองคการ โดย Triangulation สามารถกอใหเกิดคุณภาพท้ัง 2 อยาง รวมถึงงานวิจัยเชิงปริมาณ เชน การลงภาคสนามในงานวิจัยเชิงคุณภาพ และในการสํารวจเชิงปริมาณสามารถใชไดเชนเดียวกัน ในสวนของการทดลองในหองทดลอง การทดลองภาคสนามและการศึกษาภาคสนามจะสงผลเกื้อกูลกัน Triangulation สามารถท่ีจะปรับปรุงคาความเท่ียงตรงภายในและภายนอกของการรวมกันในการแยกจากกันภายใตกลยุทธของการวิจัย

บทสรุป ในการพัฒนางานวิจัยท่ีมีคุณภาพน้ัน ผูวิจัยตองทราบแนวทางตางๆเปนอยางดีท้ังในสวนของแนวการสรางทฤษฎีใหมซ่ึงมีแนวโนมใช Triangular มากข้ึนกวาในอดีต ซ่ึงเปนการผสมผสานวิธีการวิจัยท้ังนี้เพื่อลดขอดี ขอดอยของแตละวิธีนั้นเอง (Giola และ Pitre,1990) ในการทบทวนวรรณกรรมเปนจุดเร่ิมตนอันสําคัญยิ่งยวดท่ีจะสกัดนําเอาองคความรูท่ีสําคัญและจําเปนตอการพัฒนาหัวของานวิจัย ทําใหผูวิจัยทราบชองวางท่ีเกิดข้ึนจากงานวิจัย ซ่ึงสามารถนํามาพัฒนาเปนหัวของานวิจัยตอไป ซ่ึงผูวิจัยควรประยุกตใชตารางในการสรุปประเด็นตางๆออกมาเปนภาพท่ีชัดเจนมากยิ่งข้ึน นอกจากนี้ผูวิจัยควรใหความสําคัญต้ังแตการตั้งช่ือเร่ืองท่ีจะตองส่ือถึงปจจัยท่ีใชในงานวิจัย (Webster และ Watson, 2002) และคํานึงถึงความถูกตองในประเด็นตางๆท่ีอาจเกิดข้ึนได เชน ความถูกตองในงานวิจัย ความถูกตองจากภายนอก ความถูกตองจากโครงสรางและการสรุปผลจากสถิติ ซ่ึงความถูกตองเหลานี้แฝงอยูในทุกกระบวนการวิจัย (Scandura และ Williams, 2000)

รายการอางอิง Dennis A. Gioa & Evelyn Pitre. (1990). Multiparadigm Perspectives on Theory Building. Academy of

Management Review. 15/4, 584-602 Jane Webster & Richard T. Watson. (2002). Analyzing The Past Prepare for The Future : Writing A

literature Review. MIS Quarterly. 26/2, xiii-xxiii Paul R. Carlile. (2005). The Cycles of Theory Building in Management Research. n.p. January 6,2005.

Version 6.0. Terri A. Scandura & Ethlyn A. Williams. (2000). Research Methodology in Management : Current

practices, Trends, and Implications for Future Research. Academy of Management Journal. 43/6,1248-1264

********************

Page 17: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

13

การพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพ่ือเสริมสรางทักษะ การสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา

ผศ.ดร.บัณฑิต ฉัตรวิโรจน*

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ี มีวัตถุประสงคเพ่ือ 1) เพ่ือพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพ่ือเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา 2) เพ่ือประเมินผลการใชหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพ่ือเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา มีวิธีดําเนินการวิจัยดังน้ี 1. การเตรียมการและพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพ่ือเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษประถมศึกษา ผูวิจัยไดพัฒนาหลักสูตรอบรมครูซึ่งประกอบดวย เน้ือหาและกิจกรรมที่เก่ียวกับการสอนเขียนกระบวนการฝกอบรมดวยกระบวนการจัดการความรู เครื่องมือวัดและประเมินผลการฝกอบรมไดแก แบบประเมินความสามารถในการสอนเขียนและแบบประเมินผลการฝกอบรม 2. การทดลองใชหลักสูตรและประเมินผลหลักสูตร ผูวิจัยไดนําหลักสูตรไปใชกับครูภาษาอังกฤษ ปการศึกษา 2549 ที่เปนกลุมตัวอยางโดยความสมัครใจจํานวน 30 คน (one group pretest – posttest design) โดยประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษกอนและหลังฝกอบรม นําขอมูลที่ไดมาวิเคราะหเปรียบเทียบความแตกตางระหวางการประเมินกอนและหลังฝกอบรม ดวยคา X , S.D. และ t-test ผลการวิจัยพบวา 1. หลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพ่ือเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมทุกดานไดแก ดานเน้ือหามีความเหมาะสมระดับมาก ( X = 4.45) ดานรูปแบบกระบวนการฝกอบรมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( X = 4.50) และเครื่องมือวัดผลหลักสูตรประกอบดวยแบบประเมินความสามารถในการสอนเขียนมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( X = 4.53) และแบบประเมินผลการฝกอบรมมีความเหมาะสมระดับมาก ( X = 4.30) 2. ผูเขารับการฝกอบรมมีคะแนนการประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาหลังฝกอบรมสูงกวากอนฝกอบรม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001

คําสําคัญ : หลักสูตรฝกอบรม/ การจัดการความรู/ ทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษ *

* ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร

Page 18: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

14

The Development of a Training Course for Teachers by Knowledge Management Process to Enhance English Writing Teaching Skill for Primary Education Level

Asst. Prof. Dr. Bandhit Chatwirote

Abstract The purposes of this research were to 1) develop a training course for teachers by knowledge management process to enhance English writing teaching skill for primary education level, 2) evaluate the use of a training course for teachers by knowledge management process to enhance English writing teaching skill for primary education level. The study was done as follows: 1. Develop a training course for teachers by knowledge management process to enhance English writing teaching skill for primary education which was evaluated in terms of suitability and content validity by the experts. The training course consisted of 1) content and activities of English writing teaching, 2) a training process which was a methodology of knowledge management, and 3) evaluation tools which were a English writing teaching evaluation form and a training evaluation form. 2. Try out the trianing course with 30 voluntary teachers of 2006 academic year in Kamphaeng Phet Province (using one group pretest–posttest design). The procedures were pre–evaluation, training by knowledge management process and post-evaluation respectively. The data were analyzed by X , S.D. and t–test for effectiveness of the training course towards the teachers’ ability of English writing teaching skill before and after using the training course. Results: 1. The findings of the study were: The training course was suitable in all 3 sections as follows: the content was at the high suitability level ( X = 4.45), the training process was at the highest suitability level ( X = 4.50), and the two evaluation tools it was found that the English writing teaching evaluation form was at the highest suitability level ( X = 4.53) while the training evaluation form was at the high suitability level ( X = 4.30). 2. The 30 teachers significantly get higher ability after using the training course by knowledge management process at the .001 level.

Keywords: Training Course/ Knowledge Management/ English Writing Teaching Skill

Page 19: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

15

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา ภาษาอังกฤษเปนภาษาที่เขามามีบทบาทมากในสังคมไทย โดยเฉพาะอยางยิ่งในดานการศึกษา เพราะภาษาอังกฤษเปนพื้นฐานท่ีจําเปนในการศึกษาตอในระดับสูง ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีนโยบายใหปรับปรุงหลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อใหเกิดการสอนภาษาอังกฤษอยางตอเนื่อง และเร่ิมใชมาต้ังแตปการศึกษา 2539 สําหรับในระดับช้ันประถมศึกษา โดยเร่ิมสอนภาษาอังกฤษต้ังแตช้ันประถมศึกษาปท่ี 1 กอน สวนในระดับช้ันประถมศึกษาปท่ี 1-2 ท่ีเนนการฟงและการพูด สําหรับช้ันประถมศึกษาปท่ี 3 – 4 ซ่ึงมีการสอนครบท้ัง 4 ทักษะ คือ ฟง พูด อาน และเขียน และในช้ันประถมศึกษาปท่ี 5–6 มุงพัฒนาความสามารถดานการส่ือสารดวยการฟง พูด อาน และเขียน ท่ีถูกตองตามหลักภาษาและเหมาะสมกับสถานการณการใช (สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ, 2542 : 15) เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรูเพิ่มเติมและสรางเจตคติท่ีดีตอการเรียนภาษาอังกฤษ

ครูภาษาอังกฤษในฐานะผูเปนแมแบบแหงการเรียนรูของนักเรียนในดานตาง ๆ ของการเรียนภาษาอังกฤษ มีผลโดยตรงตอระดับการเรียนรูของผูเรียน โดยวัดผลจากคุณภาพการสอน พบวา ครูไมมีการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการสอนและขาดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท, 2538 : 84–85) นอกจากนี้ในการสอนภาษาอังกฤษ ผูเรียนมีสวนรวมในกิจกรรมการเรียนการสอนนอยและไมสามารถนําความรูท่ีไดไปใชใหเปนประโยชนในชีวิตประจําวันได (สุรพันธ กุศลสง, 2543 : 2) จะเปนไดวาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ยังมีปญหาท่ีควรไดรับการปรับปรุงแกไขโดยเฉพาะอยางยิ่งครูผูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาท่ีทําการสอนทักษะท่ียากท่ีสุดตอการเรียนรูคือทักษะการเขียน

กระบวนการการจัดการความรูเปนการพัฒนาคุณภาพงานในองคกร ซ่ึงอาจหมายถึงบุคลากรทุกฝายของทุกหนวยงาน หรือแมแตครูผูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาก็ตาม โดยผูจัดการความรูจะตองมีความมั่นใจ มีการสรางจินตนาการความคิดริเร่ิมสรางสรรค มีความอิสระท่ีจะคิด นําความคิดมาแลกเปล่ียนเรียนรูรวมกันและนําไปสูการปฏิบัติจริง นอกจากนั้นการจัดการความรู (Knowledge

Management) เปนกระบวนการพิเศษท่ีเกิดข้ึนเปนการเฉพาะ จึงเกิดมีคําวา นายหนาความรู (Knowledge

Brokering) คือ อาจารยผูทําหนาท่ีสอนตองทําหนาท่ีในการยอยความรูเพื่อใหใชไดงาย บทบาทของอาจารยในอนาคตตองรวมการจัดการความรูไวดวย และตองมีความสามารถในการกระทําดังกลาว ผูท่ีทํางานประจําการอยูในปจจุบัน อาจตองไดรับการศึกษาตอเนื่องเพ่ิมความสามารถน้ีข้ึน การสรางบัณฑิตก็ตองมุงใหเกิดความสามารถและเจตคติตาง ๆ ท่ีจะเปนผูใชวิชาการในโลกอนาคตได โดยมีความสามารถในการหาความรู การเขาถึงความรูท่ีมากหลายและเปล่ียนแปลงโดยรวดเร็ว การประเมินและยอยความรู ตลอดจนการใชความรูอยางมีวิจารณญาณ (จรัส สุวรรณเวลา, 2547) ท่ีเรียกวา “Knowledge Worker”

Page 20: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

16

ในตางประเทศไดดําเนินการวิจัยโดยอาศัยแนวคิดการจัดการความรูจนประสบผลสําเร็จทําใหเกิดประโยชนตอบุคลากรและองคกร คือ การจัดทําเครื่องมือในการจัดระบบการจัดการความรูในการทํางานรวมกัน (KMS – Knowledge Management System) ดานส่ิงแวดลอมของสถาบันอุดมศึกษาในมาเลเซีย ผลสรุปของการดําเนินการวิจัยนั้นชวยประหยัดเวลาและทําใหเกิดองคความรูใหมกอใหเกิดความสนใจรวมกันในกลุม โดยองคความรูท่ีเกิดนั้นเกิดข้ึนไดตลอดเวลาไมวาท่ีไหนและเวลาใด (Rusli A., Mohd

H.S. and others, 2005) นอกจากนั้น โมหะหมัด เนเซอร อาหมัด ชาริฟและคณะ (Mohammad nazir Ahmad

sharif and others, 2005) ไดวิจัยเร่ืองการอํานวยความสะดวกในการแลกเปล่ียนความรูผานระบบการเรียนรูในบทเรียน (LLS – Lessons Learned System) ผลการวิจัยคร้ังนี้ไดสรางแรงจูงใจโดยอาศัยกระบวนการจัดการความรู (KM) ท่ีทําใหเคร่ืองมือ LLS ไดยกระดับการปฏิบัติการรวมกันและการแขงขันในระดับท่ีสูงข้ึน ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของพอล มานูเอล (Paul Manuel, 2005) ท่ีทําการวิจัยเร่ืองรูปแบบของ e –

ธรรมรัฐ (e – Governance) ตามแนวคิดของการจัดการความรู รูปแบบนี้ไดสรางจากกระบวนการของการกําหนดความรู (Knowledge Capturing) การแลกเปล่ียนเรียนรู (Knowledge Sharing) การยกระดับของความรู (Knowledge Enhancing) และการจัดเก็บความรู (Knowledge Preserving) ผลของการวิจัยไดยกระดับของความรูดานกฎหมายในระดับท่ีสูงข้ึนเชนเดียวกัน จากประเด็นตาง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาครูใหมีการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมดานการจัดการเรียนการสอนซ่ึงนับวาเปนมิติสําคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาและเปนขอกําหนดของแนวทางการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ผูวิจัยเห็นวาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู ควรไดมีการเสริมสรางข้ึนโดยใชกระบวนการฝกอบรมเปนวิธีท่ีใชในการพัฒนา และการท่ีจะดําเนินการจัดฝกอบรมใหมีประสิทธิภาพนั้นจําเปนอยางยิง่ท่ีจะตองหาวิธีการฝกอบรมท่ีสามารถพัฒนาครูใหมีความรู ความเขาใจท่ีชัดเจน มีทักษะและเจตคติท่ีดีตอเร่ืองท่ีฝกอบรมและกระบวนการฝกอบรมจนสามารถนําไปใชในการปฏิบัติงานไดอยางมีคุณภาพ

ครูภาษาอังกฤษเปนหนึ่งในกลุมท่ีควรมีการเสริมสรางทักษะการสอนโดยเฉพาะอยางยิ่งทักษะการสอนเขียน ซ่ึงเปนทักษะท่ียากตอการพัฒนาผูเรียนใหมีความรูความสามารถไดมาตรฐานตาม หลักการเขียนของภาษาอังกฤษ ซ่ึงหลักสูตรการฝกอบรมที่พบในการเสริมสรางทักษะการสอนของครูภาษาอังกฤษนั้น ไมไดพัฒนาทักษะการสอนเทาใดนัก จึงทําใหครูขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะการสอนกระบวนการจัดการความรูเปนวิธีการที่ไดมีการดําเนินการดวยกระบวนการกลุมสัมพันธ และแลกเปล่ียนเรียนรูเพื่อใหครูไดฝกกระบวนการเรียนรูรวมกัน ผูวิจัยจึงพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมดวยกระบวนการจัดการความรูจะสงเสริมความสามารถในการสอนทักษะการเขียนแกครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาท่ีสงผลตอการจัดการเรียนการสอนตอนักเรียนใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรูในภาพรวมตอไป

Page 21: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

17

จุดมุงหมายการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพื่อเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา 2. เพื่อประเมินผลการใชหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพื่อเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา

ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากร ครูผูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา (ชวงช้ันท่ี 1-2) จังหวัดกําแพงเพชร ในปการศึกษา 2549

กลุมตัวอยาง

ครูผูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา(ชวงช้ันท่ี 1-2) จํานวน 30 คนท่ีเขารวมฝกอบรมดวยความสมัครใจจํานวน 2 วันเพื่อทดลองใชหลักสูตรและประเมินผลการฝกอบรมหลักสูตร

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย ขั้นท่ี 1 การเตรียมการจัดทําหลักสูตร ผูวิจัยวิเคราะหเนื้อหาหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สาระการเรียนรูตางประเทศชวงช้ันท่ี 1–2 ตามมาตรฐานท่ี 1 ภาษาเพ่ือการส่ือสาร เนนสาระดานการเขียน

ขั้นท่ี 2 การดําเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยการนําชุดฝกอบรมท่ีสรางข้ึนไปตรวจสอบความเหมาะสมในดานตาง ๆ ผูวิจัยไดกําหนดสวนท่ีทําการตรวจสอบเพ่ือใหสอดคลองกับวัตถุประสงคของหลักสูตรฝกอบรมดวยกระบวนการจัดการเรียนรูเพื่อเสริมสรางทักษะการสอนการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา โดยหลักสูตรฝกอบรมท่ีผูวิจัยสรางข้ึน ไดแก 1. เนื้อหาในการฝกอบรม (Content) แบงออกเปน 2 ดาน คือ

1.1 ดานการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ประกอบดวย การสอนทักษะการเขียน เทคนิคการสอนเขียน ภาษาของครูในการจัดหากิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียน องคประกอบท่ีจะชวยใหนักเรียนเขียนไดดี กระบวนการฝกทักษะการเขียน กิจกรรมการสอนทักษะเขียน 1.2 ดานการเสริมสรางทักษะการเขียน ประกอบดวย กิจกรรมสําหรับชวงช้ันท่ี 1 (ป.1 – ป.3) และกิจกรรมสําหรับชวงช้ันท่ี 2 (ป. 4 – ป. 6) เนื้อหาในการฝกอบรมท้ัง 2 ดาน ไดขอความรวมมือในการตรวจสอบจากผูเช่ียวชาญทางดานการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ใหสอดคลองกับวัตถุประสงคของหลักสูตรฝกอบรมจํานวน 5 คน

Page 22: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

18

2. รูปแบบกระบวนการฝกอบรม (Training Process Design) รูปแบบกระบวนการฝกอบรมเปนสวนสําคัญของการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยตองการใหครูผูผานการฝกอบรมไดรับความรูและเกิดทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษท่ีถูกตอง โดยนําเอาแนวคิดการจัดการความรูมาเปนกระบวนการในการกําหนดกิจกรรมการฝกอบรม รูปแบบการฝกอบรมท่ีผูวิจัยสรางข้ันนี้ตองการลดบทบาทของวิทยากรหรือผูดําเนินการฝกอบรมใหมีบทบาทนอยลง เพื่อใหผูเขารับการฝกอบรมไดแลกเปล่ียนเรียนรู จัดระบบความรูจากกระบวนการกลุมและกระบวนการฝกอบรม

2.1 กิจกรรมการฝกอบรม ผูวิจัยไดกําหนดกิจกรรมตาง ๆ ไวเปนข้ันตอนตามลําดับดังแผนภาพ

โดยกระบวนการฝกอบรมน้ันผูวิจัยไดขอความรวมมือในการตรวจสอบกระบวนการฝกอบรมจากผูเช่ียวชาญดานการฝกอบรม การจัดการความรู และการเรียนการสอนใหสอดคลองกับวัตถุประสงคของการฝกอบรมจํานวน 5 คน 3. เคร่ืองมือวัดและประเมินผลการฝกอบรม ประกอบดวย 3.1 แบบประเมินความสามารถในการสอนการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา 3.2 แบบประเมินผลการฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพื่อเสริมสรางทักษะการสอนการเขียนภาษาอังกฤษสําหรับครูประถมศึกษา

Pretest นําเสนอความรูดานการสอนการเขียนภาษาอังกฤษระดับ

นําเสนอกระบวนการจัดการความรู แบงกลุม 5 – 6 กลุม

จัดเวที (Storytelling) แลกเปล่ียนเรียนรูเร่ืองความสําเร็จในการสอนเขียน

คัดเลือกตัวแทนท่ีนําเสนอดท่ีีสุดของกลมข้ันเวทีกลางเลาเร่ือง (storytelling)

สรุป “ขุมความรู”

(knowledge assets)

ตัวแทนแตละกลุมเลาเร่ืองขุมความรูตามขอสรปของกลม (knowledge assets)

จัดการขุมความรูใหเปนแกนความรู (core competence) ดวย card technique)

สรุปแกนความรูท่ีไดรับเกี่ยวกับการสอนการเรียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา

Posttest

Page 23: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

19

ผูวิจัยไดขอความรวมมือในการตรวจสอบเครื่องมือวัดและประเมินผลการฝกอบรมจากผูเช่ียวชาญดานการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอน ใหสอดคลองกับวัตถุประสงคของการฝกอบรมจํานวน 5 คน ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝกอบรมพบวา 1. ดานเนื้อหาในการฝกอบรม มีความเหมาะสมระดับมาก ( X = 4.45)

2. ดานรูปแบบกระบวนการฝกอบรม มีความเหมาะสมระดับมากท่ีสุด ( X = 4.50)

3. ดานเคร่ืองมือวัดและประเมินผลการฝกอบรม

3.1 แบบประเมินความสามารถในการสอนเขียน มีความเหมาะสมระดับมากท่ีสุด ( X = 4.53)

3.2 แบบประเมินผลการฝกอบรม มีความเหมาะสมระดบัมาก ( X = 4.30)

ขั้นท่ี 3 การทดลองใชหลักสูตรและประเมินผลหลักสูตร

1. การทดลองใชหลักสูตรฝกอบรม

การทดลองใชหลักสูตรฝกอบรมจํานวน 2 วัน นําไปใชกับกลุมตัวอยางท่ีสมัครใจจํานวน 30 คน โดยกําหนดคุณสมบัติของผูเขารับการฝกอบรม ไวคือ เปนครูในจังหวัดกําแพงเพชร และจบการศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ หรือ หากไมจบวิชาเอกภาษาอังกฤษ ตองมีประสบการณสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ในการทดลองใชหลักสูตรฝกอบรมมีการประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษท้ังกอนและหลังการฝกอบรม แลวนําคะแนนท่ีไดจากการประเมินหา X และ S.D.

2. การประเมินผลการใชหลักสูตรฝกอบรม

2.1 ประเมินผลการประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษ โดยผูเขารับการฝกอบรมประเมินผลตนเองท้ังกอนและหลังการฝกอบรม จากแบบประเมินท่ีผูวิจัยสรางข้ึน

2.2 นําคะแนนท่ีไดจากการประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษท้ังกอนและหลังการฝกอบรมมาเปรียบเทียบคาเฉล่ีย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นําคาเฉล่ียมาทดสอบความแตกตางโดยใชคาที (t-test)

2.3 ประเมินผลการฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูจากแบบประเมินผลการฝกอบรม

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยคร้ังนี้พบวา 1. การพัฒนาหลักสูตรการฝกอบรม

หลักสูตรฝกอบรมครูท่ีสรางข้ึนมีลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรูรวมกันดวยกระบวนการจัดการความรูของวิทยากร ผูเขารับการอบรมโดยอาศัยความรูประสบการณเดิมรวมท้ังการศึกษาจากแหลงเรียนรูใหมจากหลักสูตรและเนื้อหาการฝกอบรมซ่ึงเกี่ยวของกับการสอนการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา โดยผลการประเมินความเหมาะสมพบวา ดานเนื้อหาในการฝกอบรม มีความเหมาะสม

Page 24: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

20

ระดับมาก ดานรูปแบบกระบวนการฝกอบรม มีความเหมาะสมระดับมากท่ีสุด ดานเคร่ืองมือวัดและประเมินผลการฝกอบรม แบบประเมินความสามารถในการสอนเขียน มีความเหมาะสมระดับมากท่ีสุด

และแบบประเมินผลการฝกอบรม มีความเหมาะสมระดับมาก ( X = 4.30)

2. การประเมินผลการใชหลักสูตรฝกอบรม

การประเมินผลการใชหลักสูตรฝกอบรมปรากฎวาสามารถพัฒนาทั้งความรูและความสามารถในการสอนเขียนของครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ไดอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .001 ดังรายละเอียดตอไปนี ้ 2.1 ผูเขารับการฝกอบรมมีจํานวน 30 คน เปนเพศชาย 5 คน เพศหญิง 25 คน โดยสําเร็จการศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ 21 คน คิดเปนรอยละ 70 และเอกอ่ืน ๆ 9 คน คิดเปนรอยละ 30 ซ่ึงประสบการณในการสอนรอยละ 50 ตํ่ากวา 5 ป อีกรอยละ 50 มีประสบการณในการสอน 5 ป ข้ึนไป

2.2 ความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา (1) ระดับความสามารถกอนการฝกอบรมครูท้ังหมด อยูในระดับนอย ( X = 2.37) แตระดับความสามารถหลังการฝกอบรมครูอยูในระดับมาก ( X = 4.08) เม่ือเปรียบเทียบระดับความสามารถระหวางกอนและหลังการฝกอบรม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .001

(2) ระดับความสามารถกอนการฝกอบรมครูเอกภาษาอังกฤษ อยูในระดับปานกลาง ( X =

2.50) แตระดับความสามารถหลังการฝกอบรมครูอยูในระดับมาก ( X = 4.25) เม่ือเปรียบเทียบระดับความสามารถระหวางกอนและหลังการฝกอบรม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .001

(3) ระดับความสามารถกอนการฝกอบรมครูวิชาเอกอ่ืน อยูในระดับนอย ( X = 2.01) แตระดับความสามารถหลังการฝกอบรมครูอยูในระดับมาก ( X = 3.68) เม่ือเปรียบเทียบระดับความสามารถระหวางกอนและหลังการฝกอบรม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .001

(4) ระดับความสามารถกอนการฝกอบรมครู (ประสบการณตํ่ากวา 5 ป) อยูในระดับนอย ( X = 2.48) แตระดับความสามารถหลังการฝกอบรมครูอยูในระดับมาก ( X = 4.10) เม่ือเปรียบเทียบระดับความสามารถระหวางกอนและหลังการฝกอบรม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .001

(5) ระดับความสามารถกอนการฝกอบรมครู(ประสบการณมากกวา 5 ป) อยูในระดับนอย ( X =

2.67) แตระดับความสามารถหลังการฝกอบรมครูโดยเฉล่ียอยูในระดับมาก ( X = 4.05) เม่ือเปรียบเทียบระดับความสามารถระหวางกอนและหลังการฝกอบรม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .001

Page 25: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

21

อภิปรายผลการวิจัย การวิจัยคร้ังนี้พบวา ในการใชหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพื่อเสริมสรางทักษะการสอนการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา มีความแตกตางจากการอบรมโดยท่ัวไป ซ่ึงมีความเหมาะสมท้ังเนื้อหาทางการเขียนภาษาอังกฤษการสอนการเขียน กิจกรรมการจัดการความรูโดยเฉพาะอยางยิ่งรูปแบบการฝกอบรมที่จัดลําดับกิจกรรมการจัดการความรู เปนไปตามหลักการเรียนรูของผูใหญและหลักการจัดการความรู ซ่ึงเปนการบูรณาการเนื้อหาลําดับข้ันตอนกิจกรรมการเรียนรู การอภิปรายกลุมและการนําเสนอความรู การแลกเปล่ียนเรียนรู (Knowledge Sharing) ดวยวิธีการสรางเวทีการเลาเร่ืองภายในกลุม (Storytelling) การระดมสมองเพื่อจัดการกับขุมความรู (Knowledge Assets) และการสรางแกนความรู (Core Competence) (บุญสง หาญพานิช, 2546 : 45) การปฏิบัติกิจกรรมระหวางการฝกอบรมทําใหความรูและความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษากอนการฝกอบรมและหลังการฝกอบรมแตกตางกัน

การพัฒนาหลักสูตรการฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูเพื่อเสริมสรางทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ไดมีข้ันตอนการวิเคราะหสถานการณการสอนของครูในจังหวัดกําแพงเพชร โดยการสัมภาษณและสอบถามขอมูลจากศูนยอีริคของสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษากําแพงเพชรเขต 1 และเขต 2 จํานวน 2 ศูนย และสอบถามขอมูลจากศึกษานิเทศกผูเกี่ยวของกับการพัฒนาครูผูสอนภาษาอังกฤษ แลวนําขอมูลดังกลาวมาวางแผนการพัฒนาหลักสูตรรวมกับครูอยางมีระบบ จึงทําใหหลักสูตรการฝกอบรมครูท่ีสรางข้ึนมีประสิทธิภาพ ผูเขารับการฝกอบรมไดรับความรูและทักษะความสามารถตรงกับความตองการ เนื่องจากผูเขารับการฝกอบรมสมัครเขารับการฝกอบรมดวยความสมัครใจซ่ึงตรงตามความตองการ จึงสามารถนําความรูและทักษะความสามารถในการสอนไปใชกับการจัดการเรียนการสอนไดจริงอยางมีประสิทธิภาพ ซ่ึงสอดคลองกับขอเสนอแนะของคลารก (Clark, 1970 :

2767-A) ท่ีวา การฝกอบรมครูควรพิจารณาหรือเร่ิมตนจากปญหาและความตองการของครูเอง โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาและความตองการท่ีเกี่ยวของกับการปฏิบัติงานประจําวันของครู เพื่อครูจะไดนําความรูความสามารถท่ีไดรับไปใชในการแกปญหาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนเองใหมีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน กระบวนการฝกอบรม ผูวิจัยมีจุดประสงคที่จะใหครูเกิดทักษะและความสามารถในการพัฒนาพฤติกรรมท่ีพึงประสงค คือความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา โดยใหมีการแลกเปล่ียนประสบการณของแตละคน จึงแบงกลุมยอยเพียงกลุมละ 6 คน ดังนั้นทุกคนจะมีโอกาสอภิปรายกันอยางท่ัวถึงและกวางขวางโดยยึดประเด็นการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาเปนเร่ืองหลัก โดยการอภิปรายกลุมยอยถือเปนการส่ือสารสองทางถึงแมวาจะไมใชจากวิทยากรโดยตรง แตจะมีผลดีในดานการวิเคราะห การนําไปใช ดีกวาการฟงบรรยายเพียงอยางเดียว (Gage and Berliner, 1984 : 447)

Page 26: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

22

การฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูนั้น ผูวิจัยไดใชกิจกรรมเพ่ือใหเกิดการเรียนรูรวมกัน การจัดกลุมเพื่อเลาเร่ืองความสําเร็จของตนเองในการสอนการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาภายในกลุม (Storytelling) แตละกลุมจัดทําขุมความรู (Knowledge Assets) จากการสรุปเร่ืองของกลุมตนเองแลว ขุมความรูของทุก ๆ ทุกกลุมใหเปนแกนความรู (Core Competence) ของกลุมตนเองดวยวิธีการใช Card

Technique หลังจากนั้นแลวแตละกลุมสรุปเปนความรูใหมท่ีไดรับจากกระบวนการความรูโดยการจัดทําเปนแผนท่ีมโนทัศน (Mind Mapping) ซ่ึงกระบวนการฝกอบรมแบบการจัดการความรูนี้สอดคลองกับท่ีพอล มานูเอล (Paul manuel, 2005) ไดพัฒนารูปแบบการยกระดับของความรูดวยกฎหมาย (e -

governance) ตามแนวคิดการจัดการความรูตามกระบวนการกําหนดความรู (Knowledge Capturing) และการจัดเก็บความรู (Knowledge Preserving) ท่ีใหผูเขารับการฝกอบรมมีปฏิสัมพันธและมีสวนรวมในทุกกิจกรรมอันกอใหเกิดการสังเคราะหความรูใหมจากกระบวนการเรียนรูจากการกระทํา (Learning by doing)

อีกท้ังยังชวยประหยัดเวลาและทําใหเกิดองคความรูใหมกอใหเกิดความสนใจรวมกันในกลุม โดยองคความรูนั้นเกิดข้ึนไดตลอดเวลาไมวาท่ีไหนและเวลาใด (Rusli A., Mohd H.S. and others., 2005) การสังเกตพฤติกรรมระหวางการฝกอบรม พบวา การแลกเปล่ียนเรียนรู (Knowledge Sharing)

ระหวางผูเขารับการอบรมกอใหเกิดองคความรูใหมซ่ึงเปนไปอยางกัลยาณมิตร แสดงวากระบวนการกลุมและกระบวนการอภิปรายกลุมกอใหเกิดการเรียนรูระหวางกันอยางเปนรูปธรรม สอดคลองกับท่ีสุเทพ หุนสวัสดิ์ (2540: 96) กลาวไววา การอภิปรายกลุมเปนเร่ืองท่ีนาสนใจอีกท้ังการเปดโอกาสใหอภิปรายอยางเปนกันเอง ทําใหสามารถเกิดการเรียนรูท่ีดี เนื่องจากครูผูเขารับการฝกอบรมสมัครใจเขารับการฝกอบรมแสดงไดวา เปนผูท่ีมีความสนใจใฝรูและแสวงหาความรูใหมจึงทําใหมีความตั้งใจในการแลกเปล่ียนความรูความสามารถในการสอนเขียนเพื่อสรางความรูใหเปนของตนเองโดยเฉพาะอยางยิ่งเวลาท่ีมีการนําเสนอความรูของแตละกลุม ผูเขารับการฝกอบรมจะมีการจดบันทึก อภิปรายและซักถาม ทําใหบรรยากาศการฝกอบรมเปนกันเอง นาสนใจและเปนเร่ืองท่ีสามารถนําไปใชในการจัดการเรียนการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาไดดังท่ีสุชาดา โรจนาศัย (2548) กลาววา การใหขอมูลยอนกลับมีผลตอพัฒนาการทางทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

จากการสอบถามผูเขารับการฝกอบรมพบวา กระบวนการฝกอบรมเปนกระบวนการท่ีแปลกใหมและมีความคลายคลึงกับกระบวนการกลุมและการมีสวนรวมทําใหเกิดการชวยเหลือพึ่งพาสงผลใหเกิดผลดีตอการเรียนรู การเสริมความสามารถทางการสอนเขียนภาษาอังกฤษและบูรณาการรวมกับทักษะการสอนอ่ืนซ่ึงผูเขารับการฝกอบรมเช่ือวากระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตองมีการบูรณาการสอนทุกทักษะดังท่ี พิตรวัลย โกวิทวที (2540) เสนอไววา การเขียนเปนเทคนิคท่ีคอนขางยากเพราะตองใชเทคนิคในการฝกท้ังการฟง การอานและการเขียนพรอมกันในเวลาเดียวกัน สวนขอเสนอแนะจากผูเขารับ

Page 27: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

23

การฝกอบรมนั้น พบวา เนื้อหาของการสอนเขียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษามีความเหมือนกันท้ัง 2 ชวงช้ัน (ป.1 – ป.6) ทําใหกระบวนการฝกอบรมดวยกระบวนการจัดการความรูในชวงการแลกเปล่ียนเรียนรูทับซอนกัน ซ่ึงอาจจําแนกไดเปน 2 นัยคือ 1) ทําใหผูเขารับการฝกอบรมเบ่ือหนาย 2) ทําใหผลการเรียนรูจากการฝกอบรมดีข้ึนเพราะกระบวนการทําซํ้า อีกประเด็นหนึ่งท่ีควรคํานึงถึงคือการที่ผูเขารับการอบรมมีประสบการณท่ีแตกตางกันอาจสงผลตอการสรางความรูของผูมีประสบการณมากไดรับความรูนอยกวาผูท่ีมีประสบการณนอยและผูมีประสบการณนอยอาจไมกลานําเสนอความรูหากผูเขารับการฝกอบรมไมสนิทสนมกัน จะเห็นไดวาประสิทธิภาพของหลักสูตรการฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดการความรูสงผลใหความสามารถดานการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาหลังการฝกอบรมสูงกวากอนการฝกอบรมอยางเห็นไดอาจเปนเพราะวาระยะเวลาไมหางกันมากนักนอกจากน้ัน กระบวนการฝกอบรมไดเรียนรูจากกระบวนการทั้งในกลุมยอยและกลุมใหญ (แสวง สมวงศ, 2542 : 76) จึงสงผลใหหลักสูตรฝกอบรมครูดวยกระบวนการจัดความรูสามารถเสริมสรางความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาไดเปนอยางดี

ขอเสนอแนะ

จากการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยไดขอเสนอแนะดังนี ้ 1. วิทยากรฝกอบรมกระบวนการจัดการความรูควรดําเนินการใหเปนไปตามลําดับข้ันตอน ไมกังวลกับกิจกรรมในแตละข้ันตอนในขณะฝกอบรม เพราะจะทําใหผูเขารับการอบรมไมศรัทธาตอวิทยากร อันอาจสงผลตอการเรียนรู อนึ่งวิทยากรควรตระหนักในการบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรูใหสอดคลองกับเนื้อหาของหลักสูตรฝกอบรม

2. จํานวนผูเขาอบรมไมควรเกิน 30 คน และการแบงกลุมเพื่อดําเนินกิจกรรม9ามกระบวนการจัดการความรูไมควรเกิน 6 คน เพื่อจะไดแลกเปล่ียนเรียนรู สรางความรูไดเหมาะสมกับเวลาท่ีมีอยูอยางจํากัด 3. ผูเขารับการอบรมควรมีประสบการณในเร่ืองนั้น ๆ พอสมควร เพื่อจะชวยใหเขาใจกระบวนการอันจะนําไปสูการสรางความรูไดอยางรวดเร็วยิ่งข้ึน ถาเปนไปไดผูเขารับการอบรมควรไดรับการละลายพฤติกรรมเพ่ือใหเกิดความสนิทสนมตอการอภิปรายและแลกเปล่ียนความรูกันอยางจริงใจ

4. การจัดบรรยากาศในการฝกอบรม ควรเปนธรรมชาติใหมากท่ีสุด โดยเฉพาะอยางยิ่งวิทยากรตองเปนผูอํานวยความสะดวกและกระตุนกระบวนการแหงความรู โดยมีวิทยากรผูชวยในแตละกลุมควรมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการจัดการความรูถูกตองตามข้ันตอนรวมท้ังมีความสามารถในการสรุปและบันทึกขอมูลเปนอยางดี ซ่ึงจะไมกอใหเกิดความเบ่ือหนายของผูเขารับการฝกอบรม

********************

Page 28: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

24

รายการอางอิง การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท. สํานักงาน. (2538). การประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูผูสอน

ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปท่ี 6 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท. ชัยนาท:หนวยศึกษานิเทศก สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท.

คณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, สํานักงาน.(2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542. สํานักนายกรัฐมนตรี.

คณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, สํานักงาน.(2543). รวมคิด รวมเขียน ปฏิรูปการเรียนรูผูเรียน สําคัญท่ีสุด . กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟค.

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู ผูเรียนสําคัญท่ีสุด.พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ.

จรัส สุวรรณเวลา. (2547). สังคมความรูยุคท่ี 2. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศการพิมพ. บุญสง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรูในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. พิตรวัลย โกวิทวที. (2540). ทักษะและเทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. พิมพครั้งที่ 3.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สุรพันธ กุศลสง. (2543). การเปรียบเทียบความสามารถและทัศนคติในการฟง – พูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติประกอบกับการจัดกิจกรรมกลุมสัมพันธกับการสอนตามคูมือครู. ปริญญานิพนธมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

แสวง สมวงศ. (2542). การพัฒนาหลักสูตรการฝกอบรมครูนาฎศิลปในระดับประถมศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม เชียงใหม.

Clark, Allen Romaine. (1970). A Teacher Evaluation of In – Service Education. Dissertation Abstracts International, 31(6) December, 2767 – A.

Gags, N. and D. Berliner. (1984). Educational Psychology. 3rd ed., Boston : Houghton Mifflin Company. Mohammad Nazir Ahmad Sharif, Nor Hidayati Zakaria, Lim Shu ching, Low soh Fung. (2005). “Facilitating

Knowledge Sharing Through Lessons Learned System” Journal of Knowledge Management Practice, March 2005.

Paul Manuel. (2005). “A Model of E – Governance Based on Knowledge Management”. Journal of Knowledge Management. Practice, June 2005.

Rusli A., Mohd H.S and others. (2005). “A Framework for Knowledge Management System Implementation in Collaborative Environment for Higher Learning Institution.” Knowledge Management Practice., March.

********************

Page 29: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

25

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา กับการสอนตามปกติ∗

กมลทิพย แกวนกสิการณ**

รศ.ดร.พนมพร เผาเจริญ***

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ี เปนการวิจัยก่ึงทดลอง มีจุดมุงหมายเพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่ไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษากับการสอนตามปกติ กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งน้ี ไดแก นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี อําเภอหนองขาหยาง จังหวัดอุทัยธานี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุทัยธานี จํานวน 65 คน แบงเปนกลุมทดลอง จํานวน 33 คน กลุมควบคุม จํานวน 32 คน ที่ไดมาจากการสุมอยางงาย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ไดแก 1) แผนการจัดการเรียนรูแบบมุงประสบการณภาษา 2) แผนการจัดการเรียนรูตามปกติ ซึ่งผานการตรวจสอบคุณภาพโดยผูเช่ียวชาญ 5 คน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเปนแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ขอ ที่มีคาความยากงาย (p) ระหวาง 0.20 – 0.75 คาอํานาจจําแนก (r) ระหวาง 0.20-0.80 คาความเที่ยงมีคาเทากับ 0.64 4) แบบวัดเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ เปนแบบสอบถามชนิดมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ จํานวน 20 ขอ มีคาความเที่ยงเทากับ 0.84 วิเคราะหขอมูลโดยใชการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางเปนอิสระจากกัน การหาคาเฉล่ียและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบวา 1. นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่ไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ สูงกวานักเรียนที่ไดรับการสอนตามปกติ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่ไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา มีเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ อยูในระดับมาก 3. นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่ไดรับการสอนตามปกติ มีเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ อยูในระดับมาก

คําสําคัญ : การสอนแบบมุงประสบการณภาษา/ การสอนตามปกติ/ ภาษาอังกฤษ/ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน/ เจตคติตอการเรียน

∗ วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ.2551 ** ครู คศ.2 โรงเรียนหนองฉางวิทยา อ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ***รองศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ)

Page 30: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

26

A Comparison of Mathayomsuksa 1 Students’ Learning Achievement and Attitude towards English through Concentrated Language Encounter Instruction

and Conventional Instruction. Kamolthip Kwaenkasikarn

Assoc. Prof. Dr Panomporn Puacharearn

Abstract This research is quasi experimental research and is intended to compare the English learning achievement and attitude towards English of Mathayomsuksa 1 students taught by Concentrated Language Encounter and Conventional Instruction. The samples in this research were 65 Mathayomsuksa I students who were studying in the second semester of the academic year 2007 at Kanchanaphisekwitthayalai Uthaithani School, Amphoe Nongkhayang, Uthaithani province under the office of Uthaithani Educational Service Area. They were divided into the experimental group and the control group. There were 33 and 32 students in each group selected by simple random sampling. The research instruments were 1) lesson plans using Concentrated Language Encounter Instruction, 2) lesson plans using Conventional Instruction approved by 5 experts, 3) an English learning achievement test with 4 multiple choices for 40 items with the difficulty value between 0.20 – 0.75, the discrimination value between 0.20 – 0.80, and the reliability value of 0.64, and 4) the 20 items of learning English attitude towards English text, learning English activities, and advantages of studying English with the reliability value of 0.84. The data were analyzed employing the t-test fordependent samples, the mean and the standard deviation. The results of this research revealed that: 1. The English learning achievement of Mathayomsuksa I students taught by Concentrated Language Encounter Instruction was significantly higher than those taught by Conventional Instruction at the 0 .05 level. 2. The attitude towards English of Mathayomsuksa I students taught by Concentrated Language Encounter Instruction was at good level. 3. The attitude towards English of Mathayomsuksa I students taught by Conventional Instruction was at good level.

Keywords : Concentrated Language Encounter Instruction/ Conventional Instruction/ English Learning Achievement/ Attitude towards English

Page 31: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

27

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา สังคมโลกปจจุบัน เปนสังคมขอมูลขาวสาร ความกาวหนา ความเคล่ือนไหวและการเปล่ียนแปลงทางดานเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม มีผลกระทบท่ัวถึงอยางรวดเร็ว บุคคลในสังคมตองติดตอ พบปะ เพื่อดําเนินกิจกรรมทางสังคมหรือเศรษฐกิจเพิ่มข้ึน ภาษาตางประเทศจึงกลายเปนเคร่ืองมืออันสําคัญยิ่ง ในการส่ือสาร เพื่อใหเกิดความเขาใจกันและกันในการศึกษาหาขอมูลความรู และถายทอดวิทยาการตางๆแกกันในดานเศรษฐกิจ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 1) ภาษาอังกฤษนับวาเปนภาษาตางประเทศท่ีสําคัญและแพรหลายท่ีสุด อาจกลาวไดวาแทบทุกประเทศในโลกเรียนภาษาอังกฤษเปนภาษาตางประเทศ ผูท่ีรูภาษาอังกฤษจึงสามารถเขาใจความคิด ทัศนคติ วัฒนธรรมของชนชาติอ่ืน ตลอดจนความกาวหนาทางวิทยาการใหม ๆ และความเคล่ือนไหวของโลกท้ังทางดานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอ่ืน ๆ ไดเปนอยางดี (สุมิตรา อังควัฒนกุล. 2540 : 1) จากความสําคัญของภาษาอังกฤษดังกลาว กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความจําเปนและเห็นความสําคัญของการใชภาษาอังกฤษ จึงไดปรับปรุงหลักสูตรใหมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอยางตอเนื่อง ต้ังแตระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการส่ือสารของผูเรียน ใหมีทักษะพื้นฐานในการฟง พูด อาน และเขียน สามารถติดตอส่ือสารกับสังคมโลกไดอยางถูกตองตามลักษณะสังคมและวัฒนธรรม ใชภาษาไดอยางเหมาะสมกับสถานการณ พัฒนาภาษาเพื่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตอ ตลอดจนสามารถถายทอดวัฒนธรรมไทยไปสูสังคมโลกได (กรมวิชาการ. 2540 : 1-2 )

กลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศเปนกลุมสาระการเรียนรูพื้นฐานหน่ึงใน 8 กลุมท่ีกําหนดใหเปนองคความรูและกระบวนการเรียนรูท่ีจะเสริมสรางพื้นฐานความเปนมนุษย และสรางศักยภาพในการคิดและทํางานอยางสรางสรรค โดยนําจุดมุงหมายของหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานมาจัดเปนสาระและมาตรฐานการเรียนรู สําหรับกลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศกําหนดใหเรียนภาษาอังกฤษทุกชวงช้ัน และผูท่ีเรียนจะใชภาษาไดถูกตองคลองแคลวและเหมาะสมนั้นข้ึนอยูกับทักษะการใชภาษา ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนภาษาท่ีดี ผูเรียนจะตองมีโอกาสไดฝกทักษะการใชภาษาใหมากท่ีสุด ท้ังในหองเรียนและนอกหองเรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตองสอดคลองกับธรรมชาติ และลักษณะเฉพาะของภาษา การจัดการเรียนการสอนภาษาจึงควรจัดกิจกรรมใหหลากหลาย ท้ังกิจกรรมการฝกทักษะทางภาษา และกิจกรรมการฝกผูเรียนใหรูวิธีการเรียนภาษาดวยตนเองควบคูไปดวย อันจะนําไปสูการเปนผูเรียนท่ีพึ่งตนเองได (learner-independence) และสามารถเรียนรูไดตลอดชีวิต (lifelong learning) ท้ังดานภาษาตางประเทศ โดยการใชภาษาตางประเทศเปนเคร่ืองมือในการคนควาหาความรูในการเรียนวิชาอ่ืนๆ ในการศึกษาตอ รวมท้ังในการประกอบอาชีพ ซ่ึงเปนจุดหมายสําคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 1-2 ) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อปฏิรูปการเรียนรูตาม

Page 32: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

28

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ถือวาผูเรียนมีความสําคัญท่ีสุด ผูเรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรูและพัฒนาตนเองได การจัดกระบวนการเรียนรูจึงมุงฝกทักษะการปฏิบัติ การแกปญหา และการเรียนรูจากประสบการณจริงเพื่อสงเสริมใหผูเรียนสามารถพัฒนาตนเต็มศักยภาพ โดยจัดใหมีการประเมินควบคูกับการเรียนการสอนตามสภาพจริง ใชวิธีพิจารณาจากพัฒนาการของผูเรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน และการรวมกิจกรรม (พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 : 12-13) จากรายงานผลการประเมินคุณภาพระดับชาติวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 3 ในปการศึกษา 2548 พบวานักเรียนสวนใหญของประเทศไทยประสบปญหาเร่ืองผลสัมฤทธ์ิวิชาภาษาอังกฤษอยูในระดับตํ่ามาก มีคะแนนโดยเฉล่ีย รอยละ 26.94 อยูในระดับท่ีตองปรับปรุงรอยละ 71.28 ระดับพอใชรอยละ 28.72 และระดับดีรอยละ 0.00 (สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาอุทัยธานี. 2548 : 1-3) และนักเรียนระดับช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี มีคะแนนโดยเฉล่ีย รอยละ 25.32 อยูในระดับท่ีตองปรับปรุงรอยละ 73.46 ระดับพอใชรอยละ 25.34 และระดับดีรอยละ 1.20 (โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี. 2548 : 8) จากการศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวของกับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา พบวานักเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษามีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึนซ่ึงงานวิจัยดังกลาวสวนใหญเนนการสอนท่ีพัฒนาการอานจากความเขาใจความหมายโดยรวมของเร่ือง แลวนําไปสูองคประกอบยอยของภาษาโดยการฝกหาความหมายของคําศัพทจากบริบทของเร่ือง ฝกการสะกดคํา เรียนรูโครงสรางภาษาโครงสรางการเรียงคําศัพทจนถึงประโยคโดยยึดการจัดกิจกรรมที่พัฒนาข้ึน อยางมีเปาหมาย มีกระบวนการเรียนการสอนท่ีพัฒนาการเรียนรูภาษาของผูเรียนใหเปนไปอยางธรรมชาติโดยคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล ในดานความสามารถ สติปญญา ความรับผิดชอบและความสนใจของผู เ รียน เนนการปฏิบัติโดยใชกระบวนการกลุม ทําใหผูเรียนไดมีสวนรวมและมีปฏิสัมพันธระหวางเพื่อนและครูอยูตลอดเวลา เปนการสอนท่ีบูรณาการทักษะท้ังฟง พูด อาน เขียน ไปพรอมๆกันตามสถานการณและสภาพแวดลอมดวยตนเอง นักเรียนจะสามารถพัฒนาการใชภาษาอังกฤษไดอยางถูกตองเหมาะสม นอกจากนั้นการสอนแบบมุงประสบการณภาษา จะสงผลตอผูเรียนใหมีเจตคติในการเรียนภาษาอังกฤษดีข้ึน จากเหตุผลดังกลาว ผูวิจัยจึงมีความสนใจท่ีจะศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา กับการสอนตามปกติวามีความแตกตางกันอยางไร เพื่อเปนแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน

Page 33: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

29

จุดมุงหมายของการวิจัย ในการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยไดกําหนดจุดมุงหมายของการวิจัยไวดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา กับ นักเรียนท่ีไดรับการสอนตามปกติ

2. เพื่อศึกษาเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา 3. เพื่อศึกษาเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนตามปกติ

สมมติฐานของการวิจัย

1. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษาสูงกวา นักเรียนท่ีไดรับการสอนตามปกติ

2. เจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษาอยูในระดับมาก 3. เจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนท่ีไดรับการสอนตามปกติ อยูในระดับมาก

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

ผูวิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของนํามาเปนกรอบความคิดในการวิจัย สรุปโดยยอไดดังนี้ แนวทฤษฎีการสอนแบบส่ือสาร (communicative approach ) เสาวลักษณ รัตนวิชช (2533 : 19-20) กลาววาแนวทฤษฎีการสอนแบบน้ี จะเนนการใชภาษาของผูเรียนเปนหลัก โดยอาศัยหลักการของภาษาศาสตรเชิงสังคมวิทยา (sociolinguistics ) ซ่ึงวาดวยเนื้อหาบริบท (context) ภาษาและวัฒนธรรมท่ีแตกตางกันในแตละชุมชนท่ีอาจใชผิดแผกแตกตางกันไปตามสภาพแวดลอมกระบวนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้ จะเนนปฏิสัมพันธในการใชภาษาระหวางผูสอนกับผูเรียน และระหวางผูเรียนกับผูเรียนเปนสําคัญ เนื้อหาท่ีจัดข้ึนเปนบทเรียนจึงควรเนนบริบททางภาษาท่ีมีความหมายแกผูเรียนตามหลักการใชภาษาในสังคมในสถานการณตางๆ ไดอยางเหมาะสมตามกาลเทศะ นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนการสอนจําเปนอยางยิ่งท่ีผูสอนจะตองจัดใหผูเรียนมีโอกาสแสดงออกทางภาษาในลักษณะปฏิสัมพันธระหวางผูสอนกับผูเรียน และผูเรียนกับผูเรียน เพื่อใหฝกปฏิบัติการใชภาษาไดอยางเปนธรรมชาติ ผูสอนจะมีหนาท่ีคอยชวยเหลือ แนะนํา และแกไขการใชภาษาท่ีถูกตองแกผูเรียน แนวทฤษฎีการสอนแบบธรรมชาติ (natural approach) ทฤษฎีการสอนแบบน้ีจะเนนการใหปจจัยปอนท่ีมีความหมายเปนท่ีเขาใจไดแกผูเรียน (comprehensible input) โดยใชกระบวนการเรียนการสอน

(process) ท่ีเหมาะสมกับการรับรูทางภาษาของผูเรียน (language acquistion) เปนหลักผลของการเรียนรู

Page 34: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

30

(output) จะประสบความสําเร็จดังท่ีคาดหมายได ถาผูสอนเขาใจวิธีการใหปจจัยปอนเขาไดอยางถูกตองและเหมาะสมกับผูเรียนการใหปจจัยปอนท่ีมีความหมายเปนท่ีเขาใจได แกผูเรียนนั้นจําเปนตองอาศัยกระบวนการสอนความคิดรวบยอดทางภาษาท่ีถูกตอง การใชวัสดุของจริงท่ีมีอยูในสภาพแวดลอม

ทฤษฎีการสอนอานตามแนวภาษาศาสตร เชิงจิตวิทยา (psycholinguistics ) ทฤษฎีการสอนอานแบบนี้เนนกระบวนการอานโดยถือวาการอานเปนการสรางความหมายจากสัญลักษณโดยผานกระบวนการทางความคิด (Smith. 1971,1973 : Goodman. 1973 อางใน เสาวลักษณ รัตนวิชช. 2534 : 21) ) วิธีการสอนและเทคนิคการสอนท่ีจะใชในการสอนอานจึงจําเปนตองพิจารณาหลักการและทฤษฎีดังกลาวเพื่อการเรียนรูการอานท่ีถูกตองและเปนไปโดยธรรมชาติได นักภาษาศาสตรเชิงจิตวิทยามิไดมองการอานเพียงการแสวงหาความหมายเพื่อความเขาใจสัญลักษณ หรือตัวอักษรเพียงอยางเดียว แตคํานึงถึงหลักการทางจิตวิทยาในการรับรูการอาน การถายโยงความคิดรวบยอดรวมท้ังองคปรกอบอื่นๆท่ีจะชวยในการอานสมบูรณ เชน ความสนใจ ประสบการณเดิม และการระลึกส่ิงท่ีอานได ทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (genre-based approach) การสอนแบบมุงประสบการณภาษาวา จําเปนตองยึดบทเรียนหรือกิจกรรมเปนหลัก ซ่ึงถือวาเปนปจจัยปอนท่ีสําคัญในการใหรูปแบบภาษาแกผูเรียน ดังนั้นบทเรียนหรือกิจกรรมนั้น ตองไดรับการพัฒนาอยางถูกตองและเหมาะสมเพ่ือใหเปนรูปแบบของภาษาท่ีเหมาะสมดวย แนวทฤษฎีการสอนแบบอรรถฐาน(genre-based) ทฤษฎีภาษาศาสตรเชิงระบบดังกลาวจะเนนการใชภาษาเพ่ือการส่ือสารเน้ือความจากบริบทภาษาในกาละและเทศะตางๆ ท่ีใชกันในสังคมหรือชุมชน ซ่ึงยอมจะมีสถานการณวัฒนธรรมท่ีแตกตางกันไป และมีอิทธิพลตอการใชภาษาของบุคคลตางๆในสังคมหรือชุมชนนั้น ๆ (เสาวลักษณ รัตนวิชช. 2536 : 23-30)

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research ) ใชแบบแผนการวิจัยสองกลุม เปรียบเทียบหลังเรียน (Control-group Posttest Only Design) มีรายละเอียดการดําเนินการโดยสังเขปดังนี้ ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากร ไดแก นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาอุทัยธานี ภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2549 จํานวน 3 หองเรียน จํานวน 97 คน กลุมตัวอยาง ไดแก นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี ภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2549 สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาอุทัยธานี จํานวน 65 คน โดยแบงเปนกลุมทดลอง จํานาน 33 คน และกลุมควบคุม จํานวน 32 คน ซ่ึงไดจากการสุมอยางงาย (simple random sampling)

Page 35: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

31

ตัวแปรท่ีศึกษา 1. ตัวแปรจัดกระทํา ไดแก การสอนแบบมุงประสบการณภาษา 2. ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปร ไดแก ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษ และเจตคติตอการเรียน

ภาษาอังกฤษ เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้ มี 4 ฉบับ ดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรูแบบมุงประสบการณภาษา จํานวน 2 แผน แผนละ 7 และ 5 คาบ ซ่ึงมีคุณภาพในระดับเหมาะสมมากท่ีสุด โดยผูเช่ียวชาญประเมินคุณภาพสอดคลอง มีคาเฉล่ีย 4.71 โดยมีข้ันตอนการสอน 5 ข้ันตอน ดังนี้ ข้ันตอนท่ี 1 ครูอานเร่ือง เลาเร่ืองใหนักเรียนฟง ข้ันตอนท่ี 2 นักเรียนเลาเร่ือง สนทนา อภิปราย อานเร่ือง และแสดงบทบาทสมสมมติ ข้ันตอนท่ี 3 เขียนเร่ืองรวมกับครู ข้ันตอนท่ี 4 ทําหนังสือเลมใหญ ข้ันตอนท่ี 5 ทํากิจกรรมทางภาษา 2. แผนการจัดการเรียนรูตามปกติ จํานวน 2 แผน แผนละ 7 และ 5 คาบ ซ่ึงมีคุณภาพในระดับเหมาะสมมากท่ีสุด โดยผูเช่ียวชาญประเมินคุณภาพ มีคาเฉล่ีย 4.59 แผนการสอนมีข้ันการสอน 3 ข้ันดังนี้ ข้ันตอนท่ี 1 ข้ันนําเสนอเนื้อหาใหม (Presentation) ประกอบดวยการทบทวนเนื้อหาเกาท่ีสัมพันธกับการสาธิต การจัดกิจกรรม และการอภิปรายเพ่ือใหเกิดความเขาใจ ข้ันตอนท่ี 2 ข้ันฝกปฏิบัติ (Practice) เปนการฝกพูดซํ้าๆหลายๆคร้ัง อาจจะฝกรวมกันท้ังช้ัน ฝกเปนกลุม หรือเปนรายบุคคล เพื่อใหจําและทําไดคลองแคลว ข้ันตอนท่ี 3 ข้ันนําไปใช (Production) เปนการกําหนดสถานการณใหพูดหรือการวาดภาพประกอบ การรองเพลง การแสดงทาทางประกอบ หรือทําแบบฝกตาง ๆ เปนตน 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษ ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน เปนแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ขอ ซ่ึงมีคาดัชนีความสอดคลองอยูระหวาง 0.60 – 1.00 คาความยากงายอยูระหวาง .20 - .75 คาอํานาจจําแนกอยูระหวาง .20 - .80 และคาความเท่ียงเทากับ 0.64 4. แบบวัดเจตคติทางการเรียนภาษาอังกฤษ ท่ีผูวิจัยพัฒนาข้ึน เปนแบบสอบถามชนิดมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ จํานวน 20 ขอ โดยใชวัดความรูสึก และความคิดเห็นของนักเรียนตอการเรียนภาษาอังกฤษ โดยแยกการวัดออกเปน 3 ดาน ไดแก ดานเนื้อหา ดานกิจกรรม และดานประโยชน นําผลการสอบมาหาคาความเท่ียงโดยใชสูตรการหาสัมประสิทธ์ิอัลฟา ของ ครอนบาค ไดคาความเท่ียงเทากับ 0.84

Page 36: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

32

การเก็บรวบรวมขอมูล ในการทดลองคร้ังนี้ ผูวิจัยได ดําเนินการ ดังนี้ 1. นําผลคะแนนสอบกลางภาคท่ีมีกลุมทดลองและกลุมควบคุม มาบันทึกผลไวเปนคะแนนท่ีแสดงใหเห็นวาท้ังสองกลุมมีความสามารถเทาเทียมกัน 2. ดําเนินการทดลอง โดยผูวิจัยเปนผูสอนเองท้ังกลุมทดลองและกลุมควบคุม ใชเนื้อหาเดียวกันระยะเวลาเทากัน โดยกลุมทดลองสอนแบบมุงประสบการณภาษา และกลุมควบคุมสอนตามปกติ 3. ทดสอบหลังเรียนท้ังสองกลุม โดยใชแบบทดสอบวัดสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามวัดเจตคติตอวิชาภาษาอังกฤษ 4. ตรวจผลการทดสอบและผลการตอบแบบวัดเจตคติ และนําคะแนนที่ไดมาวิเคราะหดวยวิธีทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน และสรุปผลการวิจัย การวิเคราะหขอมูลและสถิติท่ีใช ในการวิเคราะหขอมูลผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูลและเลือกใชสถิติ ดังนี้ 1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา โดยการหาคาเฉล่ียของคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษ ทดสอบความแปรปรวนและ ทดสอบความแตกตางของคาเฉล่ียของคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษระหวางนักเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา และการสอนตามปกติ โดยใชการทดสอบแบบที แบบกลุมตัวอยางเปนอิสระตอกัน ( t-test for independent samples)

กลุมตัวอยาง n X S.D. t p

กลุมทดลอง 33 15.33 3.29 กลุมควบคุม 32 8.72 4.11

7.175* 0.00

*p < .05 (t63,.05 = 1.645) 2. การศึกษาเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา โดยการหาคาเฉล่ียและสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน ปรากฎผลโดยยอดังนี้

ขอความ X S.D. ระดับ 1. ภาษาอังกฤษเปนวิชาท่ียาก 2. คําศัพทภาษาอังกฤษมีสิ่งท่ียากตอการจดจํา ………………………………………………………………. 19.ขาพเจารูสึกช่ืนชมคนท่ีพูดภาษาอังกฤษไดคลอง 20.ขาพเจาไมไดไปตางประเทศจึงไมจําเปนตองใชภาษาอังกฤษ

4.55 2.94 ….. 4.52 4.03

0.62 1.56 ….. 0.56 0.98

มากท่ีสุด ปานกลาง .......... มากท่ีสุด มาก

รวมเฉลีย่ 4.20 0.72 มาก

Page 37: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

33

3. การศึกษาเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนตามปกติ โดยการหาคาเฉล่ียและสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน ปรากฎผลโดยยอดังนี้

ขอความ X S.D. ระดับ 1. ภาษาอังกฤษเปนวิชาท่ียาก 2. คําศัพทภาษาอังกฤษมีสิ่งท่ียากตอการจดจํา ………………………………………………… 19. ขาพเจารูสึกช่ืนชมคนท่ีพูดภาษาอังกฤษไดคลอง 20.ขาพเจาไมไดไปตางประเทศจึงไมจําเปนตองใชภาษาอังกฤษ

4.37 3.71 ..... 3.81 3.12

0.55 1.02 ..... 0.73 1.49

มาก มาก .......... มาก ปานกลาง

รวมเฉลีย่ 3.63 0.88 มาก

สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยคร้ังนี้ พบวา 1. นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงกวานักเรียนท่ีไดรับการสอนตามปกติ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 2. นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา มีเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมาก 3. นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนตามปกติ มีเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษระดับมาก อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยคร้ังนี้สามารถนํามาอภิปรายผล ไดดังนี้ 1. นักเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษ หลังการทดลองสูงกวานักเรียนท่ีไดรับการสอนตามปกติ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว ผลการวิจัยคร้ังนี้สอดคลองกับผลการวิจัยของ มาลิน พันธุเทพ(2546), วอรคเกอร บารเล็ท เสาวลักษณ รัตนวิชช และออลเลอร(1984) ท้ังนี้อาจเปนผลสืบเนื่องมาจากเหตุผลดังตอไปนี้ 1.1 ดานกระบวนการเรียนการสอน ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของกลุมทดลองซ่ึงใชการสอนแบบมุงประสบการณภาษา (เสาวลักษณ รัตนวิชช. 2533:22-28) ท่ีมีข้ันการสอน 5 ข้ันตอนอยางตอเนื่อง ซ่ึงเปนข้ันตอนท่ีไดรับการพัฒนา ใหมีลักษณะการพัฒนาภาษาอยางบูรณาการจากความหมายโดยรวมของเร่ือง ไปสูองคประกอบยอยของภาษา ตามหลักการพัฒนาการสอนภาษาโดยธรรมชาติ และเปนการพัฒนาทักษะทางภาษาจากการอานไปสูทักษะทางภาษาอ่ืนๆ แบบทักษะสัมพันธ ผูเรียนมีโอกาสฝกทักษะการใชภาษาอยางตอเนื่อง

Page 38: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

34

1.2 ดานการเสริมตอการเรียนรู การสอนภาษาอังกฤษแบบมุงประสบการณภาษา (เสาวลักษณ รัตนวิชช. 2533 : 34-36) กลาววาในกลุมทดลองนั้นผูเรียนจะไดรับการเสริมตอการเรียนรูตลอดเวลาโดยผูสอน เปนผูเสริมตอขอความ เสริมความคิดท่ีผูเรียนตองการพูด เขียนหรือแสดงออกทางความคิดตางๆเพ่ือการส่ือสาร ซ่ึงผูสอนเปนผูตรวจสอบความถูกตองของเนื้อหา และแบบฝกท่ีผูเรียนทําแลวแนะแนวทางแกไขในภายหลัง 2. นักเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษาและการสอนตามปกติ มีเจตคติตอการเรียนภาษาอังกฤษ ในดานกิจกรรมการเรียนการสอน ดานเนื้อหา และดานประโยชนในการเรียนภาษาอังกฤษอยูในระดับมาก ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว ผลการวิจัยคร้ังนี้สอดคลองกับผลวิจัยของ มาลิน พันธุเทพ (2546), แอสคอฟ และฟชแบค (Askov and Fishback.1973), การดเนอร และแลมเบิรด (Gardner and Lambert.1972) ท้ังนี้อาจเปนผลสืบเนื่องมาจากเหตุผลดังตอไปนี้ 2.1 กิจกรรมและบรรยากาศการเรียนการสอน ผูเรียนท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษา ไดรับการจัดบรรยากาศในการเรียนท่ีแปลกใหมไปจากเดิมตลอดจนการแสดงบทบาทสมมติ ผูเรียนไดเรียนอยูในสภาพท่ีเปนกันเองและพนบรรยากาศหองเรียนท่ีซํ้าซากจําเจ การจัดกิจกรรมในแตละข้ันตอนผูเรียนมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมกลุม มีการทํางานรวมกัน และการปฏิบัติกิจกรรมตางๆตามกระบวนการเรียนรู ผูเรียนมีสวนรวมในการเรียนการสอน มีอิสระในการคิดมีโอกาสในการแสดงความสามารถทําใหผูเรียนกลาแสดงออกทางภาษาในการฝกกิจกรรมเสริมทักษะทางภาษาท้ังการฟง การพูด การอาน และการเขียน ผูเรียนมีความกระตือรือรนในการทํากิจกรรมในข้ันตอนตางๆอยางมาก ผูเรียนมีความสนุกสนานในการเรียน ทําใหบรรยากาศในการเรียนไมตึงเครียด เปนผลในทางบวกทําใหผูเรียนมีเจตคติท่ีดีตอการเรียนภาษาอังกฤษเพ่ิมข้ึน 2.2 ส่ือและบทเรียนท่ีนํามาใชสอน ในการเลือกบทเรียนในการสอนครั้งนี้ ผูวิจัยคํานึงถึง ประสบการณท่ีผูเรียนควรไดรับ และความเหมาะสมกับระดับวัยและความสนใจของผูเรียน เปนหลัก จึงเลือกบทเรียนซ่ึงเปนเร่ืองใกลตัวผูเรียน ดึงดูดความสนใจของผูเรียนเปนอยางมาก และเปนบทเรียนท่ีมีความเกี่ยวของในชีวิตประจําวันของผูเรียนเปนสวนใหญ ผูเรียนมีประสบการณเดิมและสามารถนําประสบการณเดิมมาเช่ือมโยงกับความรูใหม ในบริบทท่ีสอนอยางเปนทางการ ผูเรียนสามารถคิดสรางสรรค วิธีการไดมากกวาเนื้อหาในบทเรียน เปนผลใหการสอนมีประสิทธิภาพ ผูเรียนเห็นประโยชนของการเรียนภาษาอังกฤษท่ีสามารถนําไปใชในชีวิตประจําวันได

Page 39: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

35

ขอเสนอแนะ จากการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยมีขอเสนอแนะดังนี้ 1. การเรียนการสอนแบบมุงประสบการณภาษา สําหรับครูผูสอนภาษาอังกฤษนั้น การเลือกบทเรียน ควรเลือกเร่ืองท่ีมีความหมาย ใกลตัว เหมาะสมกับระดับผูเรียน มีภาพประกอบท่ีมีขนาดใหญ สีสันสวยงาม ตัวละครชัดเจนท่ีสามารถดึงดูดความสนใจใหผูเรียนสนใจ และเกิดความกระตือรือรนในการเรียนมากข้ึน 2. การดําเนินการเรียนการสอน ครูผูสอนตองสอนตามลําดับข้ันตอนการสอนอยางตอเนื่อง การสอนจะชาหรือเร็วข้ึนอยูกับความสามารถของผูเรียน โดยครูผูสอนตองเสริมตอการเรียนรูใหกับนักเรียนทุกข้ันตอนการสอน การสอนจึงจะไดผลตามจุดประสงคท่ีวางไว 3. การสอนแบบมุงประสบการณภาษา สําหรับครูผูสอนภาษาอังกฤษ ควรใชเทคนิคการสอนและกิจกรรมที่หลากหลาย ทําใหผูเรียนเกิดความสนุกสนาน และสามารถคนพบความสามารถของตนเอง และทํานักเรียนเกิดความม่ันใจและกลาแสดงออกทางภาษามากข้ึน

********************

Page 40: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

36

รายการอางอิง เขตพื้นท่ีการศึกษาอุทัยธานี, สํานักงาน. (2548). ผลการสอบประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน. อุทัยธานี :

สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาอุทัยธานี. มาลิน พันธุเทพ. (2546). การเปรียบเทียบความสามารถในการใชภาษาอังกฤษและเจตคติในการเรียน

ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนแบบมุงประสบการณภาษากับการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค : สถาบันราชภัฏนครสวรรค.

วิชาการ, กรม. (2544). หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานพุทธศักราช 2544 . กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

________. (2546). การจัดสาระการเรียนรู กลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

วิสาข เกษประทุม. (2546). ความนาจะเปนและสถิติเบื้องตน. กรุงเทพมหานคร : พัฒนศึกษา. สุมิตรา อังควัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. พิมพคร้ังท่ี 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เสาวลักษณ รัตนวิชช. (2533). การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยแบบมุงประสบการณภาษา.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพประยูรวงศ. ________. (2534). การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยแบบมุงประสบการณภาษา เลม 2 .

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพประยูรวงศ. ________. (2536) . การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยแบบมุงประสบการณภาษา เลม 3 .

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพประยูรวงศ. Askov, E. and Fishback., Thomas J. (1973). “An investigation of primary pupils attitude toward

reading.” The Journal of Experimental Education. Gardner, R.C. and Lambert , Wallace F. (1972). Motivation variables in second language acquisition

in attitude and motivation in second language learning. Edited by R.C. Gardner and W.E. Lambert. P.266-272. Massachusettes : New Burry House.

Oller, J.W. (1979). Language test at school : A pragmatic approach. London : Longman. Walker, R.F.,Bartlett, B.J. and S. Rattanavich. (1992). Teacher’s notes on a program of concentrated

langusge encounter teaching. Buckingham, Open University. Walker, R. S. Rattanavich and Oller, J.W., Jr. (1992). Teacher’s manual for CLE teaching of

beginners. Buckingham, Open University. ********************

Page 41: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

37

ผลการใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูท่ีมีตอผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6* สายพิณ มาวรรณ**

รศ.ดร.พนมพร เผาเจริญ***

บทคัดยอ การวิจัยคร้ังนี้มีจุดมุงหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร กอนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู 2) ศึกษาจํานวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ที่มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร ผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) ศึกษาจํานวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ที่มีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร ผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยคร้ังนี้ เปนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 ของโรงเรียนชุมชนวัดบานแกง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค เขต 1 จํานวน 1 หองเรียน จํานวน 32 คน ซ่ึงไดมาจากการสุมอยางงาย เคร่ืองมือที่ใชในการวิจัยคร้ังนี้คือ 1) แผนการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ซ่ึงผานการตรวจสอบคุณภาพ โดยผูเชี่ยวชาญไดคาเฉล่ียอยูในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร เปนแบบทดสอบ ปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ที่มีความตรงเชิงเนื้อหา มีความยากงายอยูระหวาง 0.21 – 0.79 คาอํานาจจําแนกอยูระหวาง 0.25 – 0.83 และมีคาความเที่ยงเทากับ 0.79 3) แบบประเมินความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร เปนแบบมาตราสวนประมาณคาจํานวน 16 ขอ ซ่ึงผานการตรวจสอบคุณภาพ โดยผูเชี่ยวชาญไดคาเฉลี่ยอยูในระดับเหมาะสมมาก และมีคาความเที่ยงเทากับ 0.78 วิเคราะหขอมูลโดยใชการทดสอบทีและการทดสอบไค-สแควร ผลการวิจัย พบวา 1. นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05 2. นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมดที่ไดรับการสอน โดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3. นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมดที่ไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร หลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

คําสําคัญ : การสอนแบบสืบเสาะหาความรู/ แผนผังมโนทัศน/ การนําเสนอผลงาน *

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค พ.ศ. 2551 **ครู คศ. 3 โรงเรียนชุมชนวัดบานแกง อ.เมืองนครสวรรค จังหวัดนครสวรรค ***รองศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ)

Page 42: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

38

The Effects of Using Concept Mapping Through Inquiry Method on Science Learning Achievement and Presentation Ability of Prathomsuksa 6 Students

Saipin Mawan

Assoc. Prof. Dr.Panomporn Puacharearn

Abstract The purposes of this research were: 1) to compare the science learning achievement and presentation ability of Prathomsuksa 6 students before and after being taught by using concept mapping through inquiry method, 2) to study the number of students taught by using concept mapping through inquiry method and achieved the criteria in science learning at 75% of total marks, and 3) to study the number of students taught by using concept mapping through inquiry method who possessed scientific presentation ability at 75% of total marks. The samples were 32 Prathomsuksa 6 students studying in the second semester in the academic year of 2007 from Chumchon Wat Ban Gang School, under the Nakhon Sawan Educational Office Area, Zone 1. The samples were randomized by simple random sampling. The research instruments were 1) lesson plans using concept mapping through inquiry method with the most appropriate level, 2) 40 - item with 4 alternatives science achievement test of which the contents had difficulty level between 0.21 - 0.79, the discrimination value between 0.25 - 0.83, and the coefficient of reliability at 0.79, and 3) the 16 – item evaluation on scientific presentation ability with rating scales of the most appropriate level, and the coefficient of reliability at 0.78. The data were analyzed by using the t-test and the Chi-square test. The findings of this research were: 1. After being taught by using concept mapping through inquiry method, students significantly achieved science learning more than before being taught at .05 level. 2. 75% of all the students taught by using concept mapping through inquiry method passed the criteria at 75%. 3. 75% of all the students or more taught by using concept mapping through inquiry method possessed scientific presentation ability at 75%.

Keywords: Inquiry Method/ Concept Mapping/ Presentation Ability

Page 43: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

39

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา โลกยุคปจจุบันเปนยุคโลกาภิวัตน ท่ีความเจริญกาวหนาของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เขามามีสวนเกี่ยวของกับการดํารงชีวิตของมนุษยมากข้ึน ประเทศไทยจึงตองเรงสรางขีดความสามารถของประเทศในดานพัฒนากําลังคน ดานวิทยาศาสตรและสรางความตระหนักดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เพื่อเปนการเตรียมคนใหพรอมรับกระแสการเปล่ียนแปลง และสามารถแขงขันไดในระยะยาวภายใตวิสัยทัศน ประเทศไทยมีเศรษฐกิจท่ีเขมแข็งเปนสังคมความรูท่ีแขงขันไดในสากล มีความม่ันคงและประชาชนมีชีวิตท่ีดี (สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ. 2547 : 46 – 49) ดังนั้น การพัฒนาเยาวชนของชาติใหมีความรูทางวิทยาศาสตร จึงเปนเร่ืองสําคัญวิชาวิทยาศาสตรจึงถูกบรรจุในหลักสูตรสถานศึกษาทุกระดับ โดยมีจุดมุงหมายท่ีจะพัฒนาผูเรียนใหมีความรู ความเขาใจในแนวคิด หลักการทางวิทยาศาสตรมีกระบวนการสืบเสาะหาความรูมีจิตวิทยาศาสตร ส่ือสารส่ิงท่ีเรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน เพื่อใหผูเรียนไดท้ังกระบวนการและองคความรู เปนการเตรียมคนใหอยูในสังคมวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีไดอยางมีประสิทธิภาพ (กรมวิชาการ. 2546 :1) แตการจัดการศึกษาดานวิทยาศาสตรก็ยังไมประสบผลสําเร็จเทาท่ีควร จากรายงานของสถาบันเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการ (I M P) พบวา ความสามารถดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีของประเทศไทย อยูในอันดับท่ี 45 จาก60 ประเทศในป พ.ศ. 2547 (วิทยากร เชียงกูล. 2549 : 21) และจากรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาของสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1 ในปการศึกษา 2548 ของกลุมโรงเรียนศูนยเครือขายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่ี 4 อําเภอเมืองนครสวรรค จํานวน 13 โรงเรียน พบวาในระดับช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิวิชาวิทยาศาสตรเฉล่ียรอยละ 43.50 โดยจําแนกสาระที่มีคะแนนเฉล่ียต่ํากวารอยละ 43.50 คือ สาระท่ี 5 พลังงานเน้ือหาวงจรไฟฟา มีคะแนนเฉล่ียรอย 40.48 อีกท้ังยังพบวาคุณภาพผูเรียน มาตรฐานท่ี 5 ดานความสามารถส่ือความคิด ผานการพูด เขียนหรือนําเสนอดวยวิธีการตาง ๆ อยูในระดับพอใชและตองปรับปรุง ซ่ึงนับวาตํ่ามากเชนเดียวกัน (สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1. 2548 : 18 -30) นอกจากนี้ยังพบวาผูเรียนขาดความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรอีกดวย (จําเรียง ไซฉาย. 2548 : 2)

จากผลการประเมินคุณภาพนักเรียนดังกลาวแสดงใหเห็นวา การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตรยังเปนปญหาสําหรับครูผูสอนอยู ท้ังนี้เนื่องมาจากการเรียนการสอนวิทยาศาสตรสวนใหญไมฝกใหนักเรียนไดคิดอยางเปนเหตุเปนผล ไดฝกทดลองตามกระบวนการคนควาทางวิทยาศาสตร รวมทั้งไมมีการสงเสริมใหผูเรียนไดแสดงออกเกี่ยวกับการนําเสนอผลงานดานวิทยาศาสตรท่ีคนควาได (ศักรินทร ภมิูรัตน. 2547 : 33) การจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถดานวิทยาศาสตรของผูเรียน จึงควรเนนใหผูเรียนไดเปนผูคิด ลงมือปฏิบัติศึกษาคนควาอยางมีระบบดวยกิจกรรมท่ีหลากหลาย นักเรียนมีสวน

Page 44: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

40

รวมโดยตรงในกิจกรรมการเรียนการสอน ซ่ึงการสอนแบบสืบเสาะหาความรูเปนการสอนวิธีหนึ่ง ท่ีสงเสริมใหผูเรียนไดคนหาความรูดวยตนเองดังท่ี ภพ เลาหไพบูลย (2542 : 123) และ วิชาญ เลิศลพ (2543

: 14)ไดกลาววาไวใกลเคียงกันวา การสอนแบบสืบเสาะหาความรู เปนการสอนท่ีเนนกระบวนการแสวงหาความรูใหผูเรียนไดรับประสบการณตรง คนควาหาความรู คนพบความจริงตาง ๆ ดวยตนเอง นอกจากนี้แลวการใชแผนผังมโนทัศนในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตรยังเปนกิจกรรม ท่ีผูเรียนไดใชกระบวนการคิด สรางองคความรู การสรุปและนําเสนอแนวคิดหลักของตนเองซ่ึง สอดคลองกับคํากลาวของสถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (2546 : 40 -46) และ ลออ อางนานนท (2542 : 10) ท่ีกลาววาแผนผังมโนทัศนจะชวยใหผูเรียนเกิดความเขาใจเร่ืองท่ีเรียน สรุปส่ิงท่ีเรียนรูไดเปนอยางดี เพื่อเปนการแกปญหาและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร ในระดับช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึนผูวิจัยจึงเลือกเนื้อหาเร่ือง วงจรไฟฟา ซ่ึงนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรเฉล่ียตํ่ากวารอยละ 43.50 อยูในระดับท่ีไมนาพึงพอใจ และนักเรียนขาดความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรของนักเรียน ผูวิจัยจึงสนใจท่ีจะศึกษาผลการใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ในการพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรและความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรของนักเรียนใหสูงข้ึน

จุดมุงหมายของการวิจัย

ในการวิจัยคร้ังนี้ผูวิจยักําหนดจุดมุงหมายของการวิจยัไวดังนี ้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน

ช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู 2. เพื่อศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ท่ีมีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3. เพื่อศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ท่ีมีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

Page 45: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

41

สมมติฐานการวิจัย

ในการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยไดต้ังสมมติฐาน ดังนี ้ 1. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียน สูงกวากอนเรียน

2. นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนผานเกณฑ รอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

3. นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

ผูวิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกีย่วของ นํามาเปนกรอบความคิดในการวจิัย สรุปโดยยอ ดังนี ้ - ทฤษฎีจิตวิทยา ในเรื่องการพัฒนาทางสมองของเพียเจต (วิชาญ เลิพลพ.2543 : 14) กลาววาคนมีกระบวนการคิดเปน 2 ประการคือ การปรับตัวและจัดระบบโครงสราง การจัดระบบโครงสรางภายในสมองเปนการจัดโดยรวมกระบวนการตาง ๆ เขาเปนระบบ การปรับตัวเปนการปรับตัวเขากับส่ิงแวดลอมโดยมี 2 ข้ัน คือ ข้ันเราใหนักเรียนนําความรูเดิมมาใชเปนแนวทางในการคิดและข้ันปรับปรุงความรูเดิมใหสัมพันธกับความรูใหม - ทฤษฎีการเรียนรูอยางมีความหมายของ ออซูเบล (กําพล ดํารงวงศ.2540 : 65 – 66) กลาววา การเรียนรูอยางมีความหมายจะเกิดข้ึนเม่ือความรูใหมเช่ือมโยงกับโครงสรางความรูเดิมท่ีมีอยูในสมอง ความรูเดิมนี้อยูในโครงสรางของความรูซ่ึงเปนขอมูลท่ีสะสมอยูในสมองและมีการจัดระบบไวเปนอยางดี มีการเช่ือมโยงระหวางความรูเดิมกับความรูใหมอยางมีระดับข้ัน ทําใหเกิดการเรียนรูไดอยางเขาใจ

- การนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร เปนกิจกรรมสําคัญท่ีใหผูเรียนไดแสดงความรูความคิดและกระบวนการเรียนรู ท่ีไดจากการศึกษาคนควา แสวงหาความรู การฝกปฏิบัติจากการทดลองเพ่ือส่ือสารและส่ือความหมายใหผูอ่ืนไดรับรูในรูปแบบตาง ๆ (สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. 2546 :112)

Page 46: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

42

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยทดลองเบ้ืองตน (Pre-experimental research) ใชแผนแบบการวิจัยกลุมเดียว สอบกอนและหลังการทดลอง (One Group Pretest–posttest Design) โดยมีรายละเอียดการดําเนินการโดยสังเขป ดังนี้ ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากรในการวิจัยคร้ังนี้ ไดแกนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 กลุมโรงเรียนศูนยเครือขายพัฒนาคุณภาพการศกึษาท่ี 4 อําเภอเมืองนครสวรรค สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1 กลุมตัวอยางท่ีใชในการวิจัยในคร้ังนี้ เปนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีกําลังเรียนในภาคเรียน

ท่ี 2 ปการศึกษา 2550 ของโรงเรียนชุมชนวัดบานแกง อําเภอเมืองนครสวรรค สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1 จํานวน 1 หองเรียน จํานวนนักเรียน 32 คน ไดมาจากการสุมตัวอยางดวยวิธีสุมอยางงาย

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยมี 3 ฉบับ ดังนี ้ 1. แผนการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู จํานวน 5 แผน มีคุณภาพเหมาะสมมากท่ีสุด มีคาเฉล่ีย 4.58 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 ข้ันการสอนมี 5 ข้ัน ดังนี้1) ข้ันสรางความสนใจ 2) ข้ันสํารวจและคนหา 3) ข้ันอธิบายและลงขอสรุป ประกอบการใชแผนผังมโนทัศน 4) ข้ันขยายความรู 5) ข้ันประเมิน

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร เร่ืองวงจรไฟฟา เปนแบบทดสอบปรนยัชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ขอ คะแนนเต็ม 40 คะแนน ซ่ึงมีคาดัชนีความสอดคลองระหวางขอสอบกับจุดประสงคการเรียนรูเทากับ 1.00 คาความยากงายอยูระหวาง 0.21 – 0.79 คาอํานาจจําแนกอยูระหวาง 0.25 – 0.83 และคาความเท่ียงเทากับ 0.79

3. แบบประเมินความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรเปนแบบมาตรฐานสวนประมาณคาจํานวน 16 ขอ มีคุณภาพอยูในระดับเหมาะสมมาก มีคาเฉล่ีย 4.40 สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน 0.66 และคาความเท่ียงเทากับ 0.78

การเก็บรวบรวมขอมูล

การวิจยัคร้ังนีผู้วิจัยมีข้ันตอนในการเก็บรวบรวมขอมูล ดังนี ้ 1. ทดสอบกอนเรียนกับนักเรียนกลุมตัวอยาง โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร จํานวน 40 ขอ นํามาตรวจใหคะแนนและบันทึกไวเปนคะแนนการสอบกอนเรียน ในวันท่ี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สําหรับวิเคราะหขอมูล

Page 47: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

43

2. ดําเนินการทดลองสอนกับนักเรียนกลุมตัวอยางเปนเวลา 5 สัปดาห รวม 16 ช่ัวโมง ต้ังแตวันท่ี 2 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันท่ี 6 ธันวาคม 2550 บันทึกคะแนนความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรของแตละกลุม ในแตละแผนการสอนไวเปนคะแนนความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร หาคาเฉล่ียนํามาวิเคราะหขอมูลโดยใชวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการวิจัย

3. ทดสอบหลังเรียนกับนักเรียนกลุมตัวอยาง โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร จํานวน 40 ขอ ฉบับเดียวกับแบบทดสอบกอนเรียน นํามาตรวจใหคะแนน บันทึกผลไว เปนคะแนนหลังเรียน นํามาวิเคราะหขอมูลโดยใชวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการวิจัย

การวิเคราะหขอมูล และสถิติท่ีใช ในการวิเคราะหขอมูลผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูลและเลือกใชสถิติ ดังนี ้ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู โดยใชการทดสอบคาที กรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน ปรากฎผลดังแสดงในตาราง

แหลงขอมูล N X S.D. t กอนเรียน หลังเรยีน

32 32

12.66 30.25

4.37 5.67

22.16*

* มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ ( )( )697.105. 05,.31 =t

2. ศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูท่ีมีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม โดยนับจํานวนนักเรียนท่ีทําคะแนนไดรอยละ 75 และทําคะแนนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็มโดยใชการทดสอบไค-สแควร ปรากฏผลดังแสดงในตาราง

จํานวนนักเรียน จํานวนนักเรียนท่ีผานเกณฑ

รอยละ 75 จํานวนนักเรียนท่ีไมผาน

เกณฑรอยละ 75 χ2

จากการทดลอง ตามสมมติฐาน

26 24

6 8

0.67

Page 48: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

44

3. ศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู ท่ีมีคะแนนความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม โดยนับจํานวนนักเรียนท่ีทําคะแนนไดรอยละ 75 และทําคะแนนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม โดยใชการทดสอบไค-สแควร ปรากฏผลดังนี ้

จํานวนนักเรียน จํานวนนักเรียนท่ีผานเกณฑ

รอยละ 75 จํานวนนักเรียนท่ีไมผาน

เกณฑรอยละ 75 χ2

จากการทดลอง ตามสมมติฐาน

28 24

4 8

2.67

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยคร้ังนี้พบวา 1. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 เปนไปตามสมมติฐานขอ 1 ท่ีต้ังไว 2. นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนผานเกณฑ รอยละ 75 ของคะแนนเต็ม เปนไปตามสมมติฐานขอ 2 ท่ีต้ังไว 3. นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมด ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม เปนไปตามสมมติฐานขอ 3 ท่ีต้ังไว

อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจยัคร้ังนี้สามารถนํามาอภิปรายผลได ดังนี ้ 1. จากผลการวิจัยท่ีพบวา นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 การไดผลการวิจัยดังกลาวเปนเพราะการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีกิจกรรมท่ีสรางความสนใจใหเกิดข้ึนในตัวผูเรียน ทําใหผูเรียนอยากศึกษาคนควา แสวงหาความรูไดลงมือปฏิบัติคนพบคําตอบดวยตนเองทีละข้ันตอน โดยมีแผนผังมโนทัศนเปนเคร่ืองมือชวยในการเรียนรู ทําความเขาใจส่ิงท่ีเรียนไดอยางมีระบบ โดยมีแนวคิดและทฤษฎี ท่ีเปนพื้นฐานของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู คือทฤษฎี จิตวิทยาการพัฒนาทางสมองของ เพียเจต ท่ีกลาววาการเรียนรูจะเกิดข้ึนได เม่ือมีการปฏิสัมพันธกับส่ิงแวดลอม ฝกปฏิบัติจริง

Page 49: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

45

การเราใหนักเรียนนําความรูเดิมมาใชเปนแนวทางในการคิดและปรับปรุงความรูเดิมใหสัมพันธกับความรูใหมนอกจากนี้มีแนวคิด และทฤษฎีท่ีเปนพื้นฐานของการสรางแผนผังมโนทัศน คือทฤษฎีการเรียนรูอยางมีความหมายของออซูเบล ท่ีกลาววาการเรียนรูอยางมีความหมายจะเกิดข้ึน เม่ือความรูใหมสัมพันธกับความรูเดิม มีการเช่ือมโยงอยางมีระดับข้ันและมีระบบดวยเหตุผลนี้จึงทําใหนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียนสอดคลองกับงานวิจัย ของ มนมนัส สุดส้ิน (2543) และลําดวน โสตา (2545) ท่ีพบวาการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนจะทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนสูงข้ึน 2. จากผลการวิจัยท่ีพบวานักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม เปนเพราะนักเรียนไดผานข้ันตอนการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูอยางเปนลําดับข้ัน นักเรียนแตละคนไดลงมือปฏิบัติจริง ไดรวมกิจกรรมทํางานกลุมอยางท่ัวถึง มีการชวยเหลือใหคําแนะนําซ่ึงกันและกัน สอดคลองกับแนวคิดของ ภพ เลาหไพบูลย (2542 : 69 – 70) ท่ีกลาวถึงการนําทฤษฎีพัฒนาการทางสติปญญาของ เพียเจต มาใชในการเรียนการสอนวา นักเรียนท่ีมีระดับสติปญญาท่ีแตกตางกันและทํางานรวมกัน มีปฏิสัมพันธกันเปนการพัฒนาสติปญญาใหสูงข้ึนและนักเรียนไดนําขอสรุป มาสรางแผนผังมโนทัศน แผนผังมโนทัศนจะชวยใหนักเรียนทบทวนเนื้อหาไดอยางรวดเร็วและระลึกถึงส่ิงท่ีเรียนไปแลวไดเปนอยางดี สอดคลองกับคํากลาวของ สมาน ลอยฟา (2545 : 5) ท่ีกลาววาแผนผังมโนทัศนชวยใหนักเรียนเห็นขอมูลเกี่ยวกับเร่ืองนั้นท้ังหมด จดจําไดงายและชวยเพิ่มประสิทธิภาพดานความจําไดดวยเหตุผลนี้จึงทําใหนักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร หลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

3. จากผลการวิจัยท่ีพบวา นักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม เปนเพราะในขณะท่ีนักเรียนปฏิบัติงานกลุมจะมีการอภิปราย กอนทุกคร้ังในหัวขอตาง ๆ ท่ีเปนสวนหนึ่งของการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร และเม่ือมีการนําเสนอผลงานในแตละคร้ังนักเรียนจะบันทึกขอบกพรองในแตละดานเพื่อนําไปปรับปรุงแกไข และพัฒนาความสามารถในการนําเสนอผลงานในคร้ังตอไปใหดีข้ึน นอกจากนี้นักเรียนไดนํากระบวนการคิดอยางเปนระบบ จากการสรางแผนผังมโนทัศน มาจัดระบบวางแผนการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรซ่ึงสอดคลองกับแนวคิดของ ฮัลท (1682:42) และโนแวค (1984 : 41-54) ท่ีกลาววาแผนผังมโนทัศนเปนแนวทางในการกําหนดประเด็นท่ีจะอภิปราย และวางแผนการเขียนรายงาน ดวยเหตุผลนี้จึง

Page 50: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

46

ทําใหนักเรียนจํานวนรอยละ 75 ของนักเรียนท้ังหมดท่ีไดรับการสอน โดยใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู มีความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

ขอเสนอแนะ

จากการวิจัยคร้ังนี้ผูวิจัยมีขอเสนอแนะ ดังนี้ 1. สําหรับครูผูสอน การทํากิจกรรมการเรียนการสอนไปใชใหมีประสิทธิภาพ ครูควรเลือกสถานการณ ท่ีนาสงสัย สอดคลองกับเนื้อหา จัดเตรียมอุปกรณใหมากกวาใชจริงเพราะจะมีบางกลุมตองการเพิ่มเติม นักเรียนทุกคนควรไดรับการสอนในเร่ืองมโนทัศน และการสรางแผนผังมโนทัศนกอน จึงใชข้ันตอนการสอนตามลําดับของการสอนโดยการใชแผนผังมโนทัศนประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู 2. สําหรับผูบริหารโรงเรียน ควรสงเสริมและสนับสนุนใหครูสายผูสอน ไดทดลองใช และเผยแพรอบรมครูใหนําไปใชใหเกิดประโยชน ตอการเรียนการสอนวิทยาศาสตร 3. สําหรับนักเรียนท่ีไมผานเกณฑครูควรสอนซอมเสริมใหทํากิจกรรมเพิ่มเติม และใหการเสริมแรงเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง

********************

Page 51: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

47

รายการอางอิง

กําพล ดํารงวงศ. (2540). การพัฒนาแบบจําลองคอมพิวเตอรชวยสอนแบบอัจฉริยะเพื่อสอนการสราง

ผังมโนทัศน. วิทยานิพนธปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรคเขต 1, สํานักงาน. (2548). สรุปรายงานผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา

โรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1 ปการศึกษา 2548. นครสวรรค : ม.ป.ท.

จําเรียง ไซฉาย. (2548). ผลการสอนวิชาวิทยาศาสตรโดยใชแผนผังมโนมติท่ีมีตอผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความสามารถในการนําเสนอผลงานทางวิทยาศาสตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 2. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.

ดารุณี เช้ือเจ็ดตน. (2540). ความสามารถในการใชส่ือความหมายขอมูลทางวิทยาศาสตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนแบบสืบเสาะหาความรูท่ีเนนยุทธวิธีวงจรการเรียนรู. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ภพ เลาหไพบูลย. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. มนมนัส สุดส้ิน. (2543). การศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางวิทยาศาสตรและความสามารถในดาน การคิดวิเคราะห

วิจารณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนแบบสืบเสาะหาความรูประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครรินทร

วิโรฒ ประสานมิตร. ลออ อางนานนท. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนความคิดสรางสรรคกลุมสรางเสริม

ประสบการณชีวิตเร่ือง ส่ิงแวดลอมทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนโดยใชแผนผังมโนทัศน. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรี

นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ลําดวน โสตา. (2545). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตรชั้น มัธยมศึกษาปท่ี1 โดยใช

รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรูรวมกับการใชแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. ขอนแกน : มหาวิทยาลัยขอนแกน.

วิชาการ, กรม. (2546). การจัดสาระการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตรตามหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.

วิชาญ เลิศลพ. (2543). การเปรียบเทียบผลการเรียนรูโดยวิธีการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู รูปแบบ สสวท.และรูปแบบการผสมผสานระหวางวัฏจักรการเรียนรูกับสสวท. วิทยานิพนธปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Page 52: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

48

วิทยากร เชียงกูล. (2549). รายงานสภาวะการศึกษาไทยป 2547/2548 รากเหงาของปญหาและแนวทางแกไข. กรุงเทพมหานคร : วีทีซีคอมมิวนิเคช่ัน.

ศักรินทร ภูมิรัตน. (2547, ตุลาคม-ธันวาคม).“ในทศวรรษหนารากฐานทางวิทยาศาสตรจะเปน เชนไร,” วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. 4 : 33.

ศิริพร ทุเครือ. (2544). ผลของการเรียนแบบรวมมือโดยใชแผนผังมโนทัศนท่ีมีตอผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู กลุมสรางเสริมประสบการณชีวิตชั้นประถมศึกษาปท่ี 4. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี,สถาบัน. (2546). คูมือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร. กรุงเทพมหานคร : สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี.

สมาน ลอยฟา. (2542, พฤษภาคม). “ การจดบันทึกดวยการใชแผนท่ีมโนทัศน,“ บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร. 17 : 5.

Ault, C. A. (1985, October). “Concept mapping as a study strategy in earth Science,” Journal of College

Science Teaching. 15 (5) : 38 – 44. Novak, J.D, and Gowin, D.B. (1984). Learning how to learn. London : Cambridge University Press.

********************

Page 53: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

49

การพัฒนาชุดการสอนวิชา ประวัติศาสตรไทย เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย สําหรับนักเรยีนชั้นประถมศึกษาปท่ี 4*

ซอนกล่ิน เพียรกสิกรรม**

ผศ.ดร.นวลศรี ชํานาญกิจ***

บทคัดยอ จุดมุงหมายของการวิจัยเพ่ือ 1) พัฒนาชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 4 ใหมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรูของนักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน ประชากรและกลุมตัวอยางในการวิจัย ประกอบดวยนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 4 กลุมโรงเรียนจตุรมิตรพัฒนาสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานครสวรรค เขต 2 กลุมตัวอยางคือนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 4 โรงเรียนไตรราษฎรอุปถัมภ ที่กําลังศึกษาอยูในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 จํานวน 17 คน ซึ่งไดมาจากการสุมตัวอยางอยางงาย เครื่องมือที่ใชในการวิจัย มี 2 ฉบับ คือ 1) ชุดการสอนวิชา ประวัติศาสตรไทย เรื่องอาณาจักรสุโขทัย สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 4 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ประวัติศาสตรไทย เปนแบบปรนัยชนิด เลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จํานวน 32 ขอ ที่มีความตรงเชิงเน้ือหา มีคาความยากงายอยูระหวาง 0.27 – 0.86 คาอํานาจจําแนกอยูระหวาง 0.20 – 0.80 และคาความเที่ยงเทากับ 0.70 วิเคราะหขอมูลดวยการหาคาประสิทธิภาพ ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกัน ผลการวิจัย พบวา

1. ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.30/81.00 เปนไปตามเกณฑ 80/80 2. ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคาดัชนีประสิทธิผล 0.60 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ประวัติศาสตรไทย ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 4 ที่ไดรับการสอนโดยใชชุด

การสอนหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน วิชาประวัติศาสตรไทย เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย มีความคงทนในการ

เรียนรู อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คําสําคัญ: ชุดการสอน/ ประวัติศาสตร/ อาณาจักรสุโขทัย *

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ.2551 **ประกอบธุรกิจสวนตัว ***ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ)

Page 54: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

50

The Development of Instructional Package in History on Sukhothai Kingdom for Prathomsuksa 4 Students.

Sonklin Pienkasikam

Asst. Prof. Dr Nuansri Chamnanki

Abstract The purposes of this research were to: 1) develop the instructional package on Sukhothai Kingdom for Prathomsuksa 4 Students with efficiency criterion 80/80, 2) study efficiency index of instructional package, 3) compare the prathomsuksa 4 students learning achievement between before learning and after learning of instructional package, and 4) study the students learning retention resulted from using history instructional package. The population in this research were 179 of the Jaturamitpattana School group in the second semester of the academic year 2007. The sample subjects were 17 prathomsuksa 4 students at Trirajouppatam School in the second semester of the academic year 2007 and were selected by using the simple random sampling method. The research instruments used in this study were 1) Instructional package in History on Sukhothai Kingdom with efficiency criterion at 80/80 , 2) 32 items of multiple choices achievement test with the difficulty at 0.27 – 0.86, the discrimination at 0.20 – 0.80 and the reliability at 0.70. The data were analyzed by computing the efficiency value, the effectiveness value, and the t-test for dependent samples. The research findings were as follows: 1. The developed instructional package was efficiency criterion at 82.30/81.00. 2. The effectiveness index of the developed instructional package was 0.60. 3. The Prathomsuksa 4 students, learning achievement towards History between before learning and after learning of instructional package was at 0.05 level of significance. 4. The students studied the instructional package of History on Sukhothai Kingdom had learning retention at 0.05 level of significance.

Keywords : Instructional package/ history/ Sukhothai Kingdom.

Page 55: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

51

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา จุดมุงหมายของหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ.2544 และพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542 เพื่อพัฒนาคนไทยใหเปนมนุษยท่ีสมบูรณท้ังรางกาย จิตใจ สติปญญา ความรูและคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรม สามารถอยูรวมกับผูอ่ืนไดอยางมีความสุข (กรมวิชาการ.2544)

วิชาประวัติศาสตร กําหนดขอบขายการเรียนรูมุงใหเขาใจวิวัฒนาการ การดําเนินชีวิตตามกาลเวลาอยางตอเนื่อง เปล่ียนแปลงไปตามยุคสมัย เร่ืองราวในอดีตทําใหเกิดการเรียนรูวามนุษยในอดีตเผชิญปญหาและมีวิธีการจัดการกับปญหาอยางไร (กรมวิชาการ. 2544 : 5)

การสอนประวัติศาสตรไทย ยังไมประสบผลสําเร็จ สาเหตุสําคัญอยูท่ี กระบวนการจัดการเรียนรู (เอกวิทย ณ ถลาง. 2544 : 95) การเรียนรูประวัติศาสตร เปนเร่ืองของการแสวงหาขอเท็จจริงของเร่ืองราวหรือเหตุการณเกี่ยวของกับมนุษยท่ีเกิดข้ึนในอดีต ท้ังการกระทํา อารมณ ความคิด โดยใชเคร่ืองมือในการสืบคนรองรอยทําใหสามารถเขาใจ เหตุการณท่ีสัมพันธกับอดีต - ปจจุบัน - อนาคต ท่ีมีอิทธิพลตอวิถีการดําเนินชีวิต แยกออกเปนดานตาง ๆ ไดแก การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และความสัมพันธระหวางประเทศ โดยกําหนดขอบเขตการศึกษาในกลุมสังคมมนุษยกลุมใดกลุมหนึ่ง เชน ในทองถ่ิน ประเทศ ภูมิภาค โลก โดยมุงศึกษาวาสังคมนั้น ๆ ไดเปล่ียนแปลงหรือพัฒนาตามลําดับเวลาไดอยางไร เพราะเหตุใดเปล่ียนแปลง มีปจจัยใดบาง (กระทรวงศึกษาธิการ.2544 : 63) จากการศึกษาดานการจัดการเรียนการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย ของโรงเรียนในกลุมจตุรมิตรพัฒนา ท่ีผานมา พบวายังไมประสบผลสําเร็จเนื่องมาจากเน้ือหาของกลุมสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมีมากทําใหไมสามารถศึกษาเนื้อหาไดครบท้ังหมด และ วิชา ประวัติศาสตรไทย เปนวิชาหน่ึงท่ีผูสอนไมมีเวลาเพียงพอในการสอน ซ่ึงวัดไดจากการประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนอยูในระดับท่ียังไมนาพอใจ (สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2) และไดจากการวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน วิชา ประวัติศาสตรของไทย ของโรงเรียนไตรราษฎรอุปถัมภ ช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ในระยะ 3 ป ท่ีผานมานักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางลดตํ่าลง ดังนั้นจึงควรจัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนใหสูงข้ึน

ดังนั้น การดําเนินการสอนของครูเพื่อใหบรรลุตามจุดประสงคการเรียนรูจึงตองมีการพัฒนาการเรียนการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย ใหมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน ซ่ึงส่ิงท่ีจะชวยใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน คือ การจัดการเรียน การสอนโดยใชชุดการสอน เพราะชุดการสอนเปนส่ือการสอนท่ีผลิตข้ึนในรูปแบบของส่ือประสม โดยจัดไวเปนชุด อยางเปนระบบสะดวกตอการนําไปใช ดังท่ีบุญเกื้อ ควรหาเวช (2542 : 91) กลาวไววา ชุดการสอนเปนส่ือทางการศึกษาอยางหน่ึงท่ีจะชวยใหเกิดการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการเรียนรูของนักเรียนใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ สรางความเขาใจในเนื้อหา

Page 56: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

52

ทําใหไดพัฒนาสติปญญา ความคิดท่ีเกิดจากนักเรียนไดปฏิบัติตามกิจกรรม โดยใชกระบวนการกลุม โดยมีครูเปนผูชวยเหลือ คอยช้ีแนะ จึงสามารถกลาวไดวาชุดการสอนมีประโยชนตอการเรียนการสอนอยางมาก เพราะเปนส่ือการสอนท่ีผลิตข้ึนในรูปแบบของส่ือประสมจัดไวเปนชุดอยางเปนระบบ มีความสัมพันธกับจุดมุงหมายการเรียนรู สอดคลองกับเนื้อหาวิชาและกิจกรรมการเรียน มีส่ือการสอนท่ีหลากหลายเปดโอกาสใหผูเรียนไดเรียนรูดวยตนเอง สามารถเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการเรียนรูของผูเรียน และชวยใหผูสอนไดรับความสะดวกมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอน ชวยใหผูเรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนและมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน สอดคลองกับงานวิจัยของเยาวรัตน โพธ์ิทอง (2542) พรทิพย ศักดิ์สิทธ์ิ ประสม (2544) นิตยา บัวพงษ (2546) ศักดิ์ศรี แสงศรี (2546) พบวาชุดการสอนท่ีมีประสิทธิภาพตามเกณฑมาตรฐานจะชวยใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนสูงข้ึน

จุดมุงหมายของการวิจัย

การวิจยัในคร้ังนี้มีจุดมุงหมายเพื่อ

1. พัฒนาชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ใหมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80

2. หาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนท่ีพัฒนาข้ึน

3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกอนเรียนและหลังเรียน วิชา ประวัติศาสตรไทย ของนักเรียน

ช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน

4. ศึกษาความคงทนในการเรียนรูของนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน

สมมติฐานการวิจัย 1. ชุดการสอนวิชาประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ท่ีพัฒนาข้ึน มีประสิทธิภาพเปนไปตามเกณฑมาตรฐานท่ีกําหนด

2. ชุดการสอนวิชาประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ท่ีพัฒนาข้ึน มีคาดัชนีประสิทธิผลไมนอยกวา 0.5

3. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน

4. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน มีความคงทนในการเรียนรู

Page 57: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

53

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ ผูวิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกีย่วของ นํามาเปนกรอบความคิดในการวจิัย โดยสรุปดังนี ้ - การเชื่อมโยงการเรียนรูของธอรนไดท (Thorndike’s Connectionism Theory) กลาววาการเรียนรูข้ึนอยูกับผลของพฤติกรรม จะทําส่ิงใดไดดีตองมีการฝกหรือทําบอยๆ การใหเด็กไดทําซํ้าๆ เพื่อใหเกิดการเรียนรูจะตองเปนการกระทําท่ีไดรับผลตอบแทนหรือรางวัล การฝกหัดจะกอใหเกิดความรู การเรียนรูเปนเร่ืองของการสรางความสัมพันธท่ีตอเนื่อง การผลิตชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย คํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคลท้ังรางกาย อารมณ สังคม สติปญญา โดยใชส่ือการสอนท่ีหลากหลายลักษณะของส่ือตองไดรับผลยอนกลับทันที มุงฝกทักษะเพื่อใหเกิดการเรียนรู - การวางเงื่อนไขแบบการกระทําของสกินเนอร (Operat Conditioning Theory) กลาววาพฤติกรรมสวนใหญของมนุษยเปล่ียนแปลงไดเพราะพฤติกรรมจะถูกควบคุมดวยผล การสอนอาจไมบรรลุเปาหมายไดในคร้ังเดียว สกินเนอรแนะนําใหแบงเนื้อหาท่ีจะใชสอนใหตอเนื่องสัมพันธกันโดยใชส่ือการสอนเปนส่ือใหผูเรียนเรียนรูไดดวยตนเองกอใหเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเองหลังจากเรียนจบ

- หลักการเรียนแบบรวมมือ (Cooperative Learning) เปาหมายหลักของการเรียนแบบรวมมือ คือ การเพิ่มผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน ชวยใหนักเรียนใหความสําคัญตอการทํางานเปนทีม โดยทุกคนมีความสําคัญตอกลุมเพราะงานท่ีทํามีผลตอความสําเร็จของกลุม

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยเชิงทดลองเบื้องตน (Pre-experimental Research) โดยใชแผนแบบการวิจัยกลุมเดียวทดสอบกอน – หลัง (One Group Pretest – posttest Design) ซ่ึงมีวิธีดําเนินการวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากรที่ใชในการวิจัยคร้ังนี้เปนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 ท่ีกําลังศึกษาอยูในภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2550 จํานวน 179 คน จากกลุมโรงเรียนจตุรมิตรพัฒนา อําเภอลาดยาว สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 จํานวน 12 โรงเรียน

กลุมตัวอยางท่ีใชในการวิจัย ไดแก นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 จํานวน 17 คน จากโรงเรียนไตรราษฎรอุปถัมภ กลุมโรงเรียนจตุรมิตรพัฒนา อําเภอลาดยาว สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 ในปการศึกษา 2550 ภาคเรียนท่ี 2 โดยการสุมแบบอยางงาย (Simple Random Sampling)

ตัวแปรท่ีศึกษา ตัวแปรอิสระ ไดแก การสอนโดยใชชุดการสอน

ตัวแปรตาม มี 2 ตัวแปร ไดแก ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน วิชา ประวัติศาสตรไทย และความคงทนในการเรียนรู

Page 58: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

54

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้มี 2 ฉบับ ไดแก 1. ชุดการสอนวิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย

1.1 ลักษณะของชุดการสอนเปนชุดการสอนแบบกลุมกิจกรรมประกอบดวย 5 หนวยการเรียนรู ซ่ึงแตละหนวยมีองคประกอบ 2 สวน คือ คูมือครู และกิจกรรมสําหรับนักเรียน

1.2 การสรางชุดการสอน คือ กําหนดเนื้อหา กําหนดหนวย กําหนดหัวเร่ือง กําหนดหลักการระดับพฤติกรรม การวัดและประเมินผล เลือกและผลิตส่ือ หาประสิทธิภาพการใชชุดการสอน

1.3 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินชุดการสอนโดยผูเช่ียวชาญ จํานวน 3 คน ประเมินความเหมาะสมโดยใชแบบประเมินมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ ไดคาเฉล่ีย 4.39 สวนเบ่ียงมาตรฐาน 0.19 โดยชุดการสอนมีความเหมาะสมมาก ทดลองใชชุดการสอนโดยการทดลองรายบุคคล ทดลองกับกลุมเล็กเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน โดยชุดการสอนมีประสิทธิภาพโดยเฉล่ีย 82.30/81.00

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิ จํานวน 32 ขอ มีคาดัชนีความสอดคลองอยูระหวาง 0.67 – 1 คาความยากงายอยูระหวาง .27 - .86 คาอํานาจจําแนกอยูระหวาง .20 - .80 และคาความเท่ียงเทากับ .70 การเก็บรวบรวมขอมูล

ในการเก็บรวบรวมขอมูลผูวิจัยไดดําเนินการดังนี้ 1. ใหนักเรียนกลุมตัวอยางจํานวน 17 คน ทดสอบกอนเรียนโดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย

2. ดําเนินการทดลอง ผูวิจัยไดดําเนินการทดลองดวยตนเองในภาคเรียนท่ี 1 ปการศึกษา 2550 ใชเวลา 5 สัปดาห สัปดาหละ 3 ช่ัวโมง รวม 15 ช่ัวโมง

3. เม่ือส้ินสุดการสอนโดยใชชุดการสอนครบทุกหนวยทดสอบหลังเรียน โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนฉบับเดียวกับกอนเรียน

4. เม่ือส้ินสุดการทดลองสอนไปแลว 2 สัปดาห วัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนโดยใชแบบทดสอบฉบับเดียวกับหลังเรียน

5. นําคะแนนท่ีไดจากการทดสอบมาทดสอบความแตกตางระหวางคาเฉล่ีย

Page 59: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

55

การวิเคราะหขอมูล ผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูล ดังนี้ 1. การหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทยโดยนําคะแนนเฉล่ียจากแบบฝกหัดและแบบทดสอบประจําหนวยของทุกคนมาหาคารอยละจากคะแนนเต็มเปนคา E1 นําคะแนนเฉล่ียจากแบบทดสอบหลังเรียน เม่ือส้ินสุดการใชชุดครบทุกหนวยมาหาคารอยละจากคะแนนเต็มเปนคา E2

เปรียบเทียบ E1/E2 กับเกณฑ 80/80 ปรากฎผลดังแสดงในตาราง การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ

ชุดการสอน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย รอยละ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย รอยละ

หนวยท่ี 1 หนวยท่ี 2 หนวยท่ี 3 หนวยท่ี 4 หนวยท่ี 5

10 10 10 10 10

7.90 8.30 8.40 8.30 8.25

79.00 83.00 84.00 83.00 82.50

10 8.10 81.00

รวมเฉลีย่ 10 8.23 82.30 10 8.10 81.00

2. การหาคาดัชนีประสิทธิผล นําคะแนนเฉล่ียจากแบบทดสอบกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนทุกคนมาหาคารอยละจากคะแนนเต็ม นําคารอยละของคะแนนเต็มหลังเรียนลบดวยรอยละของคะแนนเฉล่ียกอนเรียนหารดวยรอยละของคะแนนเต็มหลังเรียนลบดวยรอยละของคะแนนเฉล่ียกอนเรียนเปรียบเทียบคาดัชนีประสิทธิผลกับเกณฑ 0.5 ปรากฎผลดังแสดงในตาราง

แหลงขอมูล คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย รอยละ ดัชนีประสิทธิผล หลังเรยีน กอนเรียน

32 32

22.65 8.82

70.78 27.56

0.60

3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกอนเรียนกับหลังเรียน โดยคะแนนกอนเรียนและหลังเรียนมาหาคาเฉล่ียของคะแนน แลวทดสอบความแตกตางของคะแนน โดยใชสถิติการทดสอบอันดับท่ีมีเคร่ืองหมายกํากับของวิลคอกซัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test) กรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน ปรากฎผลดังแสดงในตาราง

แหลงขอมูล N X T- T+ T=min(T+,T-) กอนเรียน หลังเรยีน

17 17

8.82 22.65

0 153 0*

* มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 (T(.05,17)=34)

Page 60: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

56

4. การศึกษาความคงทนในการเรียนรู นําคะแนนหลังเรียนแลว 2 สัปดาหมาเปรียบเทียบกับคะแนนเฉล่ียหลังเรียนจบทันที โดยใชสถิติทดสอบอันดับท่ีมีเคร่ืองหมายกํากับของวิลคอกซัน กรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed –Ranks Test) ปรากฎผลดังแสดงในตาราง

แหลงขอมูล N X T- T+ T=min(T+,T-) หลังเรยีนจบทันที

หลังเรยีนเรียนจบ 2 สัปดาห 17 17

22.65 22.59

-58.5 43.5 43.5

สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยคร้ังนี้สรุปไดดังนี ้ 1. ชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย ท่ีพัฒนาข้ึนสําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 ท้ังนี้เปนเพราะชุดการสอนท่ีพัฒนาข้ึนมีประสิทธิภาพ 82.30/81.00 เปนไปตามสมมติฐานขอ 1

2. ชุดการสอนท่ีพัฒนาข้ึน มีคาดัชนีประสิทธิผล 0.60 เปนไปตามสมมติฐานขอ 2

3. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนหลังจากไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 เปนไปตามสมมติฐานขอ 3

4. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนมีความคงทนในการเรียนรู เปนไปตามสมมติฐานขอ 4

อภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจยัคร้ังนี้ สามารถอภิปรายผลไดดังนี ้ 1. จากผลที่พบวาชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย มีประสิทธิภาพเฉล่ีย 82.30/81.00 เปนไปตามเกณฑ 80/80 โดยมีคาประสิทธิภาพของกระบวนการสูงกวาประสิทธิภาพของผลลัพธ อาจเนื่องจากแบบฝกหัดและแบบทดสอบประจําหนวยสอดคลองกับเนื้อหาในชุดการสอน ใชคําถามไมซํ้ากัน เพื่อวัดความรู ความเขาใจ ในการเรียนรูแตละหนวย สวนบรรยากาศในช้ันเรียน สมาชิกทุกคนในกลุมมีความสุขในการปฏิบัติกิจกรรมในชุดการสอน เพราะทุกคนมีความสําคัญตอกลุม โดยมีส่ือการสอนท่ีหลากหลาย ทุกคนปฏิบัติกิจกรรมอยางมีความสุข สนุกสนาน ทําใหหนวยท่ีมีประสิทธิภาพของกระบวนการสูงสุด คือ หนวยท่ี 3 (E1 = 84.00) ซ่ึงมีเนื้อหา เกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยมีการจัดกิจกรรมท่ีสามารถส่ือความหมาย เขาใจงาย สวนหนวยท่ีมีประสิทธิภาพของกระบวนการต่ําสุด คือหนวยท่ี 1 (E1 =

79.00) เนื่องจากเนื้อหาเร่ืองกอนการกอต้ังอาณาจักรสุโขทัย และมีช่ือของบุคคลหลายทานเขามาเกี่ยวของและมีช่ือคลายคลึงกัน ทําใหผูเรียนสับสนบาง ผลการพัฒนาชุดการสอนตามหลักทฤษฎีของธอรนไดคและสกินเนอร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรูท่ีหลายหลาก ผูเรียนไดปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเอง จากส่ืออุปกรณท่ีครูเตรียมไวใหอยางเปนระบบ ทําใหชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑท่ีกําหนดไว

Page 61: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

57

2. ผลการพัฒนาชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย มีคาดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑท่ีกําหนด 0.5 ซ่ึงชุดการสอนท่ีผูวิจัยพัฒนาข้ึนมีคาดัชนีประสิทธิผล 0.60 ซ่ึงสูงกวาเกณฑท่ีกําหนด เพราะชุดการสอนไดจัดกิจกรรมและส่ือการเรียนรูท่ีหลากหลาย มีการแลกเปล่ียนความคิดเห็นซ่ึงกันและกัน ใชกระบวนการกลุมในการแกปญหา ทําใหชุดการสอนมีคาดัชนีประสิทธิผล สูงกวาเกณฑมาตรฐานท่ีกําหนด และเพื่อสรางความม่ันใจใหกับผูท่ีจะนําชุดการสอนไปใช 3. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยการใชชุดการสอน วิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 เปนไปตามสมมุติฐานท่ีต้ังไว เนื่องมาจากชุดการสอนเปนแบบกลุมกิจกรรม เม่ือนักเรียนเขากลุมปฏิบัติกิจกรรม แลกเปล่ียนความคิดเห็น ชวยเหลือกันภายในกลุมทําใหเกิดประสบการณตรงตอผูเรียน ทําใหเขาใจในเนื้อหาท่ีเรียน ทําใหเขาใจเนื้อหาท่ีเรียน ทําใหนักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน

4. จากการศึกษาความคงทนในการเรียนรูของนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนวิชา ประวัติศาสตรไทย เร่ือง อาณาจักรสุโขทัย พบวา นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู เพราะมีการจัดกิจกรรมอยางเปนระบบ และมีส่ือการสอนท่ีหลากหลาย ทํางานเปนกลุม แลกเปล่ียนความคิดเห็น การปฏิบัติกิจกรรมชวยเสริมการจําและเกิดความคงทนในการเรียนรู ขอเสนอแนะ

จากการวิจัยคร้ังนี้ผูวิจัยมีขอเสนอแนะดังนี ้ 1. การสรางชุดการสอนในแตละหนวย เนื้อหาตองเรียงไปตามลําดับเนื้อหามีความชัดเจนและไมมากนักแตครอบคลุมเร่ืองราวท้ังหมดสามารถนําความรูท่ีไดรับไปทํากิจกรรมในแตละกิจกรรมได 2. การใชชุดการสอน ผูวิจัยตองอธิบายวิธีการใชชุดการสอนใหผูเรียนไดปฏิบัติท้ังความซ่ือสัตย ความรับผิดชอบ ใหถูกตองเหมาะสม ครูผูสอนมีหนาท่ีใหคําแนะนําและสังเกตพัฒนาการของผูเรียน

3. ควรพัฒนาชุดการสอนวิชาประวัติศาสตรไทยเร่ืองอ่ืน ๆ เพื่อสงเสริมการเรียนวิชาประวัติศาสตรไทยใหมีประสิทธิภาพสูงข้ึน

*********************

Page 62: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

58

รายการอางอิง

นิตยา บัวพงษ. (2546). การพัฒนาชุดการเรียนการสอน เร่ือง จังหวัดชัยนาท สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปท่ี 5. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค : สถาบันราชภัฏนครสวรรค.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพคร้ังท่ี 4. กรุงเทพฯ : SR Printing.

พรทิพย ศักดิ์สิทธประถม. (2544). การพัฒนาชุดการสอนเร่ืองจังหวัดนครสวรรค สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 4. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค : สถาบันราชภัฏนครสวรรค.

วิชาการ . กรม . (2548). กระทรวงศึกษาธิการ การจัดการเรียนการสอนท่ีเนนผู เ รียนเปนสําคัญ . กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

ศักดิ์ศรี แสงศรี. (2546). การพัฒนาชุดการสอน เร่ืองจังหวัดพังงา สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 4. ปริญญานิพนธปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกวิทย ณ ถลาง. (2544). การเรียนรูท่ีเหมาะสมกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : ภัคธรรศ. *********************

Page 63: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

59

การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร เรื่อง Food and Health สําหรับนักเรยีนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 5**

นฤมล คําชมภู **

รศ.ดร.พนมพร เผาเจริญ***

ดร.ประจักร รอดอาวุธ****

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีมีจุดมุงหมายเพ่ือ 1) พัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 5 2) เปรียบเทียบความสามารถในการส่ือสารกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน และ 3) ศึกษาจํานวนนักเรียนที่มีความสามารถในการส่ือสารที่ผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุมตัวอยาง เปนนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 5 จํานวน 38 คน ไดจากการสุมอยางงาย เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบดวย 1) ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร เรื่อง Food and Health ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารกอนเรียน และหลังเรียน ประกอบดวยแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จํานวน 46 ขอ ซึ่งมีคาความยากงายระหวาง .32 – .77 มีคาอํานาจจําแนกระหวาง .28 – .64 และแบบทดสอบชนิดอัตนัย จํานวน 2 ขอ ซึ่งมีคาความยากงายเทากับ .38 และ .63 มีคาอํานาจจําแนกเทากับ .41 และ .37 ผลการวิจัยพบวา 1) ชุดการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.19/79.48 2) นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน มีความสามารถในการสื่อสารหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนจํานวนรอยละ 92.10 ของจํานวนนักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนมีความสามารถในการสื่อสารผานเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็มอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คําสําคัญ: ชุดการสอน/ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร/ Food and Health

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ. 2551 **ครู คศ. 2 โรงเรียนสตรีนครสวรรค อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค *** รองศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธหลัก) **** อาจารยประจําคณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธรวม)

Page 64: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

60

The Development of the English for Communication Instructional Package Entitled Food and Health for Mathayomsuksa 5 Students

Naruemon Kumchompoo

Assoc. Prof. Dr. Panomporn Puacharearn

Dr.Prachak Rotarwut

Abstract The purposes of this research were 1) to develop the English for communication instructional package with efficiency criterion of 80/80, 2) to compare the students’ communicative competence both before and after the instructional package implementation, and 3) to study the percentage of students passing the criteria of 75% of total marks. The sample subjects were 38 Mathayomsuksa 5 students randomized with simple random sampling. The research instruments used in the study were 1) the English for communication instructional package with efficiency criterion of 80/80, and 2) the 46-item objective type of communicative competence test with difficulty value between 0.32 – 0.87 and discrimination power between 0.28-0.64, and the 2- item subjective type with difficulty value 0.38 and 0.63 and discrimination power of 0.41 and .37. The findings were as followed: 1) The instructional package had efficiency criterion of 80/80. The result of the efficiency analysis was 83.19/79.48. 2) The students’ communicative competence after learning with the instructional package was significantly higher than before learning at .05 level. 3) 92.10% of students after learning with the instructional package significantly passed the criteria at 75% of total marks at .05 level.

Keywords: instructional package/ English for communication/ Food and Health

Page 65: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

61

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา สังคมโลกในปจจุบันเปนสังคมแหงขอมูลและขาวสาร การเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีความสําคัญเปนอยางมากตอการส่ือสาร ความกาวหนาทางเทคโนโลยีทําใหประเทศตางๆ ตองติดตอส่ือสารกันในดานตาง ๆ โดยใชภาษาอังกฤษเปนส่ือกลาง นอกจากนี้ การศึกษาระดับสูง ยังตองใชตําราที่เปนภาษาอังกฤษเปนสวนใหญ ผูท่ีรูภาษาอังกฤษจึงสามารถเขาใจความคิด ทัศนคติ วัฒนธรรมของชนชาติอ่ืน และสามารถรับรูความกาวหนาทางวิทยาการ และความเคล่ือนไหวของโลกดานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอ่ืนๆ

(สุมิตรา อังควัฒนกุล. 2540 : 1) หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ระบุวาการจัดการเรียนการสอนภาษาตางประเทศมีจุดมุงหมายเพื่อพัฒนาความรูความสามารถของผูเรียนใหใชภาษาท่ีเรียนในการส่ือสารกับชาวตางประเทศไดอยางถูกตองเหมาะสม ภาษาอังกฤษมีความสําคัญในการชวยใหผูเรียนมีพื้นฐานในการศึกษาตอ และการศึกษาวิชาชีพตางๆ ผูรูภาษาอังกฤษยอมไดเปรียบสําหรับการคนควาเอกสารวิชาการที่เปนภาษาอังกฤษ (กรมวิชาการ. 2545 : 2)

จากผลการศึกษาพบวา นักเรียนโรงเรียนสตรีสตรีนครสวรรคชวงช้ันท่ี 4 (ม.4-6) ไดรับผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับดี รอยละ 36.80 ระดับพอใช รอยละ 55.60 และระดับปรับปรุงและไมผานเกณฑ โดยไดระดับ 0 ร และ มส รอยละ 8.14 (สํานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา, 2549) จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน พบวา คาเฉล่ียผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน กลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศ เทากับ 2.34 จากคะแนนเฉล่ียสูงสุดเทากับ 4 (กลุมงานติดตามประเมินผลและรายงาน โรงเรียนสตรีนครสวรรค, 2549 : 68 - 72) และผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาข้ันพื้นฐานและตัวบงช้ี มาตรฐานท่ี 5 พบวา นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษา เฉล่ียตามเกณฑในระดับปรับปรุง (ฝายวางแผนและพัฒนา โรงเรียนสตรีนครสวรรค, 2550 : 68 - 72) การที่นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอยูในระดับท่ีไมนาพึงพอใจนี้ แสดงถึงความดอยคุณภาพดานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษดวย

ปจจุบันนวัตกรรมในการสอนภาษามีหลากหลาย และวิธีสอนท่ีนาสนใจอีกวิธีหนึ่งก็คือ วิธีการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสารตามแนวทฤษฎี ESA ของฮารเมอร (Harmer, 1999 : 27-30, 64-66) ซ่ึงผูวิจัยไดใชข้ันตอนท้ัง 3 คือ ข้ันเราความสนใจ (Engage) ข้ันสอนเนื้อหาทางภาษา (Study) ข้ันกระตุนการใชภาษา(Activate) และผูวิจัยไดนําข้ันเสริมทักษะหลังเรียน (Wrap up) มากําหนดเปนข้ันตอนท่ี 4 จากคําอธิบายของอารีวรรณ เอ่ียมสะอาด (2546 : 116) และจากกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของสถาบันเอยูเอ (AUA Language Center. 2006 : 60,141) นอกจากนี้ หลักการของชุดการสอน เปนหลักการที่ใหผูเรียนมีสวนรวมในการเรียนรู การสรางบรรยากาศใหผูเรียนภูมิใจในความสําเร็จ ไดทราบผลการปฏิบัติกิจกรรมทันที การเช่ือมโยงประสบการณใหมีการตอบสนอง ลงมือปฏิบัติ และใชทักษะการแกปญหา ชุดการสอน

Page 66: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

62

จึงเปนนวัตกรรมการศึกษาท่ีจะเช่ือมโยงประสบการณของผูเรียนใหเกิดการเรียนรู โดยมีส่ือผสมท่ีผูสอนจัดเตรียมสําหรับหนวยการเรียนตามหัวขอ เพื่อใหผูเรียนไดเรียนรูท้ังดานเนื้อหา และประสบการณ มีระบบในการสรางและมีการตรวจสอบประสิทธิภาพ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537 : 13) ส่ือท่ีนํามาใชรวมกันจะชวยเสริมซ่ึงกันและกันตามลําดับข้ันในการจัดประสบการณโดยใชวิธีระบบเปนหลักสําคัญ จึงทําใหม่ันใจไดวา ชุดการสอนจะสามารถชวยใหผูเรียนไดรับความรูอยางมีประสิทธิภาพ และยังชวยใหผูสอนเกิดความม่ันใจ พรอมท่ีจะสอนอีกดวย (บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543 : 91) ผูสอนหลายคนไดทดลองใชชุดการสอนในการสอนภาษาอังกฤษ ซ่ึงพบวา การสอนโดยใชชุดการสอนชวยพัฒนาความสามารถทางภาษาของผูเรียนไดดีกวาการเรียนการสอนตามปกติ ดังเชนงานวิจัยของนวลจันทร แซเทน (2538) พชรศก คหบูรพา (2541) และประหยัด ภูมิโคกรักษ (2543) ท่ีพบวา นักเรียนท่ีไดรับการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยใชชุดการสอนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงกวานักเรียนท่ีไดรับการสอนตามปกติ และจากงานวิจัยของสมใจ ถิระนันท (2544) พบวา นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกวากอนเรียน และ นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน สอดคลองกับงานวิจัยของภานุพันธ ภักดี (2550) ท่ีพบวา นักเรียนท่ีไดรับการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยใชชุดการสอน มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาอังกฤษและเจตคติตอการเรียนหลังเรียนดีกวากอนเรียน ผูวิจัยจึงไดนําแนวคิดและผลการวิจัยขางตน มาพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร เร่ือง Food and Health สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 5 โดยเช่ือวา การจัดประสบการณโดยใชชุดการสอนดังกลาว จะสามารถสงเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารใหมีประสิทธิภาพมากข้ึน

จุดมุงหมายของการวิจัย การวิจยัในคร้ังนี้ มีจุดมุงหมาย ดังนี ้ 1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 5 ใหมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80

2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการส่ือสารกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน

3. เพื่อศึกษาจํานวนนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน ท่ีความสามารถในการสื่อสารผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม

Page 67: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

63

สมมุติฐานของการวิจัย

การวิจยัคร้ังนี้ ผูวิจัยไดต้ังสมมุติฐานของการวิจัย ไวดงันี ้ 1. ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร เร่ือง Food and Health มีประสิทธิภาพตามเกณฑ80/80

2. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน มีความสามารถในการสื่อสารหลังเรียนสูงกวากอนเรียน

3. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนท่ีผูวิจัยพฒันาข้ึน รอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด มีความสามารถในการส่ือสารสูงกวา หรือเทากับเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม

กรอบแนวคิด และทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

กรอบแนวคิด และทฤษฎีท่ีเกี่ยวของกับการพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร มีดังนี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู ไดแก -ทฤษฎีการเรียนรูจากการวางเง่ือนไขของ สกินเนอร (Skinner) ท่ีเกี่ยวกับตัวกระตุนใหเกิดการเรียนรู และการเสริมแรง -ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปญญาของเพียเจต (Piaget) ท่ีเนนการจัดประสบการณใหผูเรียนไดเรียนรูอยางเหมาะสม

-ทฤษฎีพัฒนาการของบรูเนอร (Bruner) ท่ีเนนใหผูเรียนปฏิบัติและคนพบคําตอบดวยตนเอง

-แนวคิดของกานเย (Gagne) ท่ีเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรูซ่ึงมีข้ันตอนท่ีเร่ิมจากการเรียกความสนใจ จนถึงข้ันถายโยงการเรียนรู -แนวคิดของบลูม (Bloom) ท่ีเปนแนวทางในการกําหนดจุดประสงคการเรียนรู และการจัดหนวยการเรียนรูจากงายไปยาก

2. หลักการสรางชุดการสอนของ ชัยยงค พรหมวงศ (2540) ท่ียึดความแตกตางระหวางบุคคล การเราความสนใจ การแจงวัตถุประสงคและประโยชนของการเรียนกอนสอน การมีสวนรวม การใหผูเรียนปฏิบัติ แลวทราบผลยอนกลับทันที การสรางบรรยากาศการเรียนท่ีดี และหลักการจัดประสบการณสําเร็จรูป

3. ข้ันตอนการสอนภาษาเพื่อการส่ือสารของฮารเมอร (Harmer) กรมวิชาการ (2546) และสถาบันสอนภาษาเอยูเอ (AUA Language Center. 2006) ท่ีเร่ิมจากข้ันเราความสนใจ จนถึงข้ันเสริมทักษะหลังเรียนท่ีเปนการสรุปบทเรียน และประเมินความรูความเขาใจ

Page 68: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

64

ระเบียบวิธีวิจัย

งานวิจัยคร้ังนี้ เปนการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 5 โรงเรียนสตรีนครสวรรค เปนการวิจัยกลุมเดียว และทดสอบกอนเรียน- หลังเรียน (one

group pretest – posttest design) มีข้ันตอนของการวิจัย ดังนี ้1. รางชุดการสอน 2. ปรับปรุงชุดการสอน

3. ทดลองใชชุดการสอน

4. หาประสิทธิภาพของชุดการสอน

ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากรที่ใชในการวิจัยคือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 5 โรงเรียนสตรีนครสวรรค สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1 ท่ีเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟง-พูด (อ40207) จํานวน 160 คน

กลุมตัวอยาง คือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 5/10 โรงเรียนสตรีนครสวรรค ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1 ท่ีเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟง-พูด (อ40207) ในภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2550 จํานวน 38 คน ซ่ึงไดจากการสุมอยางงาย (simple random sampling) โดยการจับฉลากเลือกหมายเลขหองเรียนมาเปนกลุมตัวอยางจํานวน 1 หอง

ตัวแปรท่ีศึกษา ตัวแปรอิสระ ไดแก การสอนโดยใชชุดการสอน

ตัวแปรตาม ไดแก ความสามารถในการส่ือสาร

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย มี 2 ฉบับ คือ

1. ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เร่ือง Food and Health ซ่ึงผานการประเมินความเหมาะสมจากผูเช่ียวชาญวา มีความเหมาะสมมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 มีสวนประกอบ 3 สวน คือ 1) คูมือครูและแผนการสอน 2) เนื้อหาและส่ือ และ 3) เคร่ืองมือประเมินผล

2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสาร ใชทดสอบกอนเรียนและหลังเรียน มี 2 แบบ คือ 1) แบบเขียนในกระดาษคําตอบ (Paper-pencil Test) วัดความสามารถในการฟง เกี่ยวกับอาหาร และสุขภาพ เปนชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จํานวน 46 ขอ มีความตรงเชิงเนื้อหาดวยการหาคาดัชนีความสอดคลอง (IOC) เทากับ 1 ทุกขอ คัดเลือกไว 20 ขอ มีคาความยากงายอยูระหวาง .32 – .77 มีคาอํานาจจําแนกอยูระหวาง .28 – .64 ใชเกณฑการใหคะแนน 1 เม่ือตอบถูก และให 0 เม่ือตอบผิด หรือไมตอบ

Page 69: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

65

2) แบบทดสอบปากเปลา (Oral Test) วัดความสามารถในการพูด จํานวน 2 ขอ มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยตรวจสอบจากคาดัชนีความสอดคลอง (IOC) เทากับ 1 ทุกขอ มีคาความยากงายเทากับ .38 และ .63 มีคาอํานาจจําแนกเทากับ .41 – .37 ใชเกณฑการประเมินความสามารถ 4 ระดับ

การเก็บรวบรวมขอมูล

ผูวิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูล ดังนี ้ 1. ใหนักเรียนท่ีเปนกลุมตัวอยาง จํานวน 38 คน จากหองเรียน ม. 5/10 ทดสอบกอนเรียน โดยใชแบบทดสอบวัดความสามารถในการส่ือสารท่ีผูวิจัยพัฒนาข้ึน

2. ดําเนินการสอน ตามเนื้อหาท่ีกําหนดในชุดการสอน จํานวน 5 หนวย คือ 1) Fast Food 2) The

Coldest Fast Food 3) Cooking Instructions 4) Personal Habits และ 5) Health Problems ใชเวลา 6 สัปดาห คือ ต้ังแตวันท่ี 13 พฤศจิกายน 2550 ถึง วันท่ี 25 ธันวาคม 2550

3. ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนระหวางเรียนแตละหนวย แลวรวมคะแนนของนักเรียนทุกคนเปนคะแนนระหวางเรียนโดยใชชุดการสอน

4. ใหนักเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียน โดยใชแบบทดสอบวัดความสามารถในการส่ือสารฉบับเดียวกัน

5. ตรวจคําตอบและนําคะแนนผลการสอบมาวิเคราะห เปรียบเทียบความสามารถในการส่ือสารกอนเรียนและหลังเรียนโดยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน

การวิเคราะหขอมูล

ในการพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษ คร้ังนี้ ผูวิจยัวิเคราะหขอมูลตามลําดับ ดังนี ้ 1. หาประสิทธิภาพชุดการสอนจํานวน 5 หนวย โดยดําเนนิการ ดังนี ้ 1) นําผลรวมของคะแนนกิจกรรมของนักเรียนระหวางเรียนในแตละหนวย มาหาคาเฉลี่ย แลวคิดเปนรอยละ เปนคาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)

2) นําผลรวมของคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนมาหาคาเฉล่ีย แลวคิดเปนรอยละ เปนคาประสิทธิภาพของผลลัพธ (E2)

2. เปรียบเทียบความสามารถในการส่ือสารกอนเรียนและหลังเรียนโดยนําผลการทดสอบวัดความสามารถในการส่ือสารของนักเรียนกอนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะหความแตกตางระหวางคาเฉล่ียดวยวิธีการทดสอบที กรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกัน 3. เปรียบเทียบจํานวนนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอน ท่ีมีคะแนนความสามารถในการส่ือสาร ต้ังแตรอยละ 75 ของคะแนนเต็มข้ึนไป กับเกณฑรอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมดโดยใชการทดสอบไคสแควร

Page 70: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

66

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิเคราะหขอมูลในการวิจัยคร้ังนี้ สรุปผลการวิจัยได ดังนี ้ 1. ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร เร่ือง Food and Health มีประสิทธิภาพ 83.19/79.48 เปนไปตามเกณฑท่ีกําหนด 80/80

2. ความสามารถในการส่ือสารของนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

3. นักเรียนรอยละ 92.10 ของจํานวนนักเรียนท้ังหมดจากกลุมตัวอยาง มีความสามารถในการส่ือสารสูงกวาเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็มอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

อภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจยั สามารถนํามาอภิปรายผลไดดังนี ้ 1. ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร เร่ือง Food and Health มีประสิทธิภาพ 83.19/79.48 เปนไปตามเกณฑท่ีกําหนด 80/80 เนื่องจากผูสอนไดวางแผน การจัดเตรียมประสบการณใหแกผูเรียนอยางเปนระบบ นอกจากน้ี การไดบูรณาการเนื้อหา ทักษะและคุณลักษณะของผูเรียนภายในชุดการสอนนับวาเปนการสอนภาษาแบบองครวม การสรางชุดการสอนประกอบการสอนของครูคร้ังนี้มีเกณฑมาตรฐานท่ีกําหนดไว จึงชวยใหผูสอนมีเปาหมายท่ีชัดเจนในการสอนใหผูเรียนมีคุณภาพตามเกณฑท่ีกําหนด

2. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนมีความสามารถในการส่ือสารหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญท่ีระดับ .05 เนื่องจากผูสอนไดใชข้ันตอนการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารแบบ

ESA (Engage, Study and Activate) ตามแนวคิดของฮารเมอร (Harmer. 1999) ซ่ึงจะเร่ิมจากการสรางความพรอมดานอารมณของนักเรียนไปสูการเรียนเนื้อหา มีการฝกทักษะทางภาษาในลักษณะการทํางานเด่ียว การทํากิจกรรมคู และกลุม จนเกิดความเขาใจ นักเรียนจึงมีความสามารถในการใชภาษา พรอม ๆ กับการใชทักษะการคิดและการแกปญหา นอกจากนี้ การเสริมทักษะหลังเรียนดวยข้ันตอน Wrap up ตามแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรูของสถาบันสอนภาษาเอยูเอ (AUA Language Center. 2006) ชวยในการสรุปบทเรียน การประเมินกิจกรรมการจัดกิจกรรมที่สงเสริมความแมนยํา และจากการสอนภาษาท่ีมีลักษณะทักษสัมพันธ การใหความสําคัญกับความคลองแคลว และความถูกตองของภาษาท่ีเนนการทํากิจกรรมทางภาษาท่ีใกลเคียงกับสถานการณจริงชวยใหนักเรียนนําความรูและทักษะท่ีไดฝกไปใชไดในชีวิตจริง นอกจากน้ี การที่ผูสอนจัดกิจกรรมท่ีเหมาะสมกับวัย และความสามารถของผูเรียน เปดโอกาสใหนักเรียนไดใชภาษากับเพื่อนตามสถานการณท่ีกําหนดอยางอิสระ ชวยใหนักเรียนรูสึกสนุกและเปนอิสระ บรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีลักษณะท่ีผอนคลาย นักเรียนจึงมีความสามารถในการส่ือสารหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญ

Page 71: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

67

3. จํานวนนักเรียนรอยละ 92.10 ของนักเรียนท้ังหมด มีความสามารถในการส่ือสารสูงกวาเกณฑรอยละ 75 ของคะแนนเต็ม อยางมีนัยสําคัญ เนื่องจากนักเรียนไดรับการฝกทักษะการฟงและพูดโดยใชส่ือจริงท่ีชวยใหนักเรียนไดฟงแลวเขาใจไดงาย และนักเรียนมีความม่ันใจ และมีแรงจูงใจท่ีดีในการเรียนภาษาอังกฤษ

ขอเสนอแนะ

จากการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยมีขอเสนอแนะดังนี้ 1. ครูผูสอนควรศึกษาขอดีเดน และขอควรปรับปรุงจากบันทึกหลังการสอนแตละหนวย เพื่อเปนขอมูลสําหรับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยการนําหลักฐานการเรียนรูของนักเรียนท่ีแสดงถึงคุณภาพดานการใชภาษาอังกฤษ มาใชเปนส่ือสําหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโอกาสตอไป

และพิจารณาสาเหตุของขอบกพรองของชุดการสอน แลวทําการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการสอนใหมีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน

2. ครูผูสอนควรจัดทําชุดการสอนท่ีมีหัวขอเร่ืองท่ีเกี่ยวกับชีวิตและสังคมของนักเรียน เพื่อใหการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมีความหมาย และคุณคาสําหรับการดํารงชีวิต

3. กลุมบริหารวิชาการของสถานศึกษาควรสนับสนุนใหมีการอบรม เร่ือง ชุดการสอน ไวในหลักสูตรการอบรมดวย

4. ควรมีการศึกษาผลของการพัฒนาชุดการสอนในหัวขอเร่ือง Food and Health ท่ีมีตอความสามารถในการใชภาษาท้ัง 4 ทักษะ ไดแก การฟง การพูด การอาน และการเขียน

5. ควรมีการเปรียบเทียบความสามารถในการส่ือสารของนักเรียนท่ีเรียนโดยใชชุดการสอน กับความสามารถในการส่ือสารของนักเรียนท่ีเรียนโดยวิธีการสอนอ่ืน ๆ

********************

รายการอางอิง

ชัยยงค พรหมวงศ. (2540). “การสอนในฐานะวิทยาการ,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วิทยาการการสอน หนวยท่ี 1-7หนา 36-38. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นวลจันทร แซเทน. (2538). การเปรียบเทียบความสามารถในการใชภาษาอังกฤษและความรับผิดชอบในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 1 ท่ีไดรับการสอนโดยใชชุดการสอนแบบศูนยการเรียน กับการสอนตามคูมือครู. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : อารเอสอารพร้ินต้ิง.

Page 72: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

68

ประหยัด ภูมิโคกรักษ. (2543). การพัฒนาชุดการสอนมินิคอรส วิชาการอานภาษาอังกฤษธุรกิจท่ียึดการสอนแบบมุงประสบการณภาษาเปนหลัก เพื่อเสริมสรางความสามารถและเจตคติตอการอานและการเขียนภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏ. ปริญญานิพนธดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พชรศก คหบูรพา. (2541). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีเรียนจากชุดการสอนแบบกลุมกิจกรรมระหวางการแบงกลุมแบบสมัครใจกับการแบงกลุมแบบสุม. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภานุพันธ ภักดี. (2550). การพัฒนาชุดการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 5 โรงเรียนบานไรวิทยา อําเภอบานไร จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.

________. (2546). การจัดสาระการเรียนรู กลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.

สตรีนครสวรรค. โรงเรียน. (2549). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปการศึกษา 2548. นครสวรรค : ฝายวางแผนและพัฒนา โรงเรียนสตรีนครสวรรค.

________. (2550). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปการศึกษา 2549. นครสวรรค : ฝายวางแผนและพัฒนา โรงเรียนสตรีนครสวรรค.

สมใจ ถิระนันท. (2544). การสรางชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2537). เทคโนโลยีและสื่อการสอน หนวยท่ี 5 – 8. นนทบุรี : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมิตรา อังควัฒนกุล. (2540). การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. อารีวรรณ เ อ่ียมสะอาด. (2546). คูมือการพัฒนาหลักสูตร กลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศ

(ภาษาอังกฤษ) ชวงชั้นท่ี 3 (ม.1 – ม.3) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุค พอยท.

Harmer, J. (1999). How to teach English. Malaysia : Addison Wesley Longman. Teacher Education Department AUA Language Center. (2006, October). “Teaching for Tomorrow :

Preparing for Change,”. The 38th Annual AUA/ MOE Seminar for Thai Teachers of English. 2006 : 60, 141.

********************

Page 73: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

69

ผลการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีตอคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค และความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 5*

พรทิวา ชางปลิว**

ผศ.ดร.นวลศรี ชํานาญกิจ***

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีมีจุดมุงหมายเพ่ือศึกษาผลการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ที่มีตอคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค และความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 5 กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยเปนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 5 จํานวน 22 คน ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดดอนใหญ อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค ซึ่งไดมาจากการสุมตัวอยางแบบอยางงาย เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งน้ี ไดแก 1) แผนการจัดการเรียนรูที่ผานการตรวจสอบคุณภาพ โดยผูเช่ียวชาญ 3 คน 2) แบบทดสอบวัดคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค เปนแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 15 ขอ คาความยากงาย (p) อยูระหวาง 0.30 - 0.70 มีคาอํานาจจําแนก (B) ต้ังแต 0.50 ขึ้นไป และมีคาความเที่ยงเทากับ 0.52 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร เปนแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 15 ขอ คาความยากงาย (p) อยูระหวาง 0.30 - 0.70 มีคาอํานาจจําแนก (B) ต้ังแต 0.50 ขึ้นไป และมีคาความเที่ยงเทากับ 0.52 การวิเคราะหขอมูลใชการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกันและการทดสอบไค-สแควร ผลการวิจัยพบวา 1. นักเรียนที่ไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่มีคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค ผานเกณฑรอยละ 80 มีจํานวนรอยละ 81.81 ซึ่งไมตํ่ากวาเกณฑจํานวนที่คาดหวังไวรอยละ 70 4. นักเรียนที่มีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร ผานเกณฑรอยละ70 มีจํานวน รอยละ 77.27 ซึ่งไมตํ่ากวาเกณฑจํานวนที่คาดหวังไวรอยละ 70

คําสําคัญ : การสอนคณิตศาสตร/ โจทยปญหา/ การสอนแบบบูรณาการ/ คุณธรรม

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ. 2551 ** ครู คศ.3 โรงเรียนวัดดอนใหญ อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค *** ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานพินธ)

Page 74: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

70

The Effect of Mathematics Teaching Throug Ethics Integration on Desired Ethical Characteristics and Mathematics Problem Solving Ability

of Prathomsuksa 5 Students. Porntiwa Changpliw

Asst. Prof. Dr. Nuansri Chamnankit

Abstract The purposes of this research were to study the effect of Mathematics Teaching through ethics integration on desired ethical characteristics and to study Mathematics Problem Solving Ability of Prathomsuksa 5 Students. The samples were 22 Prathomsuksa 5 students studying in the first semester of 2008 acedemic year at Watdonyai School, Amphur Meaung, Nakhon Sawan Province. The samples selected by using the simple random sampling.

The instruments were 1) the lesson plan approved by 3 experts, 2) the desired ethical characteristics test having

15 items with 4 multiple choice and having the degree of difficulty between .30 – .70, degree of discrimination more than .50 and .56 of reliability. 3) the Mathematics problem solving ability test having 15 items with 4 multiple choice and having the degree of difficulty between .30 – .70, degree of discrimination more than 0.50 and 0.6352 of reliability. The data were analyzed by using the t-test for dependent samples and the Chi-square test. The research findings were as follows: 1. The students taught by Mathematics teaching through ethics integration had statistically significant at .05 level of desired ethical characteristics after learning than before learning. 2. The students taught by mathematics teaching through ethics integration had statistically significant at .05 level of Mathematics problem solving ability after learning than before learning. 3. The students having 80 percent of desired ethical characteristics were 81.81 percent that were more than the 70 percent expectation. 4. The students having 70 percent of Mathematics problem solving ability were 77.27 percent that were more than the 70 percent expectation.

Keywords: Mathematics Teaching/ Problem Solving/ Integrated Teaching/ Ethics

Page 75: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

71

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา การจัดการศึกษากําหนดใหเนนความสําคัญท้ังความรู คุณธรรม กระบวนการเรียนรู และบูรณาการตามความเหมาะสมของแตละระดับการศึกษา และในสวนของการจัดกระบวนการเรียนรู ตามหมวด 4 มาตรา 24 (4) กําหนดไววา การจัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรูดานตางๆ อยางไดสัดสวนสมดุลกัน รวมท้ังปลูกฝงคุณธรรม คานิยมท่ีดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงคไวในทุกวิชา (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. 2542 : 5,12,13) ซ่ึงจะเห็นวา การจัดการศึกษามีความสําคัญมากในการพัฒนาคนไทยใหเปนมนุษยท่ีสมบูรณท้ังรางกาย จิตใจ สติปญญา สามารถอยูรวมกับผูอ่ืนไดอยางมีความสุข ซ่ึงสอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับท่ี 9 (2545 – 2550) ท่ีตองการพัฒนาคนใหมีความสุข มีศีลธรรม มีการศึกษา มีจิตสํานึกรับผิดชอบตอสังคม มีระเบียบวินัย เห็นคุณคาของพระพุทธศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมไทย โดยเนนคนเปนศูนยกลางการพัฒนา กลาวคือ การพัฒนาคุณภาพประชาชนเปนปจจัยสําคัญในการพัฒนาประเทศ ถาพลเมืองในประเทศเปนคนท่ีมีความซ่ือสัตยสุจริต มีความรับผิดชอบตอหนาท่ี มีระเบียบวินัย มีความเอื้อเฟอเผ่ือแผ เสียสละแบงปน เห็นประโยชนสวนรวมมากกวาสวนตัว ซ่ึงหากพลเมืองในประเทศขาดการพัฒนาดังกลาวแลวก็จะสงผลใหเกิดปญหาตางๆ มากมาย วิธีการที่จะแกปญหาไดคือ การจัดการศึกษาท่ีมุงสรางคุณภาพของคน เปนการจัดการศึกษาท่ีเนนคุณธรรมจริยธรรม (กรรณิการ เนื่องจํานง. 2550 : 2) การพัฒนาผูเรียนใหเปนมนุษยท่ีสมบูรณมีคุณภาพ นอกจากเปนคนดี มีคุณธรรมแลว ก็ตองมีสติปญญา จึงจะเปนมนุษยท่ีสมบูรณมีคุณภาพอยางแทจริง ซ่ึงคณิตศาสตรเปนวิชาหน่ึงท่ีมีความสําคัญทางสติปญญา เปนเคร่ืองมือในการสราง พัฒนาและเรียนรูเทคโนโลยี เปนวิชาท่ีฝกกระบวนการคิด การแกปญหา ชวยพัฒนาศักยภาพของแตละบุคคลใหเปนคนท่ีสมบูรณ เสริมสรางความมีเหตุผล ความเปนคนชางคิด มีความคิดริเร่ิมสรางสรรค มีการวางแผนในการทํางาน (สิริพร ทิพยคง. 2543 : 15 ) แตหากการจัดการเรียนการสอนของครูท่ีมุงเนนเฉพาะความสามารถในการถายทอดเนื้อหา ไมเนนกระบวนการท่ีทําใหผูเรียนไดพัฒนาในดานการคิดวิเคราะห สังเคราะห และการแสวงหาความรูดวยตนเอง จึงเปนปญหาท่ีครูผูสอนจะตองพัฒนาปรับปรุง จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของกับการสอนแบบบูรณาการคุณธรรม เพื่อแกปญหาดังกลาวซ่ึงพบวา การศึกษาผลการสอนการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร โดยสอดแทรกคุณธรรม ดานความซ่ือสัตย สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ผลการวิจัยพบวา ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคณิตศาสตรของนักเรียนท่ีสอนโดยสอดแทรกคุณธรรมดานความซ่ือสัตยสูงกวาการสอนตามปกติ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 ดังงานวิจัยของ ปณัฏฐา ศรเดช (2544) นอกจากนี้ยังพบวา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ช้ันประถมศึกษาปท่ี 3-6 โดยกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ผลการวิจัยพบวา การ

Page 76: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

72

แกปญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนจะประสบผลสําเร็จอยางแทจริงตองอาศัยความรู ความเขาใจ ท่ีเปนศาสตรและเทคนิควิธีการท่ีหลากหลาย ซ่ึงเปนศิลปในการฝกฝนพัฒนา ท้ังนี้โดยใหทุกฝายท่ีเกี่ยวของไดรวมกันดําเนินการ และเอาใจใสอยางจริงจัง ดังงานวิจัยของวีระพงศ ถ่ินแสนดี (2550)

ผูวิจัยในฐานะท่ีเปนครูผูสอนไดตระหนักถึงความสําคัญของการจัดการศึกษาที่จะตองพัฒนาผูเรียน ใหเปนมนุษยท่ีสมบูรณ เปนคนดี มีคุณธรรม มีสติปญญา และมีความสุขในชีวิต จึงมีความมุงม่ันต้ังใจท่ีจะปรับการเรียนเปล่ียนการสอนคณิตศาสตร เนื่องจากเห็นวาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรมนั้น จะชวยใหผูเรียนไดรับโอกาสการปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเอง ไดฝกทักษะและกระบวนการในการแกปญหาทางคณิตศาสตร โดยเลือกเนื้อหาท่ีสามารถบูรณาการคุณธรรมโดยการสอดแทรกเขาไปในกิจกรรมการเรียนการสอน ซ่ึงผูเรียนสามารถนําขอคิดที่ไดนั้นไปประยุกตใชในชีวิตประจําวันไดจริง เพื่อใหผูเรียนเปนคนดี คนเกง และมีคุณธรรม นอกจากนี้ยังนําไปเปนพื้นฐานในการเรียนเนื้อหาเร่ืองอ่ืนๆ ซ่ึงจะนําผลการทดลองที่ไดมา ไปใชเปนแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตรใหมีความเหมาะสม บรรลุตามจุดมุงหมายและมาตรฐานการเรียนรู ท่ีกําหนดไวในหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

จุดมุงหมายของการวิจัย

ในการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยกําหนดจุดมุงหมายของการวิจัยไวดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงคกอนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม

2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม

3. เพื่อศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงคผานเกณฑรอยละ 80 ของคะแนนเต็ม

4. เพื่อศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตรผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม

สมมติฐานของการวิจัย จากการศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวกับการสอนแบบบูรณาการ พบวา การสอนแบบบูรณาการนอกจากจะทําใหนักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียนแลว ยังเหมาะสําหรับการจัดการเรียนการสอน ท่ีตองการเนนการปลูกฝงคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงคไดอยางมีประสิทธิภาพ ดังงานวิจัยของ ปณัฏฐา ศรเดช (2544) วีระพงศ ถ่ินแสนดี (2550) กรรณิการ เนื่องจํานงค

Page 77: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

73

(2550) คารลสัน (Carlson. 1996) และฮิลล (Hill. 2002) เพื่อสงเสริมใหนักเรียนไดเกิดการเรียนรู และเปนการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนใหมีประสิทธิผล ผูวิจัยจึงต้ังสมมุติฐานการวิจัย ไวดังนี ้ 1. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค หลังเรียนสูงกวากอนเรียน

2. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร หลังเรียนสูงกวากอนเรียน

3. จํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงครอยละ 80 ของคะแนนเต็ม มีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด

4. จํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตรรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

สําหรับการศึกษาคนควาคร้ังนี้ ผูวิจัยไดศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของกับการสอนโจทยปญหาคณิตศาสตร และการสอนแบบบูรณาการ โดยการใหนักเรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเอง ตามความสนใจ และตามศักยภาพของตนเอง (สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2547: 5-6) การมีทักษะการคิดท่ีเปนระบบตามข้ันตอนกระบวนการแกปญหาทางคณิตศาสตร 4 ข้ันตอน (Polya. 1985 :

87) และ (สสวท.2550 : (15) ) การใชทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรม เพื่อใหสามารถควบคุมตนเองใหกระทําในส่ิงท่ีถูกตอง เปนหลักชัยของการพัฒนาทางจิตใจของบุคคล ซ่ึงเปนลักษณะสําคัญของผูมีวุฒิภาวะทางดานจิตใจ และสามารถใชเปนเครื่องมือวัดระดับพัฒนาการทางจิตใจของบุคคล (Kohlberg. 1971. อางถึงใน จรัล แกวเปง. 2546 : 21) และ (Piaget. 1969. อางถึงใน จรัล แกวเปง. 2546: 20) และการมีทักษะการเช่ือมโยงความรูกับสถานการณจริงโดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนรู (สิริพัชร เจษฎาวิโรจน. 2546: 25) ซ่ึงไดนํามาประยุกตใชใหมีความเหมาะสมในการสอนโจทยปญหาคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพ ซ่ึงจะนําไปสูผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนสูงข้ึน และมีคุณลักษณะ ท่ีพึงประสงคดานคุณธรรมสูงข้ึน ผูวิจัยจึงกําหนดเปนกรอบความคิดในการวิจัย ดังแสดงเปนภาพ ดังนี้

Page 78: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

74

แนวคิด / หลักการ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

1. คุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5

การสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม

2 . คว ามสาม า รถ ในการแกปญหาทางคณิตศาสตรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5

1. การใหนักเรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเอง ตามความสนใจและตามศักยภาพของตนเอง

2. การเรียนรูจากเร่ืองใกลตัวไปหาเร่ืองไกลตัว หรือการเรียนรูจากเร่ืองท่ีเปนประสบการณจริงของนักเรียน

3. การมีทักษะการคิดท่ีเปนระบบตามข้ันตอนกระบวนการแกปญหาทางคณิตศาสตรท่ีนําแนวทางการสอนของโพลยา และสสวท.มาประยุกตใช 4. ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรม ของโคลเบอรก และเพียเจท 5 . ทักษะการ เ ช่ือมโยงความ รู กับสถ านก า รณ จ ริ ง โ ด ยสอดแท รกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนรู

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยเชิงทดลองเบ้ืองตน (Pre – experimental research) ใชแบบแผนการวิจัย กลุมเดียวทดสอบกอนเรียนและหลังเรียน (One - group pretest - posttest design) ซ่ึงมีรายละเอียด ดังนี ้ ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากร ไดแก นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ของโรงเรียนในกลุมตําบลหนองกรด อําเภอเมือง สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 1

กลุมตัวอยาง ไดแก นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีกําลังเรียนอยูในภาคเรียนท่ี 1 ปการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดดอนใหญ ตําบลหนองกรด อําเภอเมือง สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต1 1 หองเรียน จํานวน 22 คน เปนกลุมตัวอยางซ่ึงไดมาดวยการสุมตัวอยางแบบอยางงาย (Simple Random

Sampling)โดยดําเนินการสุมโรงเรียน จากโรงเรียนในกลุมตําบลหนองกรด 9 โรงเรียน ไดโรงเรียนวัดดอนใหญ ซ่ึงมีช้ันประถมศึกษาปท่ี 5 จํานวน 1 หองเรียน มีนักเรียนจํานวน 22 คน

Page 79: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

75

ตัวแปรท่ีศึกษา ตัวแปรท่ีศึกษาในการวิจัยคร้ังนี้ มีดังนี้ ตัวแปรอิสระ ไดแก การสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม

ตัวแปรตาม มี 2 ตัวแปร ไดแก 1. คุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค 2. ความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้มี 3 ฉบับ ไดแก 1. แผนการจัดการเรียนรูโจทยปญหาคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน เพื่อทดลองกับกลุมตัวอยาง จํานวน 5 แผน ซ่ึงไดผานการตรวจสอบคุณภาพโดยผูเช่ียวชาญ 3 คน พบวามีความเหมาะสมอยูในระดับมาก และ มากท่ีสุด

2. แบบทดสอบวัดคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน เปนขอสอบแบบปรนัย

ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ขอ นําไปใหผูเช่ียวชาญ 3 คน ตรวจสอบความสอดคลองของขอสอบกับคุณลักษณะดานคุณธรรม ไดคาดัชนีความสอดคลอง (IOC) เปน 0.66 – 1.00 แสดงวา แบบทดสอบมีความตรงเชิงโครงสราง เม่ือนําแบบทดสอบไปทดสอบกับนักเรียนท่ีไมใชกลุมตัวอยาง จํานวน 35 คน

ผูวิจัยไดคัดเลือกเฉพาะขอสอบท่ีมีคาความยากงาย (p) อยูระหวาง 0.30- 0.70 และคาอํานาจจําแนกบี (B) ต้ังแต 0.50 ข้ึนไป จากการกําหนดจุดตัดไวท่ี 50% ไวจํานวน 15 ขอ และเม่ือนําแบบทดสอบท่ีคัดเลือกไวไปทดสอบกับนักเรียนท่ีไมใชกลุมตัวอยาง จํานวน 35 คน ชุดเดิมแลวนําผลมาคํานวณหาคาความเท่ียงแบบอิงเกณฑ โดยใชสูตรของชรอคและคอสแครล่ี (Shrock and Coscarelli) ไดคาความเท่ียงเทากับ 0.52

3. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน เปนขอสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ขอ นําไปใหผูเช่ียวชาญ 3 คน ตรวจสอบความสอดคลองของขอสอบกับจุดประสงคการเรียนรู ไดคาดัชนีความสอดคลอง (IOC) เปน 0.66 – 1.00 แสดงวาผูเช่ียวชาญมีความคิดเห็นวา แบบทดสอบมีความความตรงเชิงโครงสราง เม่ือนําแบบทดสอบไปทดสอบกับนักเรียนท่ีไมใชกลุมตัวอยาง จํานวน 35 คน ผูวิจัยไดคัดเลือกเฉพาะขอสอบท่ีมีคาความยากงาย (p) อยูระหวาง 0.30- 0.70 และคาอํานาจจําแนกบี (B) ต้ังแต 0.50 ข้ึนไป จากการกําหนดจุดตัดไวท่ี 50% ไวจํานวน 15 ขอ และเม่ือนําแบบทดสอบท่ีคัดเลือกไวไปทดสอบกับนักเรียนท่ีไมใชกลุมตัวอยาง จํานวน 35 คนชุดเดิม แลวนําผลมาคํานวณหาคาความเท่ียงแบบอิงเกณฑ โดยใชสูตรของชรอคและคอสแครล่ี (Shrock and Coscarelli) ไดคาความเท่ียงเทากับ 0.52

Page 80: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

76

การเก็บรวบรวมขอมูล

ในการเก็บรวบรวมขอมูล ผูวิจัยไดดําเนินการ ดังนี้ 1. วัดคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค และความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน จํานวน 30 ขอ โดยผูวิจัยดําเนินการสอบเอง

2. ดําเนินการทดลองสอน โดยผูวิจัยทําการสอนเอง ใชเวลาในการสอน 4 สัปดาห รวม 13 ช่ัวโมง

3. เม่ือส้ินสุดการทดลองเสร็จเรียบรอยแลว จึงวัดคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค และความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร โดยใชแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับกอนเรียน

4. นําคะแนนหลังเรียนและกอนเรียนมาทดสอบสมมติฐาน

การวิเคราะหขอมูล

1. เปรียบเทียบคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงคกอนเรียนและหลังเรียน กระทําโดยนําคะแนนท่ีไดจากการสอบมาหาคาเฉลี่ย และสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน แลวทดสอบความแตกตางของคะแนนกอนเรียนและหลังเรียน โดยใชการทดสอบอันดับท่ีมีเคร่ืองหมายกํากับของวิลคอกซันกรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed –Ranks Test) 2. เปรียบเทียบความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร กอนเรียนและหลังเรียน กระทําโดยนําคะแนนท่ีไดจากการสอบมาหาคาเฉล่ีย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แลวทดสอบความแตกตางของคะแนน กอนเรียนและหลังเรียน โดยใชการทดสอบอันดับท่ีมีเคร่ืองหมายกํากับของวิลคอกซันกรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed –Ranks Test) 3. การเปรียบเทียบคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค ท่ีไดจากกลุมตัวอยางกับเกณฑคะแนนท่ีคาดหวัง กระทําโดยนําผลการทดสอบไปหาจํานวนนักเรียนท่ีผานเกณฑรอยละ 80 ของคะแนนเต็ม และจํานวนนักเรียนท่ีไมผานเกณฑรอยละ 80 ของคะแนนเต็ม นั่นคือจํานวนนักเรียนท่ีไดจากการปฏิบัติ (f oi )

และจํานวนนักเรียนตามสมมติฐาน (f ei ) แลวนําขอมูลท่ีไดไปทดสอบสมมุติฐานเพื่อเปรียบเทียบ

คุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงคท่ีไดจากกลุมตัวอยางกับเกณฑคะแนนท่ีคาดหวัง โดยใชการทดสอบไคสแควร (Chi – Square) 4. การเปรียบเทียบความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร ท่ีไดจากกลุมตัวอยางกับเกณฑคะแนนท่ีคาดหวัง กระทําโดยนําผลการทดสอบไปหาจํานวนนักเรียนท่ีผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม และจํานวนนักเรียนท่ีไมผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม นั่นคือจํานวนนักเรียนท่ีไดจากการปฏิบัติ (f oi ) และจํานวนนักเรียนตามสมมติฐาน (f ei ) แลวนําขอมูลท่ีไดไปทดสอบสมมุติฐานเพื่อ

เปรียบเทียบความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร ท่ีไดจากกลุมตัวอยางกับเกณฑคะแนนท่ีคาดหวัง โดยใชการทดสอบไคสแควร (Chi – Square)

Page 81: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

77

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยคร้ังนี้ สรุปไดดังนี ้ 1. นักเรียนท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 1 2. นักเรียนท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 2

3. นักเรียนท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค ผานเกณฑรอยละ 80 มีจํานวนรอยละ 81.81 ของนักเรียนท้ังหมด นั่นคือมีจํานวนไมนอยกวาเกณฑ รอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอ 3

4. นักเรียนท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร ผานเกณฑรอยละ 70 มีจํานวนรอยละ 77.27 ของนักเรียนท้ังหมด นั่นคือมีจํานวนไมนอยกวา รอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอ 4

อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยในคร้ังนี้ผูวิจัยขออภิปรายผลตามผลการวิจัย ดังตอไปนี ้ 1. จากผลการวิจัยขอ 1 ท่ีพบวานักเรียนท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม มีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 1 ท้ังนี้เปนเพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรูใหนักเรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเองตามความสนใจและตามศักยภาพของตนเอง จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู ท่ีผูวิจัยจัดใหผูเรียนไดเรียนรูจากเร่ืองใกลตัวไปหาเร่ืองไกลตัว หรือการเรียนรูท่ีเปนประสบการณจริงของนักเรียนและการดําเนินชีวิตของคนในชุมชนของนักเรียน เปนการเช่ือมโยงความรูกับสถานการณจริงโดยไดบูรณาการแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรูของทุกหนวยการเรียนรู นอกจากน้ีในการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนยังไดมีโอกาสเรียนรูรวมกันเปนกลุมและจับคูชวยเหลือกัน เปนการปลูกฝงดานคุณธรรมในการอยูรวมกันเปนรูปธรรมท่ีชัดเจนนักเรียนไดเรียนรูอยางมีความสุขไมตองวิตกกังวลวาจะทํากิจกรรมไมได ทําใหนักเรียนเกิดการเรียนรู มีแนวคิด และแนวทางในการดําเนินชีวิตและการประพฤติปฏิบัติตนท่ีมีคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค ส่ิงเหลานี้จะชวยใหนักเรียนมีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงคหลังเรียนสูงกวากอนเรียน ซ่ึงสอดคลองกับแนวคิด หลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. 2542) ท่ีกําหนดไววา การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรูดานตางๆ อยางไดสัดสวนสมดุลกัน รวมท้ังปลูกฝง

Page 82: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

78

คุณธรรม คานิยมท่ีดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงคไวในทุกวิชา และสอดคลองกับผลการวิจัยของ วีระพงศ ถ่ินแสนดี(2550) ท่ีพบวา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โดยกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการท่ีใหทุกฝายท่ีเกี่ยวของไดรวมกันดําเนินการ และมีการเอาใจใสอยางจริงจัง ทําใหสามารถแกปญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนไดอยางแทจริง และดังงานวิจัยของ กรรณิการ เนื่องจํานงค (2550) ท่ีพบวา การบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในการเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงคใหกับนักเรียน ทําใหนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงคจากการประเมินตนเอง เพื่อนประเมิน และครูประเมินสูงข้ึนกวาเดิม

2. จากผลการวิจัยขอ 2 ท่ีพบวานักเรียนท่ีไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรมมีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร หลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 2 ท้ังนี้เปนเพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรูใหนักเรียนมีโอกาส ลงมือปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเองตามความสนใจและตามศักยภาพของตนเอง เรียนรูจากเร่ืองใกลตัวไปหาเร่ือง- ไกลตัว มีการเช่ือมโยงความรูกับสถานการณจริง โดยไดบูรณาการแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู ท่ีผูวิจัยจัดข้ึนอยางมีระบบ ทําใหนักเรียนมีทักษะการคิดท่ีเปนระบบตามข้ันตอนกระบวนการแกปญหาทางคณิตศาสตรท่ีนําแนวคิด แนวทางการสอนของโพลยา และสสวท. มาประยุกตใช ซ่ึงสอดคลองกับผลการวิจัยของ ปณัฏฐา ศรเดช (2544) ท่ีพบวา การสอนการแกโจทยปญหาคณิตศาสตรโดยสอดแทรกคุณธรรม สงผลใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคณิตศาสตรของนักเรียนท่ีสอนโดยสอดแทรกคุณธรรมสูงกวาการสอนตามปกติ และจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู ท่ีผูวิจัยจัดข้ึนโดยใชข้ันตอนกระบวนการแกปญหาทางคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีไดนําแบบฝกกิจกรรม และนิทานคณิตศาสตร ไปใชในการจัดกิจกรรมการเรียนรู ซ่ึงสอดคลองกับผลการวิจัยของ สุดารัช เสนาะสําเนียง (2542) ปฐมพร บุญลี (2545) อรพินท สุวรรณลพ (2546) ท่ีพบวา นักเรียนท่ีเรียนคณิตศาสตรโดยใชแบบฝกแกปญหาโจทยคณิตศาสตรเปนแบบฝกเสริมในการจัดการเรยีนรูนั้น ทําใหนักเรียนมีความสามารถในการแกปญหาโจทยคณิตศาสตรสูงกวานักเรียนท่ีเรียนตามปกติ

3. จากผลการวิจัยขอ 3 ท่ีพบวานักเรียนท่ีมีคุณลักษณะดานคุณธรรมท่ีพึงประสงค ผานเกณฑรอยละ 80 มีจํานวนรอยละ 81.81 ของนักเรียนท้ังหมด นั่นคือมีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอ 3 ท้ังนี้อาจเปนเพราะวา การที่นักเรียนไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรมท่ีจัดการเรียนรูจากเร่ืองราวท่ีผูวิจัยไดกําหนดสถานการณท่ีเปนประสบการณจริงของนักเรียน และการดําเนินชีวิตของคนในชุมชนเปนโจทยปญหาคณิตศาสตร โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรูของทุกหนวยการเรียนรู มีการยกตัวอยางแบบฝกกิจกรรม และยกตัวอยางนิทานคณิตศาสตรท่ีไดมีการบูรณาการคุณธรรมดานความซ่ือสัตยสุจริต ความขยันหม่ันเพียร ความอดทนอด

Page 83: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

79

กล้ัน การเสียสละแบงปน ไดอยางชัดเจน จากนั้นจึงใหนักเรียนไดลงมือปฏิบัติกิจกรรมดวยตนเองอยางเปนลําดับข้ันตอน จากเร่ืองใกลตัวไปหาเร่ืองไกลตัว ทําใหนักเรียนมีคุณลักษณะดานคุณธรรมที่พึงประสงค ผานเกณฑรอยละ80 มีจํานวนคิดเปนรอยละ81.81 ซ่ึงสอดคลองกับแนวคิด ของอรทัย มูลคํา (2542) ท่ีกลาวไววาการจัดการเรียนการสอน โดยเนนนักเรียนเปนศูนยกลาง สงเสริมใหผูเรียนมีโอกาสไดลงมือทํากิจกรรมตางๆ อยางแทจริงดวยตนเอง และจัดประสบการณตรงใหแกผูเรียน โดยใหผูเรียนมีโอกาสไดเรียนรูจาก ส่ิงท่ีเปนรูปธรรมเขาใจงาย ตรงกับความเปนจริง สามาถนําไปใชในชีวิตประจําวันอยางไดผล และสอดคลองกับผลการวิจัยของ รอยพิมพใจ เพชรกุล (2545) ท่ีพบวา การจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค มีคะแนนพฤติกรรมดานคุณธรรม จริยธรรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค หลังการทดลองของกลุมทดลองมากกวากลุมควบคุม ซ่ึงแสดงวารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงคท่ีใชมีประสิทธิภาพ

4. จากผลการวิจัยขอ 4 ท่ีพบวานักเรียนท่ีมีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตร ผานเกณฑรอยละ 70 มีจํานวนรอยละ 77.27 ของนักเรียนท้ังหมด นั่นคือมีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอ 4 ท้ังนี้อาจเปนเพราะวา การท่ีนักเรียนไดรับการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม ท่ีมีทักษะการคิดท่ีเปนระบบตามข้ันตอนกระบวนการแกปญหาทางคณิตศาสตร 4 ข้ันตอน คือ ข้ันวิเคราะหปญหา ข้ันวางแผนแกปญหา ข้ันดําเนินการแกปญหา และข้ันตรวจสอบคําตอบ จากการกําหนดโจทยปญหาท่ีเปนสถานการณจริงของนักเรียนท่ีเช่ือมโยงความรูกับสถานการณจริงแบบบูรณาการคุณธรรมใน การเรียนรู ซ่ึงสอดคลองกับหลักการของกระทรวงศึกษาธิการ (2545) ท่ีกําหนดไววา ความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร ท่ีครูผูสอนตองออกแบบงาน/กิจกรรมใหครอบคลุมทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตรหลายดาน งานหรือกิจกรรมจึงควรมีลักษณะท่ีตองอาศัยการเชื่อมโยงความรูหลายเร่ือง และใกลเคียงสภาพจริงหรือสถานการณท่ีเกิดข้ึนจริงกับผูเรียน และสอดคลองกับผลการวิจัยของ จุฬวฎี จุฬศักดิ์สกุล (2544) ประทีป ดานแกว (2545) ท่ีพบวา การใชวิธีการสอนแบบบูรณาการคุณธรรม ทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนผานเกณฑท่ีกําหนดไว ท้ังโดยคะแนนรายบุคคล และคาเฉล่ียของนักเรียนท้ังช้ัน ตลอดจนนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนแบบบูรณาการโดยภาพรวมและรายดาน อยูในระดับ “มาก”

Page 84: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

80

ขอเสนอแนะ จากการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยมีขอเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัย ดังนี ้ ขอเสนอแนะท่ัวไป

1. ในการจัดการเรียนรู ครูผูสอนตองเขาใจธรรมชาติของผูเรียน และตองรูจักผูเรียนเปนรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรูตามความสนใจ และตามศักยภาพของผูเรียน

2. ครูผูสอนตองจัดเตรียมส่ือ/วัสดุอุปกรณ ใหครบถวนและเพียงพอ เปนการชวยอํานวยความสะดวกและประหยัดเวลาในการจัดการเรียนการสอน ทําใหสามารถสอนไดตรงตามเวลาท่ีกําหนด เชน การใชกระดาษโปสเตอรเพลงแทนการเขียนบนกระดานดํา และการใชแผนกระดาษใบงานคําถามแทนการที่ครูผูสอนตองถาม คําถามทุกขอ ซ่ึงตองใชเวลามาก เปนตน

3. ครูผูสอนตองตองจัดทํา จัดหา ส่ือการเรียนรู ท่ีเราความสนใจผูเรียน และสรางทางเลือกในการเรียนรูท่ีหลากหลาย

4. ในขณะท่ีผูเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู ครูผูสอนจะตองมีบทบาทเปนผูสังเกตการณ เพื่อดูพัฒนาการท้ังดานความรูความเขาใจ ดานทักษะ/กระบวนการ และดานคุณลักษณะท่ีพึงประสงคของผูเรียน และหากพบวานักเรียนมีขอบกพรอง ครูผูสอนควรช้ีแนะ เพื่อใหนักเรียนแกไขขอบกพรองนั้น

ขอเสนอแนะสําหรับการทําวิจัยคร้ังตอไป

1. ควรมีการทําวิจัย เพื่อตรวจสอบวาการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม สามารถทําใหนักเรียนมีคุณลักษณะท่ีพึงประสงคในดานอ่ืนๆไดหรือไม เชน ดานคานิยม ในเร่ืองความมีระเบียบวินัยความรับผิดชอบ เปนตน

2. ควรมีการทําวิจัย เพื่อตรวจสอบวาการสอนคณิตศาสตรแบบบูรณาการคุณธรรม สามารถทําใหนักเรียนมีความสามารถในการแกโจทยปญหาทางคณิตศาสตรในเร่ืองอ่ืนๆไดหรือไม เชน โจทยปญหารอยละ โจทยปญหาเกี่ยวกับเวลา โจทยปญหาเกี่ยวกับการช่ัง โจทยปญหาเกี่ยวกับการตวง เปนตน

3. ควรมีการทําวิจัยโดยการนําการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมไปใชสอนในทุกกลุมสาระการเรียนรู เพื่อพัฒนาใหผูเรียนเปนคนดี มีคุณธรรม เปนมนุษยท่ีสมบูรณท้ังรางกาย จิตใจ สติปญญา ความรู และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตเปนอยางไร เพื่อเปรียบเทียบกับการสอนแบบปกติ

********************

Page 85: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

81

รายการอางอิง

กรรณิการ เนื่องจํานงค (2550). การบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัส 3000 - 1101 เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงคใหกับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี. ผลงาวิชาการเพื่อขอเล่ือนระดับเปนครูเช่ียวชาญสาขาวิชาภาษาไทย. ชลบุรี :วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี.

คณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, สํานักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟค จํากัด.

จรัล แกวเปง. (2546). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนดานคารวะธรรม โรงเรียนเชียงคําวิทยาคม อําเภอ เชียงคํา จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เชียงราย : สถาบันราชภัฏเชียงราย.

จุฬวฎี จุฬศักดิ์สกุล. (2544). การพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใชรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ. ขอนแกน : มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ปฐมพร บุญลี. ( 2545). การพัฒนาแบบฝกทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร เร่ือง พื้นท่ีผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี3. ปริญญานิพนธปริญญามหาบัณฑิต.

กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. ปณัฏฐา ศรเดช. (2544). การศึกษาผลการสอนการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร โดยสอดแทรกคุณธรรม ดาน

ความซ่ือสัตย สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6. ปริญญาวิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต

สาขาหลักสูตรและการสอน. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา ประทีป ดานแกว. (2545). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกลุมสรางเสริมประสบการณชีวิต ชั้น

ประถมศึกษา ปท่ี 4 โดยใชวิธีการสอนแบบบูรณาการ. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. ขอนแกน : มหาวิทยาลัยขอนแกน.

รอยพิมพใจ เพชรกุล. (2545). การจัดอาชีวศึกษาโดยบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค. วิทยานิพนธครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา.

กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ.(2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุมสาระการ

เรียนรูคณิตศาสตร. กรุงเทพฯ :โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว. วีรพงศ ถ่ินแสนดี. (2550). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยกระบวนการเรียนการสอนแบบ

บูรณาการโรงเรียนสิงหสะอาด จังหวัดกาฬสินธุ. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Page 86: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

82

สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.). กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ครูมือครูสาระการเรียนรูพื้นฐานคณิตศาสตร กลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร ชั้นประถมศึกษาปท่ี 5

หลักสูตร การศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว. สิริพัชร เจษฎาวิโรจน. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : บุค พอยท. สิริพร ทิพยคง. (2543). “ ศิลปะการตั้งคําถามในวิชาคณิตศาสตร “ วารสารคณิตศาสตร ฉบับพิเศษ. สุดารัช เสนาะสําเนียง. (2542). การใชชุดเสริมทักษะการแกโจทยปญหาคณิตศาสตรสําหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปท่ี 1. วิทยานิพนธปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

อรทัย มูลคํา. (2542). การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเนนผูเรียนเปนศูนยกลาง. กรุงเทพมหานคร : ที.พี.พร้ินท จํากัด.

อรพินท สุวรรณลพ. (2546). การสรางชุดฝกทักษะทางคณิตศาสตร เร่ืองการแกโจทยปญหาบทประยุกต สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. เชียงราย : มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏเชียงราย.

Carlson & Laurie. D. (1996). Co-teaching for integration: an exploratory study [Abstract]. Ph.D. University of Toronto. Retrieved April 18. 2003. From Protest-Dissertation Abstracts. Abstract No. AACNN11685.

Hill, Mary Denise. (2002). The Effects of Integrated Mathematics / Science Curriculum and Instruction

on Mathematics Achievement and Student Aptitudes in Grade Six, Dissertation Abstracts

International. 63 (6) ; 2168-A.

Polya,G. (1985). How to Solve lt. Princeton : University Press. ********************

Page 87: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

83

ผลการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมอืแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลท่ีมีตอ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติตอวิชาคณิตศาสตร

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6*

ฐิติพจน โพธ์ิชื่น**

1 ผศ. ดร.นวลศรี ชํานาญกิจ***

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีมีจุดมุงหมายเพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล และเพ่ือศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ที่มีคะแนนผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุมตัวอยางเปนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2551 โรงเรียนบานปางสุด อําเภอ แมวงก จังหวัดนครสวรรค สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานครสวรรค เขต 2 จํานวน 32 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยไดแก 1) แผนการสอนโดยใชวิธีสอนแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ซึ่งผานการตรวจสอบคุณภาพโดยผูเช่ียวชาญจํานวน 3 คน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร เรื่อง ตัวประกอบของจํานวนนับ ซึ่งเปนแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จํานวน 30 ขอ มีคาความยากงายต้ังแต 0.31 – 0.72 มีอํานาจจําแนกต้ังแต 0.21 – 0.63 และมีคาความเที่ยงเทากับ 0.73 และ 3) แบบวัดเจตคติตอวิชาคณิตศาสตร มีลักษณะเปนมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ จํานวน 24 ขอ มีคาอํานาจจําแนก ต้ังแต 2.30 - 5.17 และคาความเที่ยงเทากับ 0.73 วิเคราะหขอมูลโดยใชการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกันและการทดสอบไค-สแควร ผลการวิจัยพบวา 1.นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรผานเกณฑคะแนนรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจํานวนรอยละ 87.5 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกวาเกณฑจํานวนรอยละ 70 ที่กําหนดไวอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 6 ที่ไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ม ีเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คําสําคัญ: การเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล/ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร/ เจตคติตอวิชาคณิตศาสตร

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ. 2551 **ครู ค.ศ. 1 โรงเรียนบานปางสุด จังหวัดนครสวรรค ***ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ)

Page 88: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

84

The Effect of Team-Assisted Individualization in Cooperative Learning on Mathematics Achievement and Attitudes of Prathomsuksa 6 Students

Thitipoj Phochuen

Asst. Prof. Dr. Nuansri Chamnankit

Abstract The purposes of this research were to compare the achievement and attitude before and after studying Mathematics of Prathomsuksa VI students, and to find out the percentage of the students whose scores are 70% or above. The samples were from thirty two Prathomsuksa VI students in the first semester of academic year 2000 at Banpangsood School in Amphur Maung, Nakhon Sawan Province. The instruments used in the research were 1) the Team-Assisted Individualization in Cooperative Learning lesson plans approved by 3 specialists, 2) the Mathematics achievement test with 30 items, 4 multiple choices, with degree of difficulty from 0.31 to 0.72, the discrimination from 0.21 to 0.63, and reliability at 0.73, and 3) the Mathematics attitude test with a 5-level rating scale, 24 items, with the discrimination from 2.30 to 5.17 and the reliability at 0.73. The data were analyzed by using the t-test for dependent samples and the Chi-square test. The research findings were as follows: 1. The Prathomsuksa VI students being taught Mathematics by using the Team-Assisted Individualization in Cooperative Learning achieved a higher score in the posttest at the .05 level of significance. 2. 70 percent of Prathomsuksa VI students being taught Mathematics by using the Team-Assisted Individualization in Cooperative Learning obtained scores significantly at 70% or above at .05 level. 3. The Prathomsuksa VI student’s attitude in Mathematics through the use of the Team-Assisted Individualization in Cooperative Learning after being taught was higher than those before being taught at the .05 level of significance.

Keywords: Team–Assisted Individualization in Cooperative Learning/ Mathematics Achievement/ Attitude in Mathematics

Page 89: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

85

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา คณิตศาสตรมีบทบาทสําคัญยิ่งตอการพัฒนาความคิดของมนุษย มีประโยชนตอการดํารงชีวิต และชวยพัฒนาคุณภาพชีวิตใหดีข้ึน นอกจากนี้คณิตศาสตรยังชวยพัฒนาคนใหเปนมนุษยท่ีสมบูรณ มีความสมดุลท้ังรางกาย จิตใจ สติปญญาและอารมณ สามารถคิดเปน ทําเปน แกปญหาเปนและสามารถอยูรวมกับผูอ่ืนไดอยางมีความสุข ซ่ึงการศึกษาคณิตศาสตรสําหรับหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เปนการศึกษาเพ่ือปวงชนท่ีเปดโอกาสใหเยาวชนทุกคนไดเรียนรูคณิตศาสตรอยางตอเนื่องและตลอดชีวิตตามศักยภาพ ซ่ึงเม่ือผูเรียนจบการศึกษาข้ันพื้นฐานแลว ผูเรียนจะมีความรูความเขาใจในเนื้อหาสาระคณิตศาสตร มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร มีเจตคติท่ีดีตอวิชาคณิตศาสตร และสามารถนําความรูทางคณิตศาสตรไปเปนเคร่ืองมือในการเรียนรูส่ิงตาง ๆ ตลอดจนสามารถนําไปใชในชีวิตประจําวันไดอยางมีความสุข (สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. 2546 : 1 – 2 ) แมวาคณิตศาสตรจะมีความสําคัญ แตพบวาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตรในระดับช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ยังไมประสบความสําเร็จเทาท่ีควร ดังจะเห็นไดจากรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาข้ันพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผูเรียนปการศึกษา 2549 ช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 โดยสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 (สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค. 2549 : 15) ซ่ึงทําการประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีเปนกลุมตัวอยางครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 พบวารายวิชาคณิตศาสตร มีคาเฉล่ียตํ่ากวารอยละ 50

การแกปญหาท่ีทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนตํ่านั้นมีหลายวิธี การพัฒนาวิธีสอนของครูผูสอนก็เปนแนวทางหนึ่งในการแกปญหา การที่ครูปรับปรุงวิธีการสอนใหเหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผูเรียน โดยใหนักเรียนไดมีสวนรวมในกิจกรรมการเรียนการสอน เสริมสรางบรรยากาศท่ีดีในการเรียน ยอมทําใหนักเรียนเกิดความสนใจ เกิดการเรียนรู เกิดความรูสึกท่ีดี ไมเบ่ือหนายกับการฝกทักษะทางคณิตศาสตร ตลอดจนมีเจตคติท่ีดีตอวิชาคณิตศาสตร นวัตกรรมอยางหน่ึงท่ีนํามาจัดกิจกรรมท่ีสนองความแตกตางระหวางบุคคล ไดแก การเรียนรูโดยกระบวนการทํางานรวมกันซ่ึงเปนการเรียนแบบรวมมือ (Cooperative

Learning) วิธีนี้เปดโอกาสใหนักเรียนไดเรียนเปนกลุมมากข้ึน เปนผูสรางความรูดวยตนเอง วิธีการเรียนแบบรวมมือวิธีหนึ่งท่ีสามารถจะชวยแกปญหาท่ีการเรียนการสอนนั้นได คือ การเรียนแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล (Team Assisted Individualization หรือ TAI ) ซ่ึงจาก การศึกษางานวิจัยการสอนคณิตศาสตรโดยใชวิธีสอนแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน กลุมชวยเรียนรายบุคคลน้ี เปนวิธีการเรียนท่ีผสมผสานระหวางการเรียนแบบรวมมือกับการสอนรายบุคคล ซ่ึงจัดเปนกลุมคละความสามารถ เนนการเรียนแบบรวมมือและชวยเหลือกันภายในกลุม ขณะเดียวกัน

Page 90: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

86

นักเรียนแตละคนจะตองทํากิจกรรมการเรียนดวยตนเองตามความสามารถจากแบบฝกทักษะ ความสําเร็จของกลุมข้ึนอยูกับสมาชิกทุกคนในกลุมท่ีตองรับผิดชอบรวมกัน (วัฒนาพร ระงับทุกข. 2545 : 182) เม่ือพิจารณาเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร ช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 พบวา เนื้อหาเร่ือง ตัวประกอบของจํานวนนับ เปนเนื้อหาท่ีเปนพื้นฐานท่ีสําคัญในการเรียนเนื้อหาเร่ืองอ่ืน ๆ เชน ทศนิยม เศษสวน ระบบจํานวน จึงควรสงเสริมใหนักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เร่ือง ตัวประกอบของจํานวนนับใหเปนไปตามเกณฑมาตรฐาน รอยละ 50 ของโรงเรียน ดวยเหตุดังกลาวผูวิจัยจึงมีความสนใจนําวิธีสอนแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลมาทดลองใชกับการเรียนการสอนคณิตศาสตรในระดับประถมศึกษาปท่ี 6 เร่ืองตัวประกอบของจํานวนนับเพื่อมุงหวังจะสงเสริมใหประสิทธิภาพของการเรียนการสอนคณิตศาสตรดีข้ึน อันจะสงผลไปยังผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน และเจตคติตอการเรียนคณิตศาสตรของนักเรียนได เพื่อเปนแนวทางในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตรใหมีความเหมาะสมมากยิ่งข้ึน

จุดมุงหมายของการวิจัย

จุดมุงหมายของการวิจัยคร้ังนี้มีดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล

2. เพื่อศึกษาจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ท่ีมีคะแนนผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม

3. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษา ปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล

สมมุติฐานในการวิจัย 1. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน

2. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ท่ีมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรผานเกณฑคะแนนรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม จะมีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของจํานวนนักเรียนท้ังหมด

3. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน

Page 91: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

87

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

การเรียนแบบรวมมือ เปนทฤษฎีท่ีมุงเนนใหครูและนักเรียนท้ังช้ันรวมมือกันแลกเปล่ียนทัศนะ

ความคิด เปนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีเปดโอกาสใหนักเรียนไดเรียนรูรวมกันเปนกลุมเล็ก ๆ แตละกลุมประกอบดวยสมาชิกท่ีมีความรู ความสามารถแตกตางกัน ทํางานรวมกันเพื่อเปาหมายของกลุม ชวยลดความเห็นแกตัวและการแขงขันในหมูนักเรียนไดเปนอยางดี แตขอสําคัญก็คือส่ิงท่ีนักเรียนจะกระทํารวมกันนั้น ควรมีพื้นฐานอยูบนความสนในและความอยากรูอยากเห็นของนักเรียน ตลอดจนมีความหมายแกนักเรียนดวย

จากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวของกับการเรียนแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลพบวา สามารถทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน และยังทําใหนักเรียนมีเจตคติท่ีดีตอการเรียนอีกดวย ท้ังนี้เพราะเปนการจัดการเรียนการสอนแบบกลุมคละความสามารถ และ เพศ โดยเนนการเรียนแบบรวมมือและชวยเหลือกันภายในกลุม แตในขณะเดียวกัน นักเรียนแตละคนทํากิจกรรมการเรียนดวยตนเองตามความสามารถจากแบบฝกทักษะ โดยความสําเร็จของกลุมข้ึนอยูกับสมาชิกทุกคนในกลุมท่ีตองรับผิดชอบรวมกัน เปนการปลูกฝงนิสัยท่ีดีในการอยูรวมกัน ผูวิจัยจึงไดนําการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลมาใชในการเรียนการสอน

ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยในคร้ังนี้เปนการวิจัยเชิงทดลองเบ้ืองตน (Pre-experimental research) ใชแบบแผนการวิจัยกลุมเดียวสอบกอน - สอบหลัง (One group pretest-posttest design) ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากรที่ใชในการวิจัยคร้ังนี้ไดแก นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ในโรงเรียนกลุมเครือขายแมเลย ตําบลแมเลย อําเภอแมวงก จังหวัดนครสวรรค จํานวน 10 โรงเรียน รวม 310 คน

กลุมตัวอยางท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้ ไดแก นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6/2 ภาคเรียนท่ี 1 ปการศึกษา 2551 โรงเรียนบานปางสุด อําเภอแมวงก จังหวัดนครสวรรค สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 จํานวน 32 คน ซ่ึงไดมาจากการสุมแบบหลายข้ันตอน (Multistage Random Sampling) ตัวแปรท่ีศึกษา ตัวแปรจัดกระทํา ไดแก การสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล

ตัวแปรตาม มี 2 ตัวแปรคือ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร และเจตคติตอวิชาคณิตศาสตร

Page 92: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

88

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย

1) แผนการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลที่ผูวิจัยสรางข้ึน 4 แผน และผูเช่ียวชาญจํานวน 3 คน ตรวจสอบคุณภาพแลวเห็นวาแผนการสอน มีความเหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคณิตศาสตรช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 เร่ืองตัวประกอบของจํานวนนับ เปนแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จํานวน 30 ขอ คาความยากงายซ่ึงมีคาต้ังแต 0.31 ถึง 0.72 มีอํานาจจําแนกต้ังแต 0.21 ถึง 0.63 และมีคาความเท่ียง เทากับ 0.73 3) แบบวัดเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรเปนแบบมาตราสวนประมาณคา (rating scale) 5 ตัวเลือก จํานวน 24 ขอ คาอํานาจจําแนกเปนรายขอ (t) อยูระหวาง 2.30 ถึง 5.17 และมีคาความเท่ียงเทากับ 0.73 การเก็บรวบรวมขอมูล 1) ทดสอบกอนเรียน ดวยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เร่ือง ตัวประกอบของจํานวนนับ จํานวน 30 ขอ 60 นาที และวัดเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรกอนเรียน แลวบันทึกผลไวเปนคะแนนกอนเรียนสําหรับการวิเคราะหขอมูล (28 พฤษภาคม 2551) 2) ดําเนินการทดลองสอนโดยผูวิจัยเปนผูสอน ใชเวลาในการทดลองจํานวน 4 สัปดาห สัปดาหละ 4 ช่ัวโมง รวมท้ังส้ิน 16 ช่ัวโมง ระยะเวลาระหวาง 28 พฤษภาคม ถึง 19 มิถุนายน 2551 3) เม่ือส้ินสุดการทดลอง วัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนโดยใชแบบทดสอบและแบบวัดฉบับเดียวกับกอนเรียน นําคะแนนหลังเรียนและกอนเรียนมาเปรียบเทียบความแตกตางของคาเฉล่ียเพื่อทดสอบสมมุติฐาน (19 มิถุนายน 2551) การวิเคราะหขอมูล

ผูวิจัยวิเคราะหขอมูลตามจุดมุงหมายของการวิจัยดังนี้ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลโดยใชการทดสอบที กรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (t-test dependent samples) โดยใชโปรแกรม SPSS/FW

ปรากฏผลดังนี ้กลุมตัวอยาง n X S.D. t Sig. สอบกอนเรียน 32 7.56 2.36

สอบหลังเรยีน 32 23.25 3.06 23.07 .00*

* Sig < .05

Page 93: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

89

2) เปรียบเทียบจํานวนนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ท่ีมีคะแนนผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของนักเรียนท้ังหมด โดยใชสถิติทดสอบไคสแควร (Chi–Square Test) ปรากฏผลดังนี ้

กลุมตัวอยาง จํานวนนักเรียนท่ีได จากการปฏิบัติ (f oi )

จํานวนนักเรียน ตามสมมติฐาน(f ei )

f oi - f ei χ2

นักเรียนท่ีผานเกณฑ 28 22 6

นักเรียนท่ีไมผานเกณฑ 4 10 6 5.24*

*นัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ( )1(2χ = 3.84 )

3) เปรียบเทียบเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลโดยใชการทดสอบที กรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (t-test dependent samples) โดยใชโปรแกรม SPSS/FW ปรากฎผลดังแสดงในตาราง

กลุมตัวอยาง n X S.D. t Sig. สอบกอนเรียน 32 88.06 12.46

สอบหลังเรยีน 32 102.06 8.07 8.95 .00*

* Sig < .05

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยคร้ังนี้พบวา 1. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 2. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ท่ีมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรผานเกณฑคะแนนรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจํานวนรอยละ 87.5 ของนักเรียนท้ังหมดสูงกวาเกณฑจํานวนรอยละ 70 ท่ีกําหนดไว อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

3. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

Page 94: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

90

อภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจัยในคร้ังนี้ผูวิจัยขออภิปรายผลตามผลการวิจัย ดังตอไปนี ้ 1. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 1 ท้ังนี้อาจเปนเพราะนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการจัดกิจกรรมโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ซ่ึงแบงนักเรียนเปนกลุมยอย กลุมละ 4 คน ประกอบดวยนักเรียนเกง 1 คน ปานกลาง 2 คน และ ออน 1 คน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูนั้น นักเรียนจะทําการศึกษาดวยตนเองกอน ถาไมเขาใจนักเรียนในกลุมจะชวยกันอธิบายและซักถามขอของใจกับเพื่อนในกลุมจนเขาใจ แลวทําใบงานเปนรายบุคคล มีการตรวจเช็คทันทีเม่ือสมาชิกในกลุมทุกคนทําเสร็จ เม่ือนักเรียนคนใดทําแบบฝกหัดไมถูกตอง ก็ใหเพื่อนสมาชิกในกลุมชวยอธิบาย แลวทําใบงานใหผานตามเกณฑอีก คะแนนท่ีทุกคนไดรับจะแปลงเปนคะแนนกลุมทุกคนจึงชวยเหลือกัน ใหความสนใจเพื่อท่ีจะไดทําคะแนนใหกลุมของตนเองประสบความสําเร็จ ซ่ึงสอดคลองกับผลการวิจัยของ ไพรวัลย ปนทะนา (2547) ท่ีพบวาการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน

2. จากผลการวิจัยขอ 2 ท่ีพบวานักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล ผานเกณฑรอยละ 70 มีจํานวนรอยละ 87.50 ของนักเรียนท้ังหมด นั่นคือ มีจํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของจํานวนนักเรียนท้ังหมดซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอ 2 สามารถอภิปรายผลไดวาการจัดกิจกรรมโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล นักเรียนไดศึกษาดวยตนเองทําใหนักเรียนไดคิดและทํางานดวยตนเองกอน ไดใชความคิดและไดตรวจสอบคําตอบกับเพื่อนภายในกลุมโดยแตละกลุมจะมีนักเรียนท่ีมีความรูมากอยูในกลุมทําใหสามารถสอบถามท่ีไมเขาใจได ซ่ึงการอธิบายจากสมาชิกวัยเดียวกัน ทําใหเกิดความสัมพันธกันภายในกลุม มีการใหรางวัลหรือติดปายประกาศผลคะแนนกลุมท่ีไดคะแนนสูงสุด ทําใหเกิดความพยายามมากข้ึน และจากผลงานวิจัยของ อังคณา แกวไชย (2549) พบวา นักเรียนท่ีเรียนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงกวานักเรียนท่ีเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรูตามคูมือครู จากเหตุผลดังกลาว นาจะทําใหนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล จํานวนไมนอยกวารอยละ 70 ของจํานวนนักเรียนท้ังหมดมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรผานเกณฑคะแนนรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม

Page 95: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

91

3. จากผลการวิจัยขอ 3 ท่ีพบวานักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 6 ท่ีไดรับการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล มีเจตคติตอวิชาคณิตศาสตรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 3 ท้ังนี้อาจเปนเพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล เปนการสงเสริมทักษะทางสังคมเขาใจกันและกัน มีการปฏิสัมพันธกัน การทํางานเปนกระบวนการกลุม มีความรับผิดชอบตอความสําเร็จของกลุมทุกคน ไมวาจะเปนเด็กเกง ปานกลาง หรือ ออน และท่ีสําคัญมีการชวยเหลือซ่ึงกันและกันระหวางการจัดกิจกรรมภายในกลุม เชน เด็กเกง ชวยเหลือ อธิบายเด็กออน ทําใหเด็กเกงเกิดความภาคภูมิใจ รูจกัสละเวลา สวนเด็กออนเกิดความซาบซ้ึงในเพื่อนสมาชิกดวยกัน มีการยอมรับความแตกตางระหวางเพ่ือน อันสงผลใหทุกคนมีความสุขในการเรียนหรือการทํางานและเกิดเจตคติท่ีดีตอการเรียนวิชาคณิตศาสตร สอดคลองกับงานวิจัยของอังคณา แกวไชย (2549) และโฆษิต จัตุรัสวัฒนากูล (2543)

ขอเสนอแนะ

1. ขอเสนอแนะท่ัวไป

1) กอนการเร่ิมกิจกรรมการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลครูตองอธิบายข้ันตอนการศึกษาตามกิจกรรมการเรียนรูแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลใหชัดเจน

2) เนนท่ีความสําเร็จของกลุมข้ึนอยูกับคะแนนเฉล่ียจากคะแนนของทุกคนในกลุม เพื่อกระตุนใหเด็กเกงชวยเหลือเด็กปานกลางและออน ซ่ึงนักเรียนจะเกิดปฎิสัมพันธท่ีดีตอกัน

3) เนนย้ําเร่ืองการอานคําช้ีแจงท่ีมีในแตละเอกสารการเรียนการสอนเพื่อความเขาใจท่ีถูกตองกอนลงมือทํากิจกรรม

4) ครูผูสอนตองใหนักเรียนเขาใจถึงบทบาทหนาท่ีของตนเองโดยเฉพาะหัวหนากลุมในการทํากิจกรรม และใหมีความรับผิดชอบ ความซ่ือสัตยตอตนเองโดยไมตองลอกเฉลยหรือลอกเพ่ือน

2. ขอเสนอแนะสําหรับการทําวิจัยคร้ังตอไป

1) ควรศึกษาคนควาเปรียบเทียบระหวางวิธีการสอนท่ีหลากหลายวิธี เพื่อนํามาเปรียบเทียบวาแตละวิธีการสอนมีขอแตกตางกันอยางไร และจะนําไปพัฒนาตอไปอยางไร

2) ควรนํารูปแบบการสอนโดยใชการเรียนแบบรวมมือแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคลไปใชกับเนื้อหาอ่ืนในวิชาคณิตศาสตร ระดับช้ันอ่ืนในวิชาคณิตศาสตร เพื่อศึกษาวาวิธีการสอนรูปแบบนี้เหมาะกับเนื้อหาใด ระดับช้ันใด และไมเหมาะกับเนื้อหาใด ระดับช้ันใด

3) ควรเปล่ียนรูปแบบการสอนท่ีใชส่ือใบงาน และใบความรู เปนส่ือการสอนรูปแบบอ่ืนบางเพื่อเปนแนวทางในการพัฒนายิ่งข้ึน

********************

Page 96: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

92

รายการอางอิง

เขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2, สํานักงาน. (2549). การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประเมินคุณภาพผูเรียน ป 2549 จังหวัดนครสวรรค. กลุมนิเทศติดตามและประเมินผล ลําดับท่ี 37/2550 : สํานักงานเขตพ้ืนท่ีนครสวรรค เขต 2.

โฆษิต จตุรัสวัฒนากุล. (2543). ผลการเรียนแบบรวมมือโดยใชเทคนิคการสอนเปนกลุมท่ีชวยเหลือเปนรายบุคคลท่ีมีตอผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความสามารถในการถายโยงการเรียนรูในวิชาคณิตศาสตรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 5 ท่ีมีระดับความสามารถตางกัน. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ไพรวัลย ปนทะนา. (2547). การพัฒนาสัมฤทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตรและปฏิสัมพันธในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6 โดยใชการเรียนแบบกลุมชวยเรียนรายบุคคล. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

วัฒนาพร ระงับทุกข. (2542). แผนการสอนท่ีเนนผูเรียนเปนศูนยกลาง. กรุงเทพมหานคร : แอล ที เพรส.

สงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี, สถาบัน. (2546). หนังสือสาระการเรียนรูเพิ่มเติมคณิตศาสตร เลม 2. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

วิชาการ,กรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.

กรุงเทพมหานคร : องคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ. อังคณา แกวไชย. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนความสามารถในการใหเหตุผล และเจต

คติตอวิชาคณิตศาสตร เร่ืองการบวก การลบ การคูณ การหารเศษสวน ชั้นประถมศึกษาปท่ี 5

ระหวางการจัดกิจกรรมการเรียนรูแบบ TAI และการจัดกิจกรรม การเรียนรูตามคูมือครู,

วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ********************

Page 97: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

93

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล สําหรับนักเรยีนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 2*

โรจนฤทธ์ิ จันนุม** ผศ.ดร.นวลศรี ชํานาญกิจ***

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีมีจุดมุงหมายเพ่ือ 1) เพ่ือพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 2 ใหมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 2) เพ่ือศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 2 3) เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร กอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 2 ที่ไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 4) เพ่ือศึกษาความคงทนในการเรียนรูวิชาคอมพิวเตอร ของนักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล ซึ่งมีประสิทธิภาพ 80.67/81.33 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเปนแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 30 ขอ ซึ่งมีความตรงเชิงเน้ือหา มีคาความยากงายอยูระหวาง 0.35 – 0.65 มีคาอํานาจจําแนกอยูระหวาง 0.20 – 0.40 และมีคาความเที่ยงเทากับ 0.87 กลุมตัวอยางที่ใชในการทดลอง ไดแก นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 2 โรงเรียนบานตลุกขอยนํ้า อําเภอแมวงก จังหวัดนครสวรรค จํานวน 15 คน ซึ่งไดมาโดยการสุมอยางงาย ผลการวิจัยพบวา 1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล ที่ผูวิจัยสรางขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.67/81.33 ซึ่งเปนไปตามเกณฑที่กําหนดไว 80/80 2. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเรื่องฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผล เทากับ 0.29 ซึ่งมีคาดัชนีประสิทธิผลนอยกวา 0.5 3. นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง ฮารดแวรและเทคโนโลยีสื่อสารขอมูล ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 2 มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมีความคงทนในการเรียนรู

คําสําคัญ: บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน/ ฮารดแวร/ เทคโนโลยีสื่อสารขอมูล

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ. 2551 ** ครู ค.ศ.1 โรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 *** ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ)

Page 98: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

94

A Development of Computer - Assisted Instruction Lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students

Rojanarit Jannum

Asst. Prof. Dr. Nuansri Chamnankit

Abstract The purposes of this study were to 1) develop a Computer - Assisted Instruction (CAI) lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students, 2) study the effectiveness Index (E.I.) of the C.A.I lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students, 3) compare the learning achievement in Computer after and before learning through a CAI lesson of Mathayomsuksa 2 students, and 4) to study learning retention in Computer through a CAI lesson of Mathayomsuksa 2 students. The research tool comprised 1) the CAI lesson on Hardware and Data Communication Technology with efficiency at 80.67/81.33 and 2) the learning achievement test with content validity and difficulty between 0.35 – 0.65, power of discrimination between 0.20 – 0.40 and the coefficient of reliability at 0.87. The sample of research were 15 Mathayomsuksa 2 students of Talukkhoynum School, Amphur Mawong, Nakhon Sawan Province. They were all chosen by the simple random sampling method. The finding were as follows: 1. The CAI lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students had efficiency at 80.67/81.33 under the 80/80 standard criterion. 2. The CAI lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students had the effectiveness index at 0.29 which was lower than 0.5. 3. Students learned by using the CAI lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students had the learning achievement significantly higher then before the experiment at .05 level. 4. Students learned by using the CAI lesson on Hardware and Data Communication Technology for Mathayomsuksa 2 Students had learning retention.

Keywords: Computer-Assisted Instruction/ Hardware/ Data Communication Technology

Page 99: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

95

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา การศึกษาเปนกระบวนการเรียนรูท่ีมีความสําคัญในการพัฒนาคนใหมีคุณภาพและมีความสามารถท่ีจะเสาะแสวงหาความรูในยุคสมัยท่ีมีความเจริญกาวหนาทางดานเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอรจึงเปนวิชาท่ีเปนพื้นฐานท่ีสําคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดานการศึกษาของประเทศใหมีความเจริญกาวหนาไดอยางรวดเร็ว แมวาวิชาคอมพิวเตอรจะไดรับการบรรจุไวในหลักสูตรของทุกชวงช้ัน แตพบวาการจดัการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอรในโรงเรียนยังไมประสบความสําเร็จตามเปาหมายท่ีต้ังไว เห็นไดจากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอรของโรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา พบวา ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอรของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ปการศึกษา 2549 อยูในระดับตํ่า มีคารอยละ 55.05 (วิชาการโรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา. 2549) จากผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอรของโรงเรียนบานตลุกขอยน้ําอยูในระดับตํ่าเกิดจากสาเหตุการนําการสอนวิชาคอมพิวเตอรในทางทฤษฎีมาใชสอน จึงทําใหเกิดความเบ่ือหนายท้ังครูผูสอนและผูเรียน (วิชาการโรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา. 2549) สาเหตุท่ี ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอรของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ตํ่านั้น มีหลายปจจัยดวยกัน ไดแก ผูสอนไมเนนกระบวนการใหนักเรียนแสวงหาความรูดวยตนเอง ผูสอนสวนใหญ ยังยึดหนังสือเรียนแทนหลักสูตร มิไดถือผูเรียนเปนศูนยกลาง (ธรรมเกียรติ กันอริ. 2543 : 96-99) การแกปญหาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอรนั้น ไดมีบุคลากรท่ีมีความรูความสามารถในการสอนวิชาคอมพิวเตอรไดศึกษาคนควาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอรไวหลายรูปแบบดวยกัน จุดประสงคเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูใหแกนักเรียนอยางมีประสิทธิภาพ การสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เปนวิธีการหนึ่งท่ีไดรับความนิยมมากในปจจุบัน เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เปนส่ือการเรียนรูชนิดใหมท่ีนักเรียนสามารถเรียนรูไดดวยตนเอง โดยอาศัยคําแนะนําจากครูเพียงเล็กนอยเทานั้น บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเปนส่ือการเรียนรูท่ีใชความสามารถของคอมพิวเตอรในการนําเสนอสื่อประสม อันไดแก ภาพนิ่ง ขอความ กราฟก กราฟ แผนภูมิ ภาพเคล่ือนไหว วีดีทัศนและเสียง เพื่อถายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองคความรูในลักษณะท่ีใกลเคียงกับการสอนจริงในหองเรียนมากท่ีสุด (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541) การใชคอมพิวเตอรเขามาชวยในการจัดการเรียนการสอนมีผลงานวิจัยท่ีสนับสนุนหลายเร่ืองดวยกัน อาทิ ธวัช วันชูชาติ (2546 : 83) ศึกษาวิจัยเร่ือง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง การจําแนกคําในภาษาไทย สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 พบวาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาภาษาไทย เร่ือง การจําแนกคําในภาษาไทย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 และนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนกับนักเรียนท่ีไดรับการสอนตามคูมือครู มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนไมแตกตางกัน ของ นงเยาว เอ่ียมภาคีนิวัฒน (2547 : 40) ศึกษาวิจัยเร่ือง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนบน

Page 100: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

96

อินเตอรเน็ต เร่ือง ฐานขอมูลเบ้ืองตน พบวา ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 อีกท้ังนักเรียนยังมีความคิดเห็นท่ีดีและมีความพึงพอใจตอการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเปนอยางมาก

จากแนวทางการการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยท่ีกลาวมาขางตนนั้น ทําใหผูวิจัยมีความสนใจท่ีจะนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมาพัฒนารูปแบบใหทันสมัยและเหมาะกับการจัดการเรียนการสอนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 โรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา ในรายวิชา ง 32101 เพื่อสรางบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ใหมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอรหลังเรียนกับกอนเรียนของนักเรียน ท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ศึกษาความคงทนในการเรียนรูวิชาคอมพิวเตอรของนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ศึกษาดัชนีประสิทธิผลในการเรียนคอมพิวเตอรในเกณฑมาตรฐาน

จุดมุงหมายของการวิจัย

ในการวิจัยในคร้ังนี้ ผูวิจัยไดกําหนดจดุมุงหมาย ดังนี ้ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ใหมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80

2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร กอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

4. เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรูวิชาคอมพิวเตอร ของนักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

สมมติฐานการวิจัย

ผูวิจัยต้ังสมมติฐานการวิจัยคร้ังนี้ไวดังนี้ 1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาคอมพิวเตอร เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล มีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80

2. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 มีคาดัชนีประสิทธิผลไมนอยกวา 0.5 3. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน หลังเรียนสูงกวากอนเรียน 4. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีความคงทนในการเรียนรู

Page 101: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

97

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

จากการศึกษาทฤษฎี หลักการและแนวคิดท่ีเกี่ยวของกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน พบวา บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนสามารถสรางแรงจูงใจใหผูเรียน เกิดความกระตือรือรน (Motivated) ท่ีจะเรียนและสนุกไปกับการเรียน (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541:12) โดยมีการใชสี ภาพลายเสนท่ีแลดูคลายเคล่ือนไหว ตลอดจนเสียงดนตรี จะเปนการเพิ่มความเหมือนจริง และเราใจผูเรียนใหเกิดความอยากเรียนรู ทําแบบฝกหัดหรือกิจกรรมตาง ๆ (กิดานันท มลิทอง. 2543 : 249-250) โดยไมทําใหเกิดความเบ่ือหนายในการเรียน ทําใหสามารถเกิดความเขาใจในการเรียนรู อีกท้ังทําใหผูเรียนมีทัศนคติท่ีดีตอวิชาท่ีเรียน จึงทําใหมีโอกาสประสบความสําเร็จในการเรียนสูง (วชิระ วิชชุวรนันท. 2544:5)

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) เพื่อ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ซ่ึงเปนการวิจัยกลุมเดียว มีการทดสอบกอนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest – posttest Design) และทดสอบหลังเรียนแลว 2 สัปดาหเพื่อหาความคงทนในการเรียนรู มีข้ันตอนของการวิจัยดังนี ้ 1. ศึกษาและวิเคราะหหลักสูตร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกีย่วของ

2. ออกแบบและสรางบทเรียนคอมพวิเตอรชวยสอน

3. ปรับปรุงบทเรียนคอมพวิเตอรชวยสอน

4. ทดลองใชบทเรียนคอมพวิเตอรชวยสอน

5. หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพวิเตอรชวยสอน ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากรท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้ ไดแก โรงเรียนท่ีเปดสอนระดับช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ในสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานครสวรรค เขต 2 จํานวน 51 โรงเรียน กลุมตัวอยางในการวิจัยคร้ังนี้ ไดแก นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2550

โรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา จํานวน 15 คน เปนกลุมตัวอยางซ่ึงไดมาจากการสุมอยางงาย (Simple random

sampling) โดยใชวิธีการจับฉลาก

ตัวแปรท่ีศึกษา ตัวแปรอิสระ ไดแก การสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปร คือ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร และความคงทนในการเรียนรูวิชาคอมพิวเตอร

Page 102: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

98

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยในคร้ังนี้มี 2 ฉบับ ไดแก 1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน

1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

ลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

1) รายละเอียดของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีผูวิจัยพัฒนาข้ึนประกอบดวย 6 หนวยการเรียนรู 2) บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีสรางข้ึนแบงออกเปน 2 สวน คือ

(1) สวนของครู ประกอบดวย คูมือแนะนําการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนและแผนการสอน

(2) สวนของนักเรียน ประกอบดวย บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล

3) วิเคราะหเนื้อหาบทเรียนเปนกรอบ โดยใหมีความสัมพันธกับจุดประสงคการเรียนรู ประกอบดวยกรอบเนื้อหา กรอบกิจกรรมหรือแบบฝกหัด และกรอบแบบทดสอบ

บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่พัฒนาข้ึนมีประสิทธิภาพ 80.67/81.33 ซ่ึงเปนไปตามเกณฑ 80/80

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน

ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล เปนแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เพื่อทดสอบกอนเรียนและหลังเรียน ในบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จํานวน 30 ขอ ซ่ึงมีความตรงเชิงเนื้อหา มีคาความยากงายอยูระหวาง 0.35 – 0.65 มีคาอํานาจจําแนกอยูระหวาง 0.20 – 0.40 และมีคาความเท่ียงเทากับ 0.87 การเก็บรวบรวมขอมูล

1. ทดสอบกอนเรียน (Posttest) กับกลุมตัวอยาง โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน จํานวน 30 ขอ

2. ดําเนินการทดลอง โดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีผูวิจัยพัฒนาข้ึน ใชเวลาในการทดลองจํานวน 6 สัปดาห สัปดาหละ 2 คาบ ๆ ละ 1 ช่ัวโมง รวมท้ังส้ิน 12 ช่ัวโมง ต้ังแตวันท่ี 23 มกราคม พ.ศ.2551 ถึงวันท่ี 27 กุมภาพันธ พ.ศ.2551

Page 103: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

99

3. เม่ือส้ินสุดการทดลอง จึงทดสอบหลังเรียน โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ซ่ึงเปนฉบับเดียวกับท่ีใชทดสอบกอนเรียน

4. เม่ือทําการสอบหลังเรียนไป 2 สัปดาห จึงทําการทดสอบอีกคร้ังหนึ่งเพื่อวัดความคงทนในการเรียนรู โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ซ่ึงเปนฉบับเดียวกับท่ีใชทดสอบกอนเรียนและหลังเรียน โดยทดลองในวันท่ี 12 มีนาคม พ.ศ.2551 5. นําคะแนนหลังเรียนและกอนเรียน มาวิเคราะหโดยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมุติฐาน

6. นําคะแนนหลังเรียนและหลังเรียน 2 สัปดาห มาวิเคราะหโดยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบตามสมมติฐานตอไป

การวิเคราะหขอมูล

เม่ือรวบรวมขอมูลไดแลว ผูวิจัยดําเนินการวิเคราะหขอมูลดังนี้ 1. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 โดยผูวิจัยไดนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนไปใชกับกลุมตัวอยาง 10 คน ซ่ึงไดดําเนินการดังนี้ 1) นําคะแนนแบบทดสอบระหวางเรียนในแตละหนวยของนักเรียนทุกคนมาหาคาเฉล่ีย

2) นําคะแนนเฉล่ียท่ีไดจากขอ 1.1 มาหาคารอยละ เปนคาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)

ของแตละหนวย

3) นําคาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของแตละหนวยมาหาคาเฉล่ีย เปนคาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 4) นําคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิหลังเรียนของนักเรียนทุกคนมาหาคาเฉล่ีย 5) นําคะแนนเฉล่ียท่ีไดจากขอ 1.4 มาหาคารอยละ เปนคาประสิทธิภาพของผลลัพธ (E2) ของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 6) นําคา E1/ E2 เปรียบเทียบกับเกณฑ 80/80 2. การหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ผูวิจัยดําเนินการดังนี ้ 1) นําคะแนนของนักเรียนท่ีไดจากการทําแบบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกอนเรียนและหลังเรียนมาหาผลรวม

2) ทดสอบความแตกตางของคะแนนท่ีไดจากการทําแบบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน กอนเรียนและหลังเรียน โดยวิธีของกูดแมน, เฟรทเชอร และชไนเดอร (Goodman Fletcher and

Schneider. 1980 : 30-34 อางถึงใน อติพล มูลอามาตย. 2544 : 30-34)

Page 104: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

100

3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกอนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ผูวิจัยดําเนินการดังนี้ 1) นํากระดาษคําตอบของนักเรียน ท่ีทําแบบทดสอบท้ังกอนเรียนและหลังเรียนมาตรวจใหคะแนน บันทึกผลการสอบของนักเรียนเปนรายบุคคล

2) นําคะแนนท่ีไดมาหาคาเฉล่ียของคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร ท้ังกอนเรียนและหลังเรียน

3) ทดสอบความแตกตางของคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน กอนเรียนและหลังเรียน โดยใชการทดสอบอันดับท่ีมีเคร่ืองหมายกํากับของวิลคอกซันกรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (The Wilcoxon

Matched Pairs Signed – Ranks Test) 4) แปลความหมายของผลการทดสอบความแตกตางของคะแนนตามขอ 3

4. การหาคาความคงทนในการเรียนรูของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน โดยการทดสอบความแตกตางของคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หลังเรียนและหลังเรียนแลว 2 สัปดาห โดยใชการทดสอบอันดับท่ีมีเคร่ืองหมายกํากับของวิลคอกซันกรณีกลุมตัวอยางไมเปนอิสระตอกัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test) โดยแปลความหมายของผลการทดสอบความแตกตางของคะแนนเชนเดียวกับขอ 3

สรุปผลการวิจัย

การวิจยัคร้ังนี้ ผลการวิจัยพบวา 1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน มีประสิทธิภาพ 80.67/81.33 ซ่ึงเปนไปตามเกณฑท่ีกําหนดไว 80/80 เปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 1

2. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 มีดัชนีประสิทธิผล เทากับ 0.29 ซ่ึงมีคาดัชนีประสิทธิผลนอยกวา 0.5 ไมเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 2 3. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 มี ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ท่ีระดับ .05 เปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 3

4. นักเรียนท่ีไดรับการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมีความคงทนในการเรียนรู เปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 4

Page 105: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

101

อภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจยัเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพวิเตอรชวยสอน เร่ืองฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สามารถนํามาอภิปรายผลไดดังนี ้ 1. จากผลการวิจัยขอท่ี 1 ท่ีพบวา บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีผูวิจัยสรางข้ึนมีประสิทธิภาพตามเกณฑท่ีกําหนด 80/80 ตามสมมติฐานท่ีต้ังไว โดยมีคาประสิทธิภาพเฉล่ียเปน 80.67/81.33 ซ่ึงมีคาประสิทธิภาพของผลลัพธสูงกวาคาประสิทธิภาพของกระบวนการ ท้ังนี้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีสรางข้ึนมีการออกแบบท่ีใชงานงาย ใชภาษาการส่ือสารท่ีชัดเจน มีการเรียงลําดับเนื้อหาจากงายไปหายาก มีการเรียงลําดับข้ันตอนในการนําเสนอมีรูปภาพประกอบ และมีแบบทดสอบประจําหนวยท่ีนาสนใจ เปนผลทําใหบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมีประสิทธิภาพของผลลัพธสูงกวาประสิทธิภาพของกระบวนการ ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของ ธวัช วันชูชาติ (2546) ชัยวัฒน บํารุงจิตต (2547) ปกรณ กัลปดีและบังอร มากดี (2547) และหัทยา เข็มเพ็ชร (2548) 2. จากผลการวิจัยขอท่ี 2 ท่ีพบวา บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 มีดัชนีประสิทธิผล เทากับ 0.29 ซ่ึงมีคาดัชนีประสิทธิผลนอยกวา 0.5 ไมเปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว ท้ังนี้อาจเปนเพราะ บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีสรางข้ึนเปนแบบเสนตรง ทําใหผูเรียนตองเรียนรูเนื้อหาเปนลําดับตามหนวยการเรียน อีกท้ังผูเรียนไมสามารถกลับไปทบทวนเนื้อหาในหนวยการที่เรียนผานมาแลวได จึงเปนผลทําใหมีคาดัชนีประสิทธิผลตํ่ากวาเกณฑ 3. จากผลการวิจัยขอท่ี 3 ท่ีพบวา นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีเรียนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว ท้ังนี้เปนเพราะ การสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนทําใหนักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากข้ึน มีความต้ังใจในการเรียนรู อีกท้ังยังมีความสนุกสนานในการเรียน จึงสงผลใหนักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของ ธวัช วันชูชาติ (2546) นงเยาว เอ่ียมภาคีนิวัฒน (2547) และหัทยา เข็มเพ็ชร (2548) 4. จากผลการวิจัยขอท่ี 4 ท่ีพบวา นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 2 ท่ีเรียนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ฮารดแวรและเทคโนโลยีส่ือสารขอมูล มีความคงทนในการเรียนรู ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว ท้ังนี้เปนเพราะ การสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมีทําใหนักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู มีความสนุกสนานในการเรียน และมีการสรุปเนื้อหาสาระที่สําคัญ อีกท้ังนักเรียนสามารถยอนกลับไปเรียนเนื้อหาท่ียังไมมีความเขาใจ ทําใหนักเรียนมีการเช่ือมโยงความรูเกาและความรูใหมเขาดวยกัน จึงสงผลใหนักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของ สมนึก กาเกษ (2543)

Page 106: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

102

ขอเสนอแนะ

ขอเสนอแนะท่ัวไป

1. ในการสรางบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เพื่อนําไปใชใหเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ควรมีการแบงเนื้อหาออกเปนสวนยอย ๆ แลวนําเนื้อหาท่ีสัมพันธกันมาบูรณาการเขาดวยกัน ไมควรมีเนื้อหามากเกินไปใน 1 หนาการนําเสนอ และควรมีภาพประกอบเพื่อความนาสนใจในการเรียน 2. ในการสรางบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ใหมีดัชนีประสิทธิผลไมนอยไปกวา 0.5 นั้น ควรออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนแบบสาขา เพื่อนักเรียนสามารถกลับไปทบทวนความรูในหนวยการเรียนท่ีผานมาได 3. กอนท่ีจะนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนไปใช ควรมีการแนะนําใหนักเรียนเขาใจวิธีการเรียนกอน เพื่อนักเรียนจะไดไมเกิดความสับสนหรือไมเขาวิธีเรียนอาจสงผลใหนักเรียนไมประสบผลสําเร็จในการเรียนได 4. เคร่ืองคอมพิวเตอรท่ีนําเสนอบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ควรเปนเคร่ืองคอมพิวเตอรท่ีมีสมรรถภาพปานกลาง คือ มีความเร็ว ซีพียู อยางนอย 2.0 GHz แรม 128 MB ฮารดดิสก 40 GB การดแสดงผล 64 MB เปนอยางตํ่า เพื่อท่ีการนําเสนอบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเปนไปดวยความราบร่ืน

5. เคร่ืองคอมพิวเตอรท่ีใชในการนําเสนอบทเรียนควรมีการตอลําโพง หรือหูฟงใหกับนักเรียนดวย เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนชุดนี้มีเสียงบรรยายประกอบบทเรียน และมีเสียงปอนกลับเม่ือผูเรียนทํากิจกรรมการเรียน 6. เพื่อใหการเรียนการสอนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเปนไปดวยความราบร่ืน กอนการทดลองควรมีการตรวจสอบอุปกรณ และอุปกรณตอพวงท่ีใชในการทดลอง

ขอเสนอแนะเพื่อการวิจัยคร้ังตอไป

1. ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ในเร่ืองอ่ืนในกลุมสาระการเรียนรูการงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุมสาระอ่ืน ๆ เพื่อใหการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงคของหลักสูตรอยางมีประสิทธิภาพ

2. ควรมีการวิจัยติดตามผลประเมินการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีสรางข้ึนอยางตอเนื่องตอไป และควรมีการนําเสนอบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ผานทางเว็บไซต เพื่อจะชวยเผยแพรบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนใหแพรหลายมากข้ึน

3. ควรมีการศกึษาวจิัยเปรียบเทียบการสอนโดยใชบทเรียนคอมพวิเตอรชวยสอน กับวิธีสอนแบบอ่ืน ๆ

********************

Page 107: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

103

รายการอางอิง

กิดานันท มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพคร้ังท่ี 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน บํารุงจิตต. (2547). การทําลองใชคอมพิวเตอรชวยสอนท่ีมีการชี้นําแบบเคล่ือนไหวและแบบกระพริบอยูกับท่ีในการสอนวิชาเขียนแบบเทคนิค. (Online). Available : http://dcms.thailis.or.th/ dcms/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=67208

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอรชวยสอน. กรุงเทพมหานคร : วงกมลโพรดักชัน. ธรรมเกียรติ กันอริ. (2543). พลิกสถานการณบนพื้นฐานกฎหมายปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. ธวัช วันชูชาติ. (2546). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง การจําแนกคําในภาษาไทย สําหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 1. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, นครสวรรค : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.

นงเยาว เอ่ียมภาคีนิวัฒน. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนบนอินเตอรเน็ต เร่ือง ฐานขอมูลเบื้องตน. (Online). Available : http://dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php? institute_code=

6&option =show&bib=263&query=คอมพิวเตอรชวยสอน&doc_type=28

ปกรณ กัลปดี และ บังอร มากดี. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาฐานขอมูลเบ้ืองตนสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. (Online). Available : http://dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php

วชิระ วิชชุวรนันท. (2544). คูมือการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน. กําแพงเพชร : สถาบันราชภัฎกําแพงเพชร.

วิชาการ, โรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา. (2549). ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ปการศึกษา 2549. นครสวรรค : โรงเรียนบานตลุกขอยน้ํา.

สมนึก การเกษ. (2543). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน วิชาคณิตศาสตร เร่ือง เศษสวน ชั้นประถมศึกษาปท่ี 5. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หัทยา เข็มเพ็ชร. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 2. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, นครสวรรค : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.

อติพล มูลอามาตย. (2544). การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เร่ือง เลขยกกําลัง วิชาคณิตศาสตรสําหรับชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 3. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. ขอนแกน : มหาวิทยาลัยขอนแกน.

********************

Page 108: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

104

ผลของการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรท่ีสงผลตอความสามารถทางศิลปะและความคิดสรางสรรคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 2*

รัตนภรณ สังฆะมณีย**

ผศ.ดร.บัญญัติ ชํานาญกิจ***

ผศ.วชิระ วิชชุวรนันท****

บทคัดยอ การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงคเพ่ือเปรียบเทียบ 1) ความสามารถทางศิลปะของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 กอนและหลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร 2) ความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 กอนกับหลัง การใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร 3) ความคิดสรางสรรคหลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 ที่มีระดับความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะแตกตางกัน กลุมตัวอยางคือ นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนเซนต ฟรังซีสเซเวียรมัธโนทัย สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาตาก เขต 1จํานวน 30 คน ซึ่งไดมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใชในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรูโดยการใชกิจกรรมการวาดภาพบนคอมพิวเตอร แบบทดสอบความสามารถทางศิลปะ แบบวัดความคิดสรางสรรค สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูลคือ คาเฉล่ีย คาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คาสถิติทดสอบที และ การวิเคราะหความแปรปรวน ผลการวิจัยพบวา 1. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 ที่ไดรับการสอนโดยการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร มีความสามารถทางศิลปะหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 ที่ไดรับการสอนโดยการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร มีความคิดสรางสรรคหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที่ 2 ที่มีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะตางกัน ที่ไดรับการสอนโดยใหกิจกรรมการวาดภาพบนคอมพิวเตอรมีความคิดสรางสรรคแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผูเรียนที่มีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับสูง และปานกลางจะมีความคิดสรางสรรคมากกวาผูเรียนที่มีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับออน และเมื่อพิจารณาตามลักษณะการคิดของความคิดสรางสรรคปรากฏวา มีความคิดคลองเพียงความคิดเดียวที่แตกตางกัน โดยพบวา ผูเรียนที่มีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับสูงและระดับปานกลาง มีความคิดคลองมากกวาผูเรียนที่มีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับตํ่า

คําสําคัญ: ความสามารถทางศิลปะ/ ความคิดสรางสรรค

*วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎกําแพงเพชร พ.ศ. 2551 ** ครูโรงเรียนเซนตฟรังซิสซาเวียร จังหวัดตาก *** ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธหลัก) **** ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธรวม)

Page 109: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

105

The Effect of Using Drawing Pictures by Computer Program on Art Abilities and Creativity Thinking of Students in Prathomsuksa 2

Ratanaporn Sungkamanee

Asst. Prof. Dr. Banyat Chamanaki

Asst. Prof. Wachira Witchuworanan

Abstract The purposes of this study were 1) to compare the art abilities of Prathomsuksa 2 students, before and after they were taught by the activity of drawing pictures by computer program, 2) to compare the creativity thinking of Prathomsuksa 2 students, before and after they were taught by the activity of drawing pictures by computer program, and 3) to compare the creativity thinking of Prathomsuksa 2 students, who were in different groups, after they were taught by the activity of drawing pictures by computer program. The sample consisted of 30 Prathomsuksa 2 students of Saint Francis Xavier Mathanothia shool under the Office of Basic Educational Service, Tak, Zone 1 during the second semester of 2007 academic year. They were selected by way of purposive sampling. The instruments used in this study were a lesson plan using a computer drawing program, a creativity thinking test and an art ability test. The data were analyzed employing the means, the standard deviation , the t-test and the ANOVA. The results of the study were: 1. The art abilities of students who were taught by the activity of drawing pictures by computer program was significantly higher than that of the pretest at the significance level of .05. 2. The creativity thinking of students who were taught by the activity of drawing pictures by computer program was significantly higher than that the pretest at the significance level of .05. 3. The creativity thinking of students with different abilities in art who were taught by the activity of drawing pictures by computer program was significantly higher than that of the pretest at the significance level of .05. The creativity thinking of students who were in the good and average group were higher than that of the students in the poor group. Especially, in the aspect of fluency thinking, it was found that students who were in the good and average group were at the higher level than the students in the poor group.

Keywords : Art Abilities/ Creativity Thinking

Page 110: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

106

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลาวไววา ความเจริญกาวหนาทางวิทยาการดานตาง ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัฒน มีผลตอการเปล่ียนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศรวมท้ังประเทศไทยดวย จึงมีความจําเปนท่ีจะตองปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ ซ่ึงถือเปนกลไกสําคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศเพื่อสรางคนไทยใหเปนคนดี มีปญญามีความสุข มีศักยภาพพรอมท่ีจะแขงขันและรวมมืออยางสรางสรรคในเวทีโลก ผูเรียนมีสิทธิไดรับการพัฒนาขีดความสามารถ การใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกท่ีทําได เพื่อใหมีความรูและทักษะเพียงพอท่ีจะใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรูดวยตนเองไดอยางตอเนื่องตลอดชีวิต หลักสูตรสาระการเรียนรู การงานอาชีพและเทคโนโลยี มุงเนนใหผูเรียนไดเขาใจถึงคุณคา และใชกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบคนขอมูล การเรียนรู การส่ือสาร การแกปญหาสามารถตัดสินใจเลือกใชเทคโนโลยีในทางสรางสรรค มีความคิดสรางสรรค และทักษะในการใชเทคโนโลยี การพัฒนาประเทศใหสอดคลองกับความเจริญกาวหนาตาง ๆ ท้ังทางดานเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยี ซ่ึงมีความเปล่ียนแปลงอยางรวดเร็ว จึงจําเปนตองอาศัยพลเมืองของชาติท่ีมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเพ่ือใหอยูในสังคมไดอยางมีความสุข เปนกําลังท่ีสําคัญของชาติในการพัฒนาประเทศใหเจริญกาวหนาตอไปในอนาคต และบุคคลดังกลาวควรเปนบุคคลท่ีมีความรู ความคิด และมีความสามารถในการแกปญหาตาง ๆ ท้ังนี้เพื่อใหสามารถพัฒนาประเทศไดอยางสอดคลองกับการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึน (สุเมตตา คงสง 2543 : 1) การศึกษานับเปนรากฐานท่ีสําคัญท่ีสุดประการหนึ่งในการสรางสรรคความเจริญกาวหนา และแกปญหาในสังคมได เนื่องจากศึกษาเปนกระบวนการท่ีชวยใหคนพัฒนาตนเองไดในดานตาง ๆ ตลอดชวงชีวิตต้ังแตการวางรากฐานพัฒนาการต้ังแตเกิด การพัฒนาศักยภาพและความสามารถดานตาง ๆ ท่ีจะดํารงชีวิตประกอบอาชีพไดยางมีความสุข รูเทาทันการเปล่ียนแปลงรวมเปนพลังสรางสรรคการพัฒนาประเทศไดอยางยั่งยืน (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ 2540 : 2) ดังนั้นบทบาทของการศึกษา จึงตองพัฒนาบุคคลใหมีความรูความสามารถในการคิดพิจารณาและแกปญหาอยางรอบคอบ มีเหตุมีผล (วรรณา บุญฉิม 2541: 1) มีระบบและยุทธวิธีในการคิดรูจักแสวงหาขอมูล ประมวลผลขอมูล จัดระบบขอมูลและตัดสินใจดวยตนเอง (มลิวัลย สมศักดิ์ 2540 : 2) ซ่ึงตรงกับความมุงหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ไดกําหนดไวในมาตรา 7 วา ในกระบวนการเรียนรูตองมุงใหผูเรียนมีความคิดริเร่ิมสรางสรรค คิดเปนแกปญหาเปน เพื่อจะนําความรูไปใชในการแกปญหาอยางมีระบบและสามารถดํารงชีวิตอยูรวมกับผูอ่ืนในสังคมไดอยางมีความสุข (ราชกิจจานุเบกษา 2542 : 9-10) ความคิดสรางสรรค เปนส่ิงสําคัญยิ่งสําหรับมนุษย นับเปนคุณลักษณะท่ีมีคุณภาพมากกวาความสามารถดานอ่ืน ๆ และเปนคุณสมบัติท่ีพึงปรารถนาในทุกสังคม สังคมใด ประเทศใดท่ีสามารถ

Page 111: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

107

แสวงหา พัฒนา และดึงเอาศักยภาพเชิงสรางสรรคของประชาชาติมาใชประโยชนมากเทาใด ก็ยิ่งมีโอกาสพัฒนา และเจริญกาวหนาไดมากเทานั้น ท้ังนี้เพราะความคิดสรางสรรคเปนคุณลักษณะท่ีกอใหเกิดประโยชน การสงเสริมและพัฒนาความคิดสรางสรรคของนักเรียนสามารถสงเสริมและพัฒนาไดดวยการฝกฝน อบรมและสรางบรรยากาศ การจัดส่ิงแวดลอมท่ีสงเสริมความเปนอิสระในการเรียนรู (สุเมตตา คงสง 2543 : 2 ) รูปแบบการสอนวิธีการตาง ๆ เพื่อพัฒนาความคิดสรางสรรคไดพัฒนาข้ึนโดยเฉพาะอยางยิ่งการฝกจะมีความสําคัญอยางยิ่งตอความคิดสรางสรรค เราสามารถพัฒนาความคิดสรางสรรคไดดวยกระบวนการฝก การฝกความสามารถเพ่ือพัฒนาความคิดสรางสรรค เชน การฝกแกปญหาในทางสรางสรรค การใชเทคนิคระดมสมอง การใชแบบฝกวาดภาพ การเลนเกม การใชบทเรียนสําเร็จรูป หรือแบบฝกความคิดสรางสรรค จากรายงานผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานของโรงเรียนเซนตฟรังซีสเซเวียรมัธโนทัย มาตรฐานท่ี 4 คือ ผูเรียนมีความสามารถในความคิดสรางสรรค ผลประเมินอยูในระดับตํ่ากวาเกณฑ (สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องคการมหาชน 2548 : 19) ซ่ึงมีความจําเปนตองพัฒนาทักษะความคิดสรางสรรคใหกับผูเรียนโดยการจัดกิจกรรมท่ีสงเสริมและกระตุนใหนักเรียนเกิดความคิดสรางสรรค การเรียนวิชาศิลปะมุงเนนการสงเสริมใหมีความคิดริเร่ิมสรางสรรค มีจินตนาการทางศิลปะ ช่ืนชมความงาม สุนทรียภาพ ความมีคุณคา ซ่ึงมีผลตอคุณภาพชีวิตมนุษย ดังนั้นกิจกรรมศิลปะสามารถนําไปใชในการพัฒนาผูเรียนโดยตรงท้ังดานรางกาย จิตใจ สติปญญา และแสดงออกในเชิงสรางสรรค พัฒนากระบวนการรับรูทางศิลปะการเห็นภาพรวม การสังเกตรายละเอียด สามารถคนพบศักยภาพของตนเอง อันเปนพื้นฐานในการศึกษาตอหรือประกอบอาชีพไดดวยการมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย สามารถทํางานรวมกันไดอยางมีความสุข (แนวทางการวัดผลและประเมินผล กระทรวงศึกษาธิการ 33 : 2545)

ศิลปะเปนส่ิงท่ีมนุษยสรางข้ึนเพื่อแสดงออกซ่ึงอารมณ ความรูสึกนึกคิด หรือความงามซ่ึงสัมผัสไดดวยสัมผัสท้ัง 5 การแสดงออกในงานศิลปะข้ึนอยูกับอารมณ ความรูสึก ความสนใจมีความคิดสรางสรรคอยางอิสระใหเกิดสุนทรียและความงาม ศิลปะเปนส่ิงสนองตอบตอความเช่ือและความศรัทธา การจัดการเรียนการสอนศิลปะมิไดมุงใหผูเรียนเปนศิลปะ แตเนนใหทุกคนเกิดพัฒนาการดานบุคลิกภาพ และสรางคุณภาพของงานส่ิงสําคัญท่ีเขาเกี่ยวของกับศิลปะคือวุฒิภาวะของคน การพัฒนาดานศิลปะจะเปนไปตามข้ันตอนตามวัน เชน 6-8 ป กลามเน้ือมือและสายตามเร่ิมประสานกันไดดี มีความสนใจในระยะส้ัน ๆ เกี่ยวกับส่ิงใกลตัว ไมพรอมกับงานท่ีละเอียดซับซอนทางความคิดสรางสรรค มีจินตนาการที่แปลกสามารถวางแผนไดลวงหนา

Page 112: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

108

กิจกรรมสรางสรรคหรือกิจกรรมศิลปะ เปนกิจกรรมท่ีมีวัตถุประสงคสําคัญขอหนึ่งคือ เพื่อพัฒนาความคิดสรางสรรคและจินตนาการสําหรับเด็ก รุสชอฟและสวอรทซ (Rueschoff and Swartz, อางใน วุฒิ วัฒนสิน 2539 : 64) กลาววา ศิลปศึกษาเปนวิชาท่ีเปดโอกาสใหผูเรียนไดพัฒนาศักยภาพดานความคิดสรางสรรคของผูเรียนแตละคนโดยตรงและกิจกรรมทางศิลปะชวยใหผูเรียนกลาแสดงออกซ่ึงความคิดสรางสรรคดวยตนเอง

การสงเสริมและพัฒนาความคิดสรางสรรคของนักเรียน สามารถสงเสริมและพัฒนาไดดวยการฝกฝน อบรมและสรางบรรยากาศ การจัดส่ิงแวดลอมท่ีสงเสริมความเปนอิสระในการเรียนรู (สุเมตตา คงสง 2543 : 2, อางอิง อารี รังสินันท 2532 : 37) รูปแบบการสอนวิธีการตาง ๆ เพื่อพัฒนาความคิดสรางสรรคไดพัฒนาข้ึนโดยเฉพาะอยางยิ่งการฝกจะมีความสําคัญอยางยิ่งตอความคิดสรางสรรค ซ่ึง ทอแรนซ (Torrance 1973,อางถึงใน ทองเลิศ บุญเชิด 2541 : 2) เช่ือวา เราสามารถพัฒนาความคิดสรางสรรคของบุคคลไดดวยกระบวนฝก การฝกสามารถพัฒนาความคิดสรางสรรคของบุคคลได เชน การฝกแกปญหาในทางสรางสรรค การใชเทคนิคระดมสมอง การใชแบบฝกวาดภาพ การเลนเกม การใชบทเรียนสําเร็จรูปหรือชุดฝกความคิดสรางสรรค การฝกความไวในการรูสึก (Sensitivity Training) วิธีซินเนคติคส (Synectic)

โปรแกรมวาดภาพทางคอมพิวเตอร (โปรแกรม Paint) เปนโปรแกรมสําเร็จรูปพื้นฐานท่ีสามารถใชงานไดงายและมีคุณสมบัติในการใชงานดานสี รูปทรงตาง ๆ ไดดีซ่ึงเอ้ือตอการพัฒนาความสามารถทางศิลปะและความคิดสรางสรรค ดวยเหตุผลดังกลาว ผูวิจัยจึงสนใจที่จะทดลองใชกิจกรรมโปรแกรมการวาดภาพบนคอมพิวเตอรเพื่อศึกษาดูวาจะมีผลตอความสามารถทางศิลปะและความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 อยางไรบาง อีกท้ังเปนการจัดการเรียนการสอนท่ีสอดคลองกับหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

จุดมุงหมายของการวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้มีจุดมุงหมายเพื่อ 1. เปรียบเทียบความสามารถทางศิลปะของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 กอนกับหลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร 2. เปรียบเทียบความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 กอนกับหลัง การใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร 3. เปรียบเทียบความคิดสรางสรรคหลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีมีระดับความสามารถพื้นฐานทางศิลปะแตกตางกัน

Page 113: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

109

สมมติฐานของการวิจัย

1. ความสามารถทางศิลปะของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 หลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรสูงกวากอนการใชกิจกรรม

2. ความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 หลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรสูงกวากอนการใชกิจกรรม

3. นักเรียนประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีมีระดับความสามารถพื้นฐานทางศิลปะแตกตางกันมีความคิดสรางสรรคหลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรแตกตางกัน

กรอบแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

ทฤษฎีความคิดสรางสรรคของกิลฟอรด (Guilford 1969 : 145 – 151, อางถึงใน อารี รังสินันท 2532 : 29 – 32) ไดอธิบายวา ความคิดสรางสรรคเปนความสามารถทางสมองท่ีคิดไดกวางไกลหลายทิศทางท่ีเรียกวาการคิดอเนกนัย หรือการคิดแบบกระจาย (Divergent thinking) มีองคประกอบดังนี้ 1. ความคิดคลองตัว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดท่ีไมซํ้ากันในเร่ืองเดียวกัน มีความสําคัญตอการแกปญหาเพราะในการแกปญหาจะตองแสวงหาคําตอบหรือวิธีแกไขหลาย ๆ วิธี และตองนําวิธีการเหลานั้นมาทดลองจนกวาจะพบวิธีการท่ีถูกตองตามตองการเปนความสามารถอันดับแรกท่ีจะนําไปสูความคิดท่ีมีคุณภาพหรือความคิดสรางสรรค 2. ความคิดริเร่ิม (Originality) ลักษณะความคิดแปลกใหมแตกตางจากความคิดธรรมดา หรือความคิดงาย ๆ ความคิดริเร่ิมหรือท่ีเรียกวา wild idea เกิดจากการนําเอาความรูเดิมมาคิดดัดแปลงและประยุกตใหเกิดเปนส่ิงใหมข้ึน เชน การคิดเคร่ืองบินไดสําเร็จก็ไดแนวคิดจากการทําเคร่ืองรอนซ่ึงเปนความคิดท่ีเปนประโยชนท้ังตอตนเองและสังคม 3. ความคิดยืดหยุน (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของขอความคิดแบงออกเปนความคิดยืดหยุนท่ีเกิดข้ึนทันที (Spontaneous Flexibility) เปนความสามารถท่ีเพิ่มพูนศักยภาพของบุคคลที่จะพยายามคิดใหหลายอยาง อยางอิสระ และความคิดยืดหยุนสามารถปรับปรุงทางดานการดัดแปลง ซ่ึงมีประโยชนตอการแกปญหา จะคิดไดไมซํ้ากัน 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เปนคุณลักษณะท่ีจําเปนในการสรางผลงานท่ีมีความแปลกใหมเปนพิเศษใหสําเร็จ

Page 114: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

110

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยเชิงทดลองเบ้ืองตน (Pre-experiment Design) ใชแผนแบบการทดลองแบบกลุมเดียวสอบกอน-สอบหลัง (One Group Pretest–posttest Design)

ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากร ไดแก นกัเรียน ช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 สังกัดสํานักงานเขตพืน้ท่ีการศึกษาตากเขต 1 กลุมตัวอยาง ไดแก นักเรียน ช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนเซนตฟรังซีสเซเวียรมัธโนทัย สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาตาก เขต จํานวน 30 คน โดยการแบงตามระดับความสามรถพื้นฐานทางศิลปะเปน 3 ระดบั ตัวแปรท่ีศึกษา 1. ตามวัตถุประสงคขอท่ี 1 และ 2

1.1 ตัวแปรอิสระคือ การใชกจิกรรมโปรแกรมวาดบนคอมพิวเตอร 1.2 ตัวแปรตาม คือ ความสามารถทางศิลปะ ความคิดสรางสรรค 2. ตามวัตถุประสงคขอท่ี 3

2.1 ตัวแปรอิสระคือ ความสามารถพื้นฐานทางศิลปะ 2.2 ตัวแปรตาม คือ ความคิดสรางสรรค เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้ประกอบดวย

1. แผนการจัดการเรียนรู จํานวน 12 แผน โดยมีคุณภาพอยูในระดับเหมาะสมมาก 2. แบบทดสอบความสามารถทางศิลปะ จํานวน 30 ขอ ซ่ึงมีความยากงายอยูระหวาง 0.30-0.80 คาอํานาจจําแนกระหวาง 0.21-0.78 และมีคาความเช่ือม่ันเทากับ 0.95

3. แบบวัดความคิดสรางสรรค ผูวิจัยไดใชแบบทดสอบความคิดสรางสรรคโดยอาศัยรูปภาพเปนส่ือแบบ ก ของทอแรนซ (Torrance Test of Creative Thinking Figural Form A) ซ่ึงแปลเปนภาษาไทยและปรับปรุงโดย รศ.ดร.อารี พันธมณี (กรมการฝกหัดครู. 2522: 48-51)

การเก็บรวบรวมขอมูล

1. จัดแบงกลุมนักเรียนตามความสามารถพื้นฐานทางศิลปะ แบงออกเปน 3 กลุม คือ กลุมสูง กลุมปานกลาง และกลุมตํ่า 2. ผูวิจัยทําการทดสอบความสามารถทางศิลปะ และความคิดสรางสรรคกอนการทดลองโดยใชแบบทดสอบวัดความสามารถทางศิลปะ ท่ีผูวิจัยสรางข้ึน และแบบทดสอบวัดความคิดสรางสรรค ตรวจเก็บคะแนนไวเพื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบหลังการทดสอบ

Page 115: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

111

3. ดําเนินการทดลองซ่ึงผูวิจัยเปนผูทําการทดลองดวย โดยใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร โดยผูวิจัยเปนผูดําเนินการสอนดวยตนเอง ระยะเวลาท่ีใชในการทดลอง คร้ังนี้จะใชเวลาในการทดลอง 12 คร้ัง คร้ังละ 1 ช่ัวโมง 40 นาที เปนเวลา 12 สัปดาห ในภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2550

4. ผูวิจัยทําการทดสอบหลังการทดลองโดยใชแบบทดสอบ วิธีการทดสอบ และวิธีการตรวจใหคะแนน เชนเดียวกับการทดสอบกอนการทดลอง และตรวจใหคะแนนหลังการทดลอง

การวิเคราะหขอมูล

ผูวิจัยไดดําเนนิการวิเคราะหขอมูล ตามวตัถุประสงคของการวิจยัดังนี้ 1. การเปรียบเทียบความสามารถทางศิลปะของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 กอนกับหลัง การใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร ใชการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกัน (t-test

for Dependent Samples) วิเคราะหดวยโปรแกรมสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตรบนวินโดวส (Statistical Package for Social Science Research for Windows ; SPSS/fw)

2. การเปรียบเทียบความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 กอนกับหลัง การใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร ใชการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกัน

วิเคราะหดวยโปรแกรมสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตรบนวินโดวส 3. การเปรียบเทียบความคิดสรางสรรคหลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีมีระดับความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะแตกตางกัน โดยใชการวิเคราะหความแปรปรวน (Analysis of Variance) และการทดสอบรายคูดวยวิธีของ Sheffe

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยคร้ังนี้สรุปไดดังนี ้ 1. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรมีความสามารถทางศิลปะหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

2. นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรมีความคิดสรางสรรคหลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ท้ังในภาพรวมและรายดานทุกดาน 3.นักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีมีระดับความสามารถพื้นฐานทางศิลปะแตกตางกันหลังการไดรับการสอนโดยใหกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร มีความคิดสรางสรรคหลังเรียนแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ี .05 และมีความแตกตางกันในดานความคิดคลองดานเดียว โดยนักเรียนท่ีมีความสามารถทางศิลปะระดับสูงและปานกลางมีความคิดสรางสรรคหลังเรียนสูงกวานักเรียนท่ีมีความสามารถทางศิลปะระดับตํ่า อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

Page 116: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

112

อภิปรายผลการวิจัย

ผลของการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรท่ีสงผลตอความสามารถทางศิลปะและความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 สามารถแยกประเด็นหลักและนํามาอภิปรายไดดังนี ้ 1. ความสามารถทางศิลปะของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 1 แสดงใหเห็นวาการจัดกิจกรรมการการสอนโดยใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรทําใหความสามารถทางศิลปะของนักเรียนสูงข้ึน ท้ังนี้เนื่องจาก กิจกรรมการเรียนการสอนท่ีจัดข้ึนเปนกิจกรรมท่ีสอดคลองกับความสนใจ ความสามารถของผูเรียน สงเสริมใหผูเรียนไดแสดงออกโดยใชความคิดอยางอิสระ ซ่ึงสอดคลองกับหลักเกณฑการจัดการเรียนการสอนของกรมวิชาการ (2535 : หนา 39)

ท่ีระบุวา ครูควรคํานึงถึงพัฒนาการและความสนใจของผูเรียน มีการเสริมแรงโดยการชมเชยผูเรียนอีกท้ังโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรเปนโปรแกรมสําเร็จรูปสามารถใชงานไดงาย ทําใหผูเรียนวัยนี้ ซ่ึงเปนวัยท่ีมีความสนใจในเวลาอันจํากัด สามารถสรางผลงานตามท่ีตนเองตองการไดสําเร็จในเวลาอันส้ัน ซ่ึงผลจากการสังเกตของผูสอนในขณะทําการสอน พบวา เม่ือผูเรียนไดทํากิจกรรมผูเรียนมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไมเบ่ือหนายตอการเรียน ประกอบกับไดรับคําชมเชยจากผูสอนจึงทําใหผูเรียนมีความภาคภูมิใจเกิดเปนแรงกระตุนใหผูเรียนมีความสนใจและต้ังใจเรียนมากข้ึนจึงทําใหผูเรียนมีความสามารถทางศิลปะสูงข้ึน ซ่ึงผลการวิจัยดังกลาว สอดคลองกับงานวิจัยของ ปรีชา แกวมาลากุล (2550 : หนา 65) ท่ีแมจะทําการศึกษาทดลองกับผูเรียนในระดับท่ีตางกัน แตผลการทดลองก็เปนไปในทํานองเดียวกันคือ ชวยพัฒนาความสามารถทางศิลปะของผูเรียนใหสูงข้ึน

2. ความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร และเม่ือแยกตามลักษณะของการคิดคือความคิดคลอง ความยืดหยุน ความริเร่ิม และความคิดละเอียดลออ หลังเรียนสูงกวากอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีรับ .01 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 2 แสดงใหเห็นวาการจัดกิจกรรมการสอนโดยใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรทําใหความคิดสรางสรรคของนักเรียนสูงข้ึน ท้ังนี้เนื่องจากกิจกรรมการวาดภาพบนคอมพิวเตอรท่ีผูวิจัยสรางข้ึนเปดโอกาสใหผูเรียนแสดงออกทางความคิดอยางอิสระและมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ท้ังมีการกระตุนและเสริมแรงจากผูสอนซ่ึงผลจากการสังเกตในขณะที่สอนพบวา เม่ือผูเรียนทํากิจกรรมแลวไดรับการกระตุนจากผูสอนโดยวิธีการจูงใจใหคิดผูเรียนสามารถสรางผลงานออกมาไดอยางสรางสรรคมากข้ึน สอดคลองกับงานวิจัยของ ศิริลักษณ จันทอง (2547 : บทคัดยอ) และ ปรีชา แกวมาลากุล (2550 : หนา 67)

พบวาความคิดสรางสรรคของผูเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียนเชนกัน

Page 117: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

113

3. ความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีมีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะตางกัน ท่ีไดรับการสอนโดยใหกิจกรรมการวาดภาพบนคอมพิวเตอรมีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานท่ี 3 แสดงใหเห็นวาความคิดสรางสรรคของผูเรียนอาจมีผลมาจากระดับความสามารถพื้นฐานทางศิลปะของผูเรียน และเม่ือพิจารณาเปรียบเทียบเปนรายคูก็พบวาผูเรียนท่ีมีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับสูง และปานกลางจะมีความคิดสรางสรรคมากกวาผูเรียนท่ีมีความสามารถพื้นฐานทางศิลปะระดับตํ่า เพราะผูเรียนในระดับตํ่าจะไมคอยใชความคิดของตนเอง สังเกตไดจากผูเรียนกลุมนี้มักจะลอกเลียนแบบผลงานของเพ่ือน และจะสรางภาพไดจํานวนนอยและไมแปลกใหม อาจเนื่องมาจากผูเรียนกลุมนี้อาจจะมีประสบการณเดิมของตนเองนอย จึงทําใหไมสามารถคิดสรางผลงานไดอยางหลากหลายและสรางสรรค ซ่ึงสอดคลองกับแอนเดอรสันและคนอ่ืน ๆ (Anderson and Cther

1970 : 90) กลาววา ความคิดสรางสรรคเปนพฤติกรรมของบุคคลซ่ึงแสดงความคิดใหม ๆ อันเปนการกระทําท่ีบุคคลเลือกจากประสบการณท่ีผานมา เปนส่ิงท่ีมนุษยทุกคนเปนเจาของในระดับตาง ๆ กัน

และเม่ือพิจารณาตามลักษณะการคิดของความคิดสรางสรรคปรากฏวา มีความคิดคลองเพียงความคิดเดียวท่ีแตกตางกัน ซ่ึงเม่ือเปรียบเทียบเปนรายคูพบวา ผูเรียนท่ีมีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับเกงและระดับปานกลาง มีความคิดคลองมากกวาผูเรียนท่ีมีความสามารถพ้ืนฐานทางศิลปะระดับออน อาจเปนเพราะผูเรียนกลุมนี้มีประสบการณเดิมอยูนอย สังเกตไดจากที่ผูเรียนกลุมนี้คิดถึงส่ิงของตามกิจกรรมท่ีกําหนดไดจํานวนนอย ซ่ึงสอดคลองกับ เจสดอทสมิท (West call and Smith 1964 : 2) กลาววา ความคิดสรางสรรคเปนขบวนการทางสมองท่ีรวมประสบการณเดิมของแตละคนออกมา ซ่ึงเปนลักษณะของบุคคล และประกอบกับผูเรียนบางคนไมคอยมีทักษะในการใชโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร จึงทําใหผูเรียนมักเสียเวลาในการสรางภาพแตละภาพมาก เปนผลใหนักเรียนคิดจํานวนส่ิงของไดนอย

ขอเสนอแนะ

1. ขอเสนอแนะในการนําผลวิจัยไปใช จากการวิจัยพบวานักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ท่ีไดรับการสอนโดยการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอร โดยผูวิจัยมีขอเสนอแนะในการนําไปใช ดังนี้ 1.1 การสอนโดยการใชกิจกรรมการวาดภาพบนคอมพิวเตอร ครูผูสอนควรศึกษาข้ันตอนการสอนใหเขาใจกอนนําไปใช ควรปรับเนื้อใหสอดคลองกับความสามารถของผูเรียนกอน 1.2 กิจกรรมท่ีสงเสริมความคิดยืดหยุน โดยใหนักเรียนฝกกิจกรรมโดยใชจินตนาการของตนเอง ตามหัวขอท่ีกําหนด เปนกิจกรรมท่ีผูเรียนมีความกระตือรืนรนสนใจและต้ังใจทํากิจกรรม ดังนั้นผูสอนไมควรจํากัดความคิดของผูเรียน ควรปลอยใหผูเรียนคิดอยางอิสระจึงจะทําใหผูเรียนแสดงความสามารถทางดานการคิดไดอยางมีประสิทธิภาพ

Page 118: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

114

1.3 ขณะท่ีผูเรียนกําลังทํากิจกรรมตามใบงานตาง ๆ ผูเรียนบางคนมักเลียนแบบงานของเพ่ือน ผูสอนควรใหคําช้ีแนะและจูงใจใหผูเรียนใชความคิดของตนเองในการสรางงานแลว ชมเชยผลงานเพ่ือเปนการเสริมแรงใหกับผูเรียน

1.4 ผูสอนควรฝกใหนักเรียนใชเคร่ืองมือในโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรใหกับผูเรียนท่ียังไมมีความชํานาญ นอกเวลาเพื่อใหผูเรียนสามารถสรางงานไดตามความคิดของตนเอง

1.5 บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการฝกควรเปนไปดวยความสนุกสนาน ใหอิสระและผูสอนควรกระตุนใหผูเรียนกลาแสดงความคิดของตนเอง

2. ขอเสนอแนะในการทําวิจัยคร้ังตอไป

ควรเพิ่มเวลาท่ีใชในการทดลองการวิจัยท้ังนี้เนื่องจากการวิจัยนี้เปนการศึกษาผลของการใชกิจกรรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรท่ีสงผลตอความสามารถทางศิลปะและความคิดสรางสรรค ตองอาศัยระยะเวลาในการทดลองเพ่ิมมากข้ึน 2.1 ควรศึกษาผลการเปรียบเทียบความคิดสรางสรรคของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 หลังการใชกิจกรรมโปรแกรมวาดภาพบนคอมพิวเตอรกับเกณฑ เพื่อเปนการศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรม 2.2 ควรมีการสรางกิจกรรมท่ีใชสําหรับการฝกความคิดสรางสรรคใหกับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 ในรายวิชาตางๆ เพื่อเปนการพัฒนาความคิดสรางสรรคใหกับนักเรียนอยางตอเนื่อง

********************

รายการอางอิง

กรมการฝกหัดครู. รายงายการวิจัยเร่ืองความคิดสรางสรรคของเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร : หนวยศึกษานิเทศก กรมการฝกหัดครู, 2522.

โครงการพัฒนาส่ือการศึกษาเพื่อสงเสริมการเรียนรูดวยตนเองของนักศึกษา.การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร : คอมฟอรม, 2542.

จุฬาพร โสชาลี. การพัฒนาชุดฝกความคิดสรางสรรคโดยใชเทคนิคการระดมสมอง สําหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปท่ี 5. วิทยานิพนธ ค.ม. กําแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, 2547.

ชาญณรงค พรรุงโรจน. ความคิดสรางสรรค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2546. ดิลก ดิลกานนท. การศึกษาทักษะการคิดเพื่อสงเสริมความคิดสรางสรรค. ปริญญานิพนธ กศม.

กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2534. นภเนตร ธรรมบวร. การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย, 2544.

Page 119: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

115

ประสาท อิสรปรีดา. รายงานการวิจัยการพัฒนาความคิดสรางสรรคดวยกระบวนการฝก. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ, 2532.

ปรีชา แกวมาลากุล. ผลการสอนโดยใชเทคนิคหมวกความคิดหกใบ ท่ีมีตอผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาศิลปศึกษา และความคิดสรางสรรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6. วิทยานิพนธ ค.ม. กําแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, 2550.

ทิศนา แขมณี และคณะ. วิทยาการดานการคิด. กรุงเทพมหานคร : เดอะมาสเตอรกรุปแมเนจเมนท, 2544. ระหัส ธรรมสอน. การพัฒนาแบบฝกการเขียนแบบสรางสรรคสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี1.

วิทยานิพนธ ค.ม. กําแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, 2547.

ยุเวช ทองนวม. การพัฒนาแบบฝกระดับสมองตามแนวคิดของวิลเล่ียมสเพื่อพัฒนาความคิดสรางสรรคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 6. วิทยานิพนธ ค.ม. กําแพงเพชร : มหาวิทยาลัย ราชภัฏกําแพงเพชร, 2547.

สุเมตตา คงสง. การศึกษาความสามารถในการคิดสรางสรรคของเด็กท่ีมีความสามารถพิเศษโดยใชชุดฝกความคิดสรางสรรค. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2543.

แสงระวี นอยประสิทธ์ิ. ความคิดสรางสรรคทางภาษาและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนดานการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 4 ท่ีใชแบบฝกการเขียน เชิงสรางสรรค ท่ี เปนภาพการตูน. ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2539.

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องคการมหาชน). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนเซนตฟงซีสเซเวียรมัธโนทัย , 2548.

สํานักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ความคิดสรางสรรคหลักการทฤษฎกีารเรียน การสอน การวัดผลประเมินผล. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2532.

สํานักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ. การพัฒนาความคิดสรางสรรค. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2540.

ศิริลักษณ จันทอง. การพัฒนาชุดฝกความคิดสรางสรรคสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 1.

วิทยานิพนธ ค.ม. กําแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, 2547. อารี รังสินันท. ความคิดสรางสรรค. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2526. ********************

Page 120: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

116

การพัฒนาหลักสูตรทองถ่ิน เรื่อง โปงลางสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 1 ลําไย ศิริสุวรรณ

รศ.ดร.สมคิด สรอยน้ํา

ดร.ชาติชาย มวงปฐม

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงคเพ่ือพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินเรื่องโปงลาง สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 เพ่ือศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 และ ศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ที่เกิดจากการจัดการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ิน เรื่อง โปงลาง ที่ผูวิจัยพัฒนาขึ้น กลุมตัวอยางเปนนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนบานวาป จํานวน 1 กลุม นักเรียน 20 คน ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2549 ใชเวลา 10 สัปดาห ๆ ละ 2 ช่ัวโมง รวม 20 ช่ัวโมง เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ไดแก แผนการจัดการเรียนรู เรื่อง โปงลาง จํานวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง วิเคราะหขอมูลโดยหาคาเฉล่ีย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกตางของคาเฉล่ียดวยการทดสอบคาทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบวา 1. หลักสูตรทองถ่ิน เรื่อง โปงลาง สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่ผูวิจัยพัฒนาขึ้น ผลการประเมินจากผูเช่ียวชาญ พบวา มีความเหมาะสมและองคประกอบของหลักสูตรมีความสอดคลองกัน 2. นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรทองถ่ิน เรื่อง โปงลาง ท่ีพัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โปงลาง เฉล่ียรอยละ 87.50 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่อง โปงลาง สูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรทองถ่ินเรื่อง โปงลาง ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ดานทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง เฉล่ียรอยละ 86.67

คําสําคัญ: การพัฒนาหลักสูตร/ หลักสูตรทองถ่ิน/ โปงลาง

Page 121: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

117

The Local Curriculum Development Based on “Ponglang” for Mathayomsuksa 1 Students

Lamyai Sirisuwan

Assoc. Prof. Dr. Somkid Sroinam

Dr. Chartchai Muangpathom

Abstract The purposes of this reseach were to develop the local curriculum on Ponglang for Mathayomsuksa 1 students to study and to compare the achievement of the Mathayomsuksa 1 students both before and after learning through the local curriculum and to study the practical skill from the learning activity of the curriculum. The sample of this study consisted of 20 Mathayomsuksa 1 students in the second semester of academic year 2006 at Banwapi School, Kumpawapi District, Udon Thani. The study lasted 10 weeks, with 2 hours in each week. The research instruments were 10 lesson plans, an achievement test and practical skill measurement. The data were analyzed for mean, standard deviation and t-test for dependent samples. The research results can be summarized as follows: 1. The results of using the local curriculum developed by researcher revealed that it was suitable and consistent with curriculum components. 2. The posttest average score of the students learned through the local curriculum based on Ponglang was 87.50 percent. It was significantly higher than the pretest score at the .01 level. 3. The average practical skill score of the students learned through the local curriculum based on Ponglang was 86.67 percent.

Keywords: Curriculum Development/ Local Curriculum/ Ponglang

Page 122: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

118

ความเปนมาและความสําคญัของปญหา จากการปฏิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81 และพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ทําใหผูวิจัยทราบวา รัฐตองการใหมีการสงเสริมและสนับสนุนใหหนวยงานท่ีเกี่ยวของกับการศึกษาท้ังในภาครัฐและเอกชน ไดจัดการศึกษาเพื่อใหเกิดความสอดคลองกับความเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมปจจุบัน สนับสนุนใหมีการวิจัยเกี่ยวกับศิลปวิทยาการตาง ๆ เรงรัดใหพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เพื่อใชพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู สงเสริม ภูมิปญญาทองถ่ิน ศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณีของชนในชาติ ประกอบกับในปจจุบันวัฒนธรรมดนตรีทางตะวันตก ไดเขามามีบทบาทกับวิถีชีวิตของคนไทยท้ังในเมืองและชนบท โดยเฉพาะในกลุมวัยรุน และมีแนวโนมในอนาคตวามรดกทางดนตรีทองถ่ินอีสานของไทยกําลังจะสูญหายไป ซ่ึงหากเปนเชนนั้นจะเปนส่ิงท่ีนาเสียดายเปนอยางยิ่งนอกจากนี้ผูวิจัยยังพบวา ในอดีตท่ีผานมาจนถึงปจจุบัน ระบบการศึกษาของไทยจะเนนการเรียนการสอนเพ่ือใหเด็กไปตอบสนองระบบเศรษฐกิจแผนใหม มีจุดประสงคมุงใหเด็กนําความรูไปใชในดานการบริการ และการอุตสาหกรรมเปนสวนใหญ สวนหลักสูตรทองถ่ินจะมุงตอบสนองการแกปญหาของทองถ่ินและชุมชนเปนหลัก และยังพบอีกวาการจัดการศึกษาของไทย รัฐไมมีปรัชญาของการจัดการศึกษาเกี่ยวกับดนตรีของชนในชาติ ขาดเปาหมาย ไมมีนโยบายท่ีชัดเจน งบประมาณสนับสนุนดานดนตรีมีไมเพียงพอ ท้ัง ๆ ท่ี วิชาดนตรีเปนวิชาพื้นฐานท่ีจะพัฒนาเด็กทางดานรางกาย ทักษะ สมอง และจิตใจ อันจะนําไปสูการเรียนรูวชิาอ่ืน ๆ ไดผลดี จากการศึกษาความรูเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการศึกษาของตางประเทศ ซ่ึงเปนผูนําระดับโลก อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรศิลปะทําใหทราบวา สถานศึกษาทุกแหงจะตองจัดหลักสูตรใหเยาวชนทุกคนมีความรูพื้นฐานทางดนตรี เพราะจากการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติโดยภาพรวมดานความรูพื้นฐานทางดนตรียังตํ่ากวาเกณฑมาตรฐาน จึงควรพัฒนาการศึกษาดังกลาวอยางเรงดวน จากสภาพปจจุบันและปญหาท่ีสอดคลองกันดังกลาว ผูวิจัยจึงมองเห็นความสําคัญของดนตรีท่ีเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชนในทองถ่ิน ซ่ึงจะตองธํารงรักษาเพื่อสืบทอดสูเยาวชน ใหไดเรียนรูเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ท่ีสามารถบรรเลงไดกับเพลงพื้นบานอีสาน และเพลงรวมสมัยในปจจุบัน ใหความสนุกสนาน ไพเราะ มีวิธีการบรรเลงท่ีงาย ๆ ไมซับซอน จึงไดคิดพัฒนาหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลางข้ึนเพื่อใชประกอบการจัดการเรียนรูสําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 โรงเรียนบานวาป อําเภอกุมภวาป จังหวัดอุดรธานี

Page 123: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

119

วัตถุประสงคของการวิจัย การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1. พัฒนาหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 2. เพื่อศึกษาผลการทดลองใชหลักสูตรดังนี้ 2.1 ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง ระหวางกอนเรียน และหลังเรียน 2.2 ศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียนท่ีเรียนโดยใชกิจกรรมการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ินท่ีพัฒนาข้ึน

สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนท่ีเรียนโดยกิจกรรมการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ินท่ีพัฒนาข้ึน มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง ไมนอยกวารอยละ 80 2. นักเรียนท่ีเรียนโดยกิจกรรมการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ินท่ีพัฒนาข้ึน มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง หลังเรียนสูงกวากอนเรียน 3. นักเรียนท่ีเรียนโดยกิจกรรมการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ินท่ีพัฒนาข้ึน มีทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ไมนอยกวารอยละ 80

ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากรเปนนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ภาคเรียนท่ี 2 ปการศึกษา 2549 โรงเรียนบานวาป จํานวน 20 คน ท่ีไดมาโดยวิธีการสุมแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. ตัวแปร ตัวแปรตน ไดแก การจัดกิจกรรมการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง ตัวแปรตาม ไดแก ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาดนตรี เร่ือง โปงลางและทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง

วิธีดําเนินการวิจัย 1. ศึกษาและวิเคราะหขอมูลพื้นฐาน 2. ยกรางหลักสูตร 3. ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร 4. จัดทําเอกสารประกอบหลักสูตร

Page 124: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

120

5. ประเมินเอกสารประกอบหลักสูตร 6. นําหลักสูตรไปใช 7. ประเมินผลการใชหลักสูตร

การเก็บรวบรวมขอมูล 1. ทดสอบกอนเรียนโดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน วิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง กับนักเรียนกลุมตัวอยาง เพื่อนําไปวิเคราะห 2. ดําเนินการสอนนักเรียนกลุมตัวอยาง ตามแผนการจัดการเรียนรูท้ัง 10 แผน ใชเวลา 20 ช่ัวโมง 3. การทดสอบดานความรูกับนักเรียนกลุมตัวอยาง โดยใชแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง ฉบับเดิม และวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง เก็บรวบรวมผลการทดสอบดานความรู และผลการวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง เพื่อนําไปวิเคราะห 4. นําคะแนนท่ีรวบรวมไวจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน และการวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง มาวิเคราะหดวยวิธีการทางสถิติ โดยใชโปรแกรมคอมพิวเตอร SPSS/FW

เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ขอ 3. แบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง มีจํานวน 5 ฉบับ ไดแก 3.1 แบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ลายโปงลาง

3.2 แบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ลายเตยโขง 3.3 แบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ลายเตยพมา

3.4 แบบวดัทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ลายเซ้ิงบ้ังไฟ 3.5 แบบวดัทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ลายศรีโคตรบูรณ

การวิเคราะหขอมูล 1. วิเคราะหขอมูลเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนดานความรูวิชาดนตรี เร่ือง

โปงลาง กอนเรียนและหลังเรียน 2. วิเคราะหขอมูลเพื่อศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน วิชาดนตรี เร่ือง โปงลาง หลังเรียน เทียบกับ

เกณฑการประเมินดานความรู ท่ีผูวิจัยต้ังไว รอยละ 80 ของคะแนนเต็ม 3. วิเคราะหขอมูลเพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ตามหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง

โปงลางของนักเรียนหลังเรียน

Page 125: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

121

สถิติท่ีใชในการวิเคราะหขอมูล สถิติพื้นฐาน ใชคารอยละ คาเฉล่ีย และคาสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน สถิติท่ีใชในการวิเคราะหคุณภาพของเคร่ืองมือ ประกอบดวย 1. การทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการ

เรียน และแบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ใชเทคนิค IOC 2. คาความเช่ือม่ัน ( rtt) ของแบบทดสอบวดัผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน วชิาดนตรี เร่ืองโปงลาง ดวย

สูตร KR-20 ของคูเดอร-ริชารดสัน (Kuder Richardson) 3. สถิติท่ีใชในการทดสอบสมมติฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนตามเกณฑท่ี

กําหนดไว โดยใชการทดสอบคาที แบบกลุมเดียว ( t-test for One Sample Test ) และเปรียบเทียบความแตกตางคาเฉล่ียของผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนกอนเรียนและหลังเรียน วิชาดนตรี เร่ือง โปงลางโดยใชการทดสอบคาที แบบไมเปนอิสระ (t-test for Dependent Samples)

การอภิปรายผล 1. ดานการพฒันาหลักสูตร

จากผลการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ซ่ึงผลการประเมินองคประกอบของหลักสูตร พบวา หลักสูตรทองถ่ินท่ีพัฒนาข้ึนมีความเหมาะสม และสอดคลองกันทุกองคประกอบ ท้ังนี้นาจะมาจากสาเหตุดังตอไปนี้

ประการแรก ผูวิจัยไดศึกษาและวิเคราะหขอมูลพื้นฐานจากสถานการณจริงหลายแหลง กอนท่ีจะนํามากําหนดองคประกอบของหลักสูตรแตละสวนและปรึกษากับคณะกรรมการท่ีปรึกษาพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับขอมูลตางๆ ท่ีจะนํามาบรรจุไวในหลักสูตร

ประการท่ีสอง การยกรางหลักสูตร ผูวิจัยนําขอมูลท่ีไดจากการศึกษาและวิเคราะหขอมูลพื้นฐานมาเขียนเปนโครงรางหลักสูตร ซ่ึงมีองคประกอบสอดคลองกับรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการที่ประกอบดวย หลักการของหลักสูตร จุดมุงหมายของหลักสูตร โครงสรางเนื้อหาสาระ คาบเวลาเรียน แนวดําเนินการ และการวัดและประเมินผล

ประการท่ีสาม การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร สอดคลองกับผลการศึกษาและวิเคราะหขอมูลพื้นฐานท่ีผูวิจัยไดระบุไวในข้ันตอนการศึกษาและวิเคราะหขอมูลพื้นฐาน การตรวจสอบความสอดคลองขององคประกอบของหลักสูตร และความเหมาะสมกับสภาพความตองการของทองถ่ินพบวา หลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนมีความสอดคลองกันระหวางหลักการและเหตุผล จุดมุงหมาย โครงสรางเนื้อหา เวลาเรียน แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู ส่ือการเรียนรู และการวัดและประเมินผล

Page 126: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

122

ประการท่ีส่ี การจัดทําเอกสารประกอบหลักสูตรสอดคลองกับผลการศึกษา และการวิเคราะหขอมูลพื้นฐาน ท่ีไดระบุไวในข้ันตอนการศึกษาและวิเคราะหขอมูลพื้นฐาน ซ่ึงประกอบดวย หลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง แผนการจัดการจัดการเรียนรู จํานวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจํานวน 40 ขอ แบบวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมบรรเลงโปงลาง จํานวน 5 ฉบับ ๆ ละ 6 รายการ และแบบสัมภาษณสําหรับสอบถามผูรู เกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง

ประการท่ีหา ผูวิจัยไดดําเนินการปรับปรุงแกไขรายละเอียดบางสวน ท่ีผูเช่ียวชาญใหคําแนะนํา เชน การจัดภาพประกอบในใบความรู การใชภาษา และการกําหนดจํานวนส่ือการเรียนรู แลวนําไปใชกับกลุมตัวอยาง พบวา การจัดกิจกรรมการเรียนรูในสถานการณจริงทําใหผูเรียนมีความรู ความเขาใจ เกิดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม สามารถเปล่ียนแปลงพฤติกรรมไปตามท่ีหลักสูตรกําหนดไวได

2. ดานผลการนําหลักสูตรไปทดลองใช 2.1 ผลการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน มี 2 ประเด็น คือนักเรียนท่ีเรียนเร่ือง

โปงลาง ตามหลักสูตรทองถ่ินท่ีผูวิจัยพัฒนาข้ึน มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เปนไปตามเกณฑท่ีกําหนด และมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียนท้ังนี้นาจะมาจากสาเหตุดังตอไปนี้

ประการแรก พบวา คะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน มีคาเฉล่ียไมนอยกวารอยละ 80 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจัยขอท่ี 1 ท้ังนี้อาจมีสาเหตุมาจาก หลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนมีกิจกรรมการเรียนรู สาระการเรียนรู

ประการท่ีสอง ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนท่ีเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู ตามหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง ระหวางกอนเรียนและหลังเรียน พบวา มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.01 เปนไปตามสมมติฐานขอท่ี 2 ท้ังนี้อาจเปนเพราะวาหลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึน มีการจัดทําอยางมีระบบเปนไปตามข้ันตอน มีจุดมุงหมายท่ีชัดเจน จัดเนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผูเรียน ไมยากหรืองายเกินไปผานการตรวจสอบจากผูเช่ียวชาญ นอกจากนี้หลักสูตรท่ีผูวิจัยสรางข้ึน ยังมีส่ือท่ีเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู เชน ตัวอยางของจริง ใบความรู ใบงาน วีซีดี และรูปภาพ ทําใหผูเรียนไดเรียนรูจากประสบการณตรง จึงทําใหไดหลักสูตรท่ีความเหมาะสมสําหรับนําไปใชจัดกิจกรรมการเรียนรู และสามารถนําไปใชกับสถานศึกษาอ่ืน ๆ ได

2.2 ผลการศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียน ผลการศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียน จะอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียนท่ีเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู เร่ือง โปงลาง ท่ีทําใหนักเรียนมีทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง หลังเรียน เฉล่ีย 20.80 คิดเปนรอยละ 86.67 คาสวนเบ่ียงเบนมาตรฐานเฉล่ียเทากับ 1.29 ท้ังนี้อาจเปนสาเหตุดังตอไปนี้

Page 127: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

123

ประการแรก หลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนไดจัดกิจกรรมฝกทักษะโดยการปฏิบัติจริง เรียงลําดับจากงายไปหายาก เนนผูเรียนเปนสําคัญ ในข้ันตอนการฝกทักษะปฏิบัติ กิจกรรมการบรรเลงโปงลาง นักเรียนไดมีโอกาสลองผิดลองถูกแลวนําไปแกปญหาใหกับตนเองและเพื่อนในกลุม แลวนําขอผิดพลาดท้ังของตนเองและเพื่อน มาแกไขปรับปรุงจนทําใหเกิดการเรียนรูในทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางเพ่ิมมากข้ึน และนําไปใชประโยชนในการปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางในคร้ังตอไป นักเรียนมองเห็นความกาวหนาในการปฏิบัติ กิจกรรมการบรรเลงโปงลางของตนเองเปนระยะ สงผลใหนักเรียนมีคะแนนทักษะปฏิบัติ กิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียนสูงข้ึนตามลําดับ ขณะเดียวกันบรรยากาศในช้ันเรียนท่ีเปนไปดวยความสนุกสนาน ไมตึงเครียด นักเรียนมีความสุขในการปฏิบัติกิจกรรมท่ีหลากหลายซ่ึงแทรกอยูในทุกแผนการจัดการเรียนรู ไดฝกปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางไดดวยการปฏิบัติจริง

ประการท่ีสอง ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนท่ีเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู ตามหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง ระหวางกอนเรียนและหลังเรียนพบวา มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.01 เปนไปตามสมมติฐานขอที่ 2 ท้ังนี้อาจเปนเพราะวาหลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึน มีการจัดทําอยางมีระบบเปนไปตามข้ันตอน มีจุดมุงหมายท่ีชัดเจน จัดเนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผูเรียน ไมยากหรืองายเกินไปผานการตรวจสอบจากผูเช่ียวชาญ นอกจากนี้หลักสูตรท่ีผูวิจัยสรางข้ึน ยังมีส่ือท่ีเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู เชน ตัวอยาง ของจริง ใบความรู ใบงาน วีซีดี และรูปภาพ ทําใหผูเรียนไดเรียนรูจากประสบการณตรง จึงทําใหไดหลักสูตรท่ีความเหมาะสม สําหรับนําไปใชในการจัดกิจกรรมการเรียนรู สามารถนําไปใชกับสถานศึกษาอ่ืน ๆ ได

2.2 ผลการศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียน ผลการศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียน จะอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียน ท่ีเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรูเร่ือง โปงลาง ท่ีทําใหนักเรียนมีทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางหลังเรียน เฉล่ีย 20.80 คิดเปนรอยละ 86.67 คาสวนเบ่ียงเบนมาตรฐานเฉล่ียเทากับ 1.29 ท้ังนี้อาจเปนสาเหตุดังตอไปนี้

ประการแรก หลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนไดจัดกิจกรรมฝกทักษะโดยการปฏิบัติจริง เรียงลําดับจากงายไปหายาก เนนผูเรียนเปนสําคัญ ในข้ันตอนการฝกทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง นักเรียนไดมีโอกาสลองผิดลองถูกแลวนําไปแกปญหาใหกับตนเองและเพ่ือนในกลุม แลวนําขอผิดพลาดท้ังของตนเองและเพื่อน มาแกไขปรับปรุงจนทําใหเกิดการเรียนรูในทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางเพิ่มมากข้ึน และนําไปใชประโยชนในการปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางในคร้ังตอไป นักเรียนมองเห็นความกาวหนาในการปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของตนเองเปนระยะ สงผลใหนักเรียนมีคะแนนทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางของนักเรียนสูงข้ึนตามลําดับ

Page 128: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

124

ประการท่ีสอง พบวา คะแนนเฉลี่ยรวมของการวัดทักษะปฏิบัติกรรมการบรรเลงโปงลางเทากับ 20.79 คิดเปนรอยละ 86.67 ท้ังนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู ไดคํานึงถึงศักยภาพท่ีแตกตางของนักเรียนแตละคนจึงประเมินตามสภาพท่ีเปนจริง

ประการท่ีสาม พบวา นักเรียนมีทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลางมีคะแนนเฉล่ียตํ่าสุด ลายเตยโขง มีคาเฉล่ีย 20.10 คิดเปนรอยละ 83.75 และทักษะปฏิบัติกิจกรรมการบรรเลงโปงลาง ลายโปงลาง มีคาเฉล่ีย 20.30 คิดเปนรอยละ 84.58 ตํ่าสุด 2 ลําดับสุดทาย แตเม่ือสังเกตในภาพรวมคะแนนท่ีต่ําสุด 2 ลําดับสุดทาย ยังสูงเกินรอยละ 80 ท้ังนี้นาจะเปนสาเหตุมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรูตามหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 ตรงตามความตองการของนักเรียน มีส่ือท่ีเราความสนใจ เชน นักเรียนไดชมวีซีดี การแสดงของวงโปงลางสะออน และวงโปงลางของนักเรียนโรงเรียนบานหนองแสงวิทยศึกษา ทําใหนักเรียนมีความสุข สนุกสนาน เกิดความประทับใจ มีแรงดลใจ อยากเลียนแบบในส่ิงท่ีไดเห็น จึงกระตือรือรน และต้ังใจหม่ันฝกซอม จนสามารถบรรเลงโปงลางได

ขอเสนอแนะ 1. ขอเสนอแนะเพื่อนําผลการวิจัยไปใช

หลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง โปงลาง ช้ันมัธยมศึกษาปท่ี 1 เปนหลักสูตรท่ีมีองคประกอบครบถวนสมบูรณ ผานกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลจากผูเช่ียวชาญ สามารถเปนแบบอยางแกผูสนใจท่ีจะพัฒนาหลักสูตรในวิชาอ่ืน การอธิบายข้ันตอนฝกบรรเลงโปงลาง โดยใชวิธีสาธิตเพื่อใหผูเรียนปฏิบัติตาม ทําใหผูเรียนเกิดความรูความจําและมีทักษะการปฏิบัติกิจกรรมบรรเลงโปงลางท่ียั่งยืน และสามารถเช่ือมโยงความรูใหมได การนําส่ือเทคโนโลยีมาใชประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู จะชวยใหผูเรียนเกดิกระบวนการคิดและสามารถพัฒนางานในเชิงสรางสรรคไดดี นอกจากนี้ การจัดโอกาสใหนักเรียนไดแสดงออกซ่ึงผลงานจากความสามารถของตนเอง จะทําใหนักเรียนเกิดความเช่ือม่ัน มีความภาคภูมิใจและเห็นความสําคัญของตนเอง

2. ขอเสนอแนะสําหรับการวิจัยคร้ังตอไป จากการสนทนากับบุคลากรในทองถ่ิน พบวายังมีความรูในทองถ่ินอีกมากมายท่ีเปนประโยชน

และควรอนุรักษใหสืบตอไป จึงควรทําการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินในวิชาอ่ืน ๆ เพื่อนํามาใชประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรูในโรงเรียนเพ่ือใหเกิดความหลากหลายท่ีเปนจริง สอดคลองกับความตองการของทองถ่ินท้ังนี้ เพื่อเปนการอนุรักษภูมิปญญาไทย ใหชนรุนหลังไดสืบทอดตอไป

********************

Page 129: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

125

เอกสารอางอิง ขวัญใจ ชาสงวน. คูมือหัดเลนเคร่ืองดนตรีอีสานดวยตนเอง. ม.ป.ท,, 2540. จารุบุตร เรืองสุวรรณ. ของดีอีสาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา, 2520. ใจทิพย เช้ือรัตนพงษ. การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ อลีน เพรส,

2539. ดารัตน พุสดี. การพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินดนตรีพื้นเมืองลานนา เร่ือง ซึง โดยใชภูมิปญญาทองถ่ิน

สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปท่ี 4 โรงเรียนบานสันถนน อําเภอแมสาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2541.

ณัฐยา ทิพรัตน. การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา โดยการใชภูมิปญญาทองถ่ิน “ หนังตะลุง” ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนตน สังกัดกรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2543.

วิชาการ, กรม. การพัฒนาหลักสูตรตามความตองการของทองถ่ิน. พิมพคร้ัง 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2540

วิชัย ประสิทธ์ิวุฒิเวชช “ การพัฒนาหลักสูตรระดับทองถ่ิน,” วารสารวิชาการ. 2 (9) : 2542. สะนั้น สะอาดถ่ิน. การพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมหลักสูตรทองถ่ิน เร่ือง ภูมิปญญาทองถ่ินของจังหวัด

ชัยภูมิ. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน, 2545. สุกิจ พลประถม. ดนตรีพื้นเมืองอีสาน. อุดรธานี : สถาบันราชภัฏอุดรธานี, 2538. สุทธวิช ชาญพิทยา. การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปฏิบัติการ

ทางการศึกษาท่ี 6 สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวทิยาลัยขอนแกน, 2545.

สําเร็จ คําโมง. ดนตรีอีสาน. มหาสารคาม : ประสานการพิมพ, 2524. อุดม เชยกียวงศ. หลักสูตรทองถ่ิน : ยุทธศาสตรการปฏิรูปการเรียนรู. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2545. Sowell, E.J. Curriculum an Integrative Introduction. 3nd ed. New Jersey : Pearson Education

Company. Thoreson, J.A.K. (2006). The Development and Implementation of a Music Curriculum for the

Snohomish School District : Curricular Revision, Assessment Development and Program Evaluation. http://web 117. epnet.com. 2/08/2006.

********************

Page 130: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

126

ผลของการออกกําลังกายตอการลดระดับไขมันในเลือด ของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ*

อําไพ ทองแบน**

รศ.ธวัช วีระศิริวัฒน***

ดร.สมบัต ิ ศรีทองอินทร***

ผศ.สุนทรสวัสดิ์ เคาศรีวงษ****

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีจุดมุงหมายเพ่ือศึกษาผลการเปล่ียนแปลงของระดับไขมันในเลือด กอนและหลังการออกกําลังกายสะสมระยะทาง การออกกําลังกายสะสมเวลา การออกกําลังกายดวยจักรยานวัดงานโดยการตรวจระดับไขมันในเลือดทางหองปฏิบัติการ กลุมตัวอยางที่ศึกษาครั้งน้ีเปนเจาหนาที่ของโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ คัดเลือกกลุมตัวอยางแบบเฉพาะเจาะจง (purpose sampling) ผูมีผลการตรวจระดับไขมันโคเลสเตอรอลมากกวา 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 35 ปขึ้นไป จํานวน 30 คน โดยแบงเปน 3 กลุม กลุมที่ 1 ออกกําลังกายสะสมแบบสะสมระยะทาง กลุมที่ 2 ออกกําลังกายสะสมแบบสะสมเวลา กลุมที่ 3 ออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงาน เครื่องมือที่ใชรวบรวมขอมูลไดแกแบบบันทึกการออกกําลังกายสะสม ผลการศึกษา ระดับไขมันโคเลสเตอรอล กอนกับหลังออกกําลังกายสะสมระยะทาง มีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คาเฉล่ียของระดับไขมันโคเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอรไรด กอนกับหลังออกกําลังกายสะสมเวลา มีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับไขมันโคเลสเตอรอล กอนและหลังออกกําลังกายโดยจักรยานวัดงาน มีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คําสําคัญ : ออกกําลังกาย/ กิจกรรมทางกาย/ การออกกําลังกายสะสม/ ไขมันในเลือดสูง

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสงเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค พ.ศ. 2551 ** นักวิชาการสาธารณสุข 7 โรงพยาบาลสวรรคประชารักษ อาํเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค *** รองศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธรวม) *** อาจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธหลกั) **** ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค (ท่ีปรึกษาวิทยานพินธรวม)

Page 131: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

127

Effect of Exercise on Lowering Hypercholesterolemia of Sawan Pracharak Hospital Staff

Amphai Thongbaen

Assoc. Prof. Thawach Werasiriwat

Dr. Sombat Srithongintra

Asst. Prof. Soontonsawat Khoasriwong

Abstract The Pretest-posttest experimental research to study the effect of collective exercise has been done to study the lowering of hypercholesterolemia in Sawan Pracharak Hospital Staffs Nakhon Sawan after using this collective exercise for a duration of 12 weeks. 30 staffs of 35-59 years of age with hypercholesterolemia level more than 240 mg.%. were selected with purposive sampling. The sample was divided in to 3 groups: collecting distance group, collecting time group and the bicycle ergo meter losing energy group. The data were collected before and after collective exercise in each group for 12 weeks. Percentages, means, S.D. and Paired t-test statistics were used for data analysis. The research findings were: 1. The cholesterol levels before and after the test of collecting distance were significantly different at .05 level. 2. The cholesterol and triglyceride levels before and after the test of collecting distance were significantly different at the level of .05. 3. The cholesterol levels and pulse rates before and after the test by bicycle ergo meter were significantly different at the .05 levels.

Keywords : Exercise, Physical Activity, Collective exercise, Hyperlipidemia

Page 132: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

128

ความสําคัญและท่ีมาของปญหา ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอวน เปนปญหาสุขภาพสําคัญท่ีประชาชนไทยเผชิญอยูในปจจุบัน ภาวะไขมันในเลือดสูงเปนปจจัยสาเหตุสําคัญท่ีทําใหเกิดโรคโรคหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง สวนใหญผูเร่ิมมีการเจ็บปวยมักไมรูตัว เนื่องจากไมมีอาการผิดปกติท่ีพอสังเกตได จนเกิดมีการสะสมของไขมันตามอวัยวะสําคัญในรางกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดไปเล้ียงสมองหรือหลอดเลือดไปเล้ียงท่ีหัวใจ ทําใหเกิดอันตรายรุนแรงและเสียชีวิตอยางกะทันหัน (ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา. มปป: ไมมีเลขหนา ) ภาวะไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia) เปนปจจัยเส่ียงท่ีสําคัญตอการเกิดความพิการของหลอดเลือด หลอดเลือดเกิดมีสภาพแข็งตัวและตีบไดมากกวาปกติ ถาเกิดข้ึนกับหลอดเลือดแดงโคโรนารีของหัวใจ จะทําใหกลามเนื้อหัวใจตายเนื่องจากขาดเลือดไปเล้ียง และเปนสาเหตุสําคัญของการเสียชีวิต อันดับแรกๆ ท่ีพบไดมากในปจจุบัน ซ่ึงอาจพบไดประมาณรอยละ 50 (ใยวรรณ ธนะมัย. 2537 : 52) จากสถิติการรายงานของสํานักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 พบวาประชาชนของประเทศไทย มีอัตราตายดวยโรคหัวใจขาดเลือด พ.ศ. 2545 เปน 13.96 ตอแสนประชากร ขณะท่ีจังหวัดนครสวรรคมีอัตราตายดวยโรคหัวใจขาดเลือดในปเดยีวกนันีถึ้ง 26.73 ตอแสนประชากร และอัตราตายดวยโรคหลอดเลือดสมองของประเทศไทย พ.ศ. 2545 เปน 19.85 ขณะท่ีจังหวัดนครสวรรคมีอัตราตายดวยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 45.32 ตอแสนประชากร อัตราตายดวยโรคความดันโลหิตสูงของประเทศไทยมีอัตรา 6.84 ตอแสนประชากร ในขณะท่ีจังหวัดนครสวรรคมีอัตราตายดวยโรคความดันโลหิตสูงเปน 7.96 ตอแสนประชากร (สาธารณสุข.สํานักนโยบายและแผนยุทธศาสตร. 2545: ไมมีเลขหนา) ภาวะไขมันในเลือดสูง จึงเปนสาเหตุของการเกิดปญหาสุขภาพอันเกิดจากพฤติกรรมท่ีควรไดรับการแกไข ตลอดจนหาทางควบคุมปองกันกอนท่ีจะเกิดปญหาอ่ืนตามมา ถาบุคคลต้ังใจและปฏิบัติตนไดอยางถูกตองจะสามารถลดความเส่ียงตอโรคและความรุนแรงดังท่ีกลาวมาแลวลงได การปฏิบัติตัวเพื่อการปองกันภาวะไขมันในเลือดสูงอยางถูกตอง จึงมีความสําคัญในการลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดท่ีเปนปญหาสําคัญดังกลาว การควบคุมระดับไขมันใหมีประสิทธิภาพ จึงควรมุงเนนในการปฏิบัติเร่ืองปรับเปล่ียนเร่ืองการรับประทานอาหารและการออกกําลังกาย เร่ิมจากการออกกําลังกายท่ีเพียงพอ การรับประทานอาหารท่ีเหมาะสมและการออกกําลังกายปานกลาง สามารถลดอุบัติการณการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานในผูใหญ และมะเร็งบางชนิด ซ่ึงเปนโรคไมติดตอ (สมชาย ล่ืทองอิน.2542:17 ) วิทยาลัยกีฬาเวชศาสตรแหงสหรัฐอเมริกา (American

College of Sports Medicine :ACSM. 1995 อางถึงใน ปยะนุช รักพาณิชยและคนอื่นๆ. 2544 :1-3) ไดใหคําแนะนําถึงการมีกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพท่ีดี ซ่ึงแตกตางจากคําแนะนําเดิม คําแนะนําท่ีเปล่ียนแปลงอยางเห็น ไดชัดก็คือจากการออกกําลังกายอยางตอเนื่องนาน 20 นาทีข้ึนไป มาเปนการออกกําลังกายสะสม

Page 133: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

129

จากการมีกิจกรรมทางกายในระยะส้ัน ๆ รวมกันไดใน 1 วัน สะสมไดจากกิจกรรมในชีวิตประจําวันและจากการทํางาน เพื่อใหประชาชนสามารถเลือกปฏิบัติเพื่อการออกกําลังกายไดอยางสมํ่าเสมอและตอเนื่อง รวมท้ังสามารถนํามาปรับใชในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะการปองกันเพื่อลดความเส่ียงตอโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น ไมจําเปนตองออกกําลังกายดวยความแรงระดับท่ีหนัก การออกกําลังกายดวยความแรงเพียงระดับปานกลางหรือคอนขางรูสึกเหนื่อย หายใจแรงข้ึน หัวใจเตนเร็วข้ึน ก็พอเพียงตอการปองกนัโรค การออกกําลังกายอยางสม่ําเสมอดวยความแรงระดับปานกลางแลว ยอมไมมีวิธีการออกกําลังกายแบบใดแบบหนึ่งท่ีดีหรือดอยกวากันหรือผสมผสานการออกกําลังกายไดตามความเหมาะสม เชน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ วิ่งแขง โยคะวายน้ํา ถีบจักรยาน กระโดดเชือก เตนแอโรบิก ลีลาศ ยกน้ําหนัก รํามวยจีน รําดาบ กายบริหารฝกความแข็งแรงของกลามเนื้อ กายบริหารฝกความยืดหยุนของกลามเน้ือ การออกกําลังกายในศูนยสุขภาพ เลนกีฬาชนิดตาง ๆ เปนตน ความสําคัญอยูท่ีออกกําลังกายอยางสมํ่าเสมอและตอเนื่อง จึงเปนท่ีมาของโปรแกรมการออกกําลังกายสะสม (สมชาย ล่ีทองอิน. 2545 : 3) การออกกําลังกายสะสม คือ โปรแกรมสงเสริมการออกกําลังกายในชุมชนท่ีกระทรวงสาธารณสุขไดจัดทําข้ึนภายใตโครงการ ขยับกาย สบายชีวี โดยรวมมือดําเนินการกับการกีฬาแหงประเทศไทยและกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสงเสริมใหคนไทยไดออกกําลังกายอยางสม่ําเสมอและตอเนื่อง การออกกําลังกายสะสมมี 2 แบบไดแก การออกกําลังสะสมระยะทางและการออกกําลังกายสะสมเวลา เปาหมาย คือตองเคล่ือนไหวออกแรงออกกําลังกายใหไดอยางนอยวันละ 30 นาทีทุกวัน การกระทํากิจกรรมตางๆ ไมวาจะเปนการออกแรงทํางานบาน งานอาชีพ หรือการออกกําลังกายและการเลนกีฬา ลวนแตมีการใชพลังงานของรางกายออกไปท้ังส้ิน และเปนประโยชนตอสุขภาพ ถาหากมีการออกกําลังกายดวยความแรงระดับปานกลาง ประมาณ 30 นาที จะมีการใชหรือเผาผลาญพลังงานออกไปประมาณ 150

แคลอรี จะชวยปองกันหรือลดความเส่ียงของการเปนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จากคําแนะนําของกรมอนามัย ผูวิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาการควบคุมภาวะไขมันในเลือดของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ โดยการใชจักรยานวัดงาน การออกกําลังกายสะสมระยะทางและการออกกําลังกายสะสมระยะเวลา โดยผูเขารวมการวิจัยสามารถเลือกออกกําลังกายไดดวยตนเองจากการออกกําลังกายที่กําหนดไว สามารถกําหนดเวลาการออกกําลังกายไดดวยตนเองโดยระยะเวลาการออกกําลังกายสะสมแตละคร้ังไมตํ่ากวาระยะเวลาที่กําหนดไวข้ันตํ่าอยางนอย 10 นาที และใชจักรยานวัดงาน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลกอนและหลังการออกกําลังกายตอการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด

Page 134: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

130

จุดมุงหมายของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาผลของการออกกําลังกายสะสมระยะทาง การออกกําลังกายสะสมเวลา การออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงานตอการลดระดับไขมันในเลือดของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ 2 . เพื่อเปรียบเทียบผลของระดับไขมันในเลือด กอนและหลังการออกกําลังกายสะสมระยะทาง การออกกําลังกายสะสมเวลา การออกกําลังดวยจักรยานวัดงานของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ

สมมุติฐานของการวิจัย

1. ผลของระดับไขมันโคเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอรไรด กอนการออกกําลังกายสะสมระยะทางสูงกวาหลังการออกกําลังกายสะสมระยะทาง

2. ผลของระดับไขมันโคเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอรไรด กอนการออกกําลังกายสะสมเวลาสูงกวาหลังการออกกําลังกายสะสมเวลา 3. ผลของระดับไขมันโคเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอรไรด กอนการออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงานสูงกวาหลังการออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงาน

กรอบแนวคิดและทฤษฏีท่ีเก่ียวของ

ผูวิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของนํามาเปนกรอบความคิดในการวิจัยสรุปโดยยอไดดังนี้ - ความรูเร่ืองการออกกําลังกาย สรุป ความหมายของการออกกําลังกายเปนกิจกรรมทางกายท่ีมีการวางแผนหรือมีการเตรียมตัว ไวอยางลวงหนา (planned activity) มักมีกําหนดความแรงในระดับปานกลางถึงมาก และมีระยะเวลาในการออกกําลังกายตอเนื่องนาน 20 นาทีข้ึนไป อยางนอย 3 คร้ังตอสัปดาห โดยจะเปนกิจกรรมท่ีมีการทําซํ้า ๆ มีจุดมุงหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไวซ่ึงสมรรถภาพทางรางกายของบุคคล ของรางกาย มีการเจริญและพัฒนาข้ึน ท้ังความยาวและความหนาทําใหรางกาย มีความแข็งแรงเพ่ิมมากข้ึน - กิจกรรมทางกายประกอบดวย กิจกรรมทางกายในขณะท่ีทํางาน ในขณะท่ีทํางานบาน ในขณะท่ีมีการเดินทาง งานอดิเรก ไดแก กีฬาท่ีมีการแขงขัน พักผอนหยอนใจ เชน ข่ีจักรยานเลน ปนเขา การออกกําลังกาย เชน วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ข่ีจักรยาน การเคล่ือนไหวทางกายเพื่อสุขภาพท่ีดี สามารถสะสมการมีกิจกรรมทางกายในระยะส้ันๆรวมกันไดและคอยๆสะสมใหไดใน 1 วัน เชน เดินคร้ังละ 10 นาที ในชวงเชา กลางวัน และเย็น รวม 30 นาทีตอวัน อาจจะงายกวาการเดินตอเนื่องหรือออกกําลังกายแบบอ่ืน ๆ เปนเวลานาน 30 นาที (ภัทราวุธ อินทรกําแหง. 2545 :20) ความหนักระดับปานกลาง (moderate intensity) เชน การเดินเร็วๆ อยางนอยวันละ 30 นาทีหรือมากกวาเกือบทุกวันในแตละสัปดาห หรือออกกําลังกายท่ีใชพลังงาน 300-500 กิโลแคลอรี/วัน หรือ 1,000-2,000 แคลอรี/สัปดาหซ่ึงเปนท่ีมาของโปรแกรม “ออกกําลังกายสะสม”

Page 135: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

131

- การออกกําลังกายสะสม คือ โปรแกรมสงเสริมการออกกําลังกายในชุมชน ท่ีกระทรวงสาธารณสุขไดจัดทําข้ึนภายใตโครงการ ขยับกาย สบายชีวี ซ่ึงสามารถสะสมในหน่ึงวัน สะสมได 2 แบบ ไดแก การออกกําลังกายสะสมระยะทาง ดวยการเดิน วิ่ง สะสมระยะทางใหได 15 กิโลเมตรตอสัปดาห เฉล่ียวันละ 3 กิโลเมตร และไมตองเดิน วิ่งคร้ังเดียว อาจแบงเปน 2 ชวง ๆ ละ 1.5 กิโลเมตรได สะสมไดไมเกิน 5 กิโลเมตรตอวัน ตามเง่ือนไขออกกําลังกายอยางนอยสัปดาหละ 3 วัน สะสมใหได 25 สัปดาห ระยะเวลา 6 -7 เดือน จึงจะถือวาครบเกณฑ การออกกําลังกายสะสมเวลา สําหรับการออกกําลังกายทุกวิธี

ท้ังท่ีอยูกับท่ีหรือเคล่ือนท่ี รวมท้ังการเดินหรือวิ่งดวย สะสมเวลาใหได 150 นาทีตอสัปดาห เฉล่ียวันละ 30

นาที อาจแบงเปน 2 คร้ัง ๆ ละ 15 นาที ออกกําลังกายสะสมใหได 25 สัปดาหภายในระยะเวลา 6-7 เดือน จึงจะถือวาครบเกณฑ - แนวคิดเกี่ยวกับการปองกันและบําบัดภาวะไขมันในเลือดสูง (กรมอนามัย กองโภชนาการ. 2542 :17) ดวยการจํากัดการรับประทานไขมันไมเกินรอยละ 30 ของพลังงานท้ังหมด การรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลใหนอยลงไมเกินวันละ 300 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต ใหครบ 5 หมู ในแตละม้ือ และมีปริมาณเพียงพอแกรางกาย ลดน้ําหนักลงใหอยูในเกณฑมาตรฐาน ไดรับพลังงานจากโปรตีนประมาณรอยละ 15 ของพลังงาน คารโบไฮเดรตประมาณรอยละ 55 ของพลังงานในแตละวัน รับประทานอาหารท่ีมีกากใยสูง การลดอาหารประเภทผัด ทอด อาหารที่ประกอบดวยเนยออน เนยเทียม เนยแข็ง น้ําตาล น้ําเช่ือม และขนมหวานตาง ๆ งดเคร่ืองดื่มท่ีมีแอลกอฮอล (สุรเกียรติ อาชานานุภาพ .2535:24-28) งดสูบบุหร่ี หลีกเล่ียงภาวะเครียด ออกกําลังกายอยางสมํ่าเสมอเพ่ือลดระดับไขมันในเลือด

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ใชแผนแบบการวิจัยกลุมเดียวสอบกอน-สอบหลัง (One Group Pretest – posttest Design) มีรายละเอียดดังนี ้ ประชากรและกลุมตัวอยาง

ประชากร ท่ีใชในการวิจัย ไดแก กลุมเจาหนาท่ีของโรงพยาบาลสวรรคประชารักษท่ีเขารับการตรวจสุขภาพประจําประหวางเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2549 และพบวามีระดับไขมันโคเลสเตอรอลทั้งหมดเกิน 240 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต และมีอายุ 35-59 ป จํานวน 108 คน กลุมตัวอยางท่ีใชในการวิจัย การสุมกลุมตัวอยางแบบเฉพาะเจาะจง จํานวน 30 คน และแบงกลุมเปน 3 กลุม ๆ ละ 10 คน เลือกโดยการจับฉลาก กําหนดใหกลุมท่ี 1 ออกกําลังกายสะสมระยะทาง กลุมท่ี 2 ออกกําลังกายสะสมเวลา และกลุมท่ี 3 ออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงาน กลุมตัวอยางเปนผูท่ียังไมเคยรับประทานยาลดไขมันในเลือด การทดลองใชระยะเวลา 12 สัปดาห ระยะเวลาการวิจัยต้ังแต เดือนกันยายน พ.ศ.2549 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

Page 136: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

132

ตัวแปรท่ีศึกษา - ตัวแปรอิสระ ไดแก การออกกําลังกายสะสมระยะทาง การออกกําลังกายสะสมเวลา การออกกําลังกายดวยจักรยานวัดงาน

- ตัวแปรตาม ไดแก ระดับไขมันโคเลสเตอรอล และระดับไขมันไตรกลีเซอรไรดในเลือดของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษตามโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจําป เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยเปนแบบบันทึกกิจกรรมการออกกําลังกาย ประกอบไปดวย

สวนท่ี 1 แบบบันทึกขอมูลท่ัวไป ประกอบดวย ช่ือ เพศ อายุ การสมรส น้ําหนัก สวนสูง และคาดัชนีมวลกาย

สวนท่ี 2 แบบบันทึกกจิกรรมการออกกําลังกาย การเก็บรวบรวมขอมูล ผูวิจัยไดนําโปรแกรมการออกกําลังกายสะสมของกรมอนามัยมาเปนเครื่องมือจัดทําแบบบันทึกกิจกรรมการออกกําลังกาย โดยมีข้ันตอนดังนี้ - ผูวิจัยบันทึกขอมูลท่ัวไป ประกอบดวย ขอมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ น้ําหนัก สวนสูง สถานภาพสมรส

และผลการตรวจสุขภาพประจําป - กลุมตัวอยางบันทึกการออกกําลังกายตามกิจกรรมท่ีกลุมตัวอยางเลือก ไดแก กิจกรรมการออกกําลังกายสะสมระยะทาง โดยบันทึกระยะทางท่ีเดิน หรือวิ่ง สะสมใหไดอยางนอย 15 กิโลเมตร/สัปดาห สะสมไดไมเกินสัปดาหละ 5 กิโลเมตร สะสมในเวลา 12 สัปดาห - กลุมตัวอยางบันทึกกิจกรรมการออกกําลังกายสะสมเวลา สําหรับกิจกรรมการออกกําลังกายทุกวิธี

โดยตองสะสมเวลาใหได 150 นาทีตอสัปดาห ตองออกกําลังกายอยางนอยสัปดาหละ 3 วัน ออกกําลังกายสะสมระยะเวลา 12 สัปดาห - กลุมตัวอยางบันทึกกิจกรรมการออกกําลังกายโดยใชจักยานวัดงาน จดบันทึกพลังงานท่ีใชในการออกกําลังกายดวยจักรยานวัดงาน ข้ันตํ่าใชพลังงานอยางนอยวันละ 200 แคลอรีระดับความหนักรอยละ 60-70 ของอัตราชีพจรสูงสุด ระยะเวลาการออกกําลังกายในแตละคร้ัง 40 – 60 นาที จํานวน 3 คร้ังตอสัปดาห ข้ึนไป ระยะเวลาดําเนินการวิจัย 12 สัปดาห - ผูวิจัยบันทึกผลการเปล่ียนแปลงน้ําหนัก บันทึกจํานวนพลังงานที่ใชในการออกกําลังกาย อัตรา ชีพจรและการเปล่ียนแปลง ระดับไขมันในเลือดท้ังกอนและหลังการทดลองของเจาหนาท่ี

- ผูวิจัยบันทึกผลการตรวจเลือดโดยหองปฏิบัติการ การเปล่ียนแปลงระดับไขมันในเลือด กอนและหลังการออกกําลังกาย ตรวจสอบความถูกตองและวิเคราะหขอมูล

Page 137: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

133

การวิเคราะหขอมูลและสถิติท่ีใช ผูวิจัยรวบรวมขอมูลท่ีไดนํามาวิเคราะหโดยใชโปรแกรม SPSS โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขอมูลท่ัวไป ใชการแจกแจงความถ่ี (Frequencies) และหาคารอยละ (Percentage) 2. วิเคราะหขอมูลจากแบบบันทึกผลการตรวจระดับไขมันในเลือด คํานวณหาคาเฉล่ีย (Mean) การเปล่ียนแปลงระดับไขมันในเลือด คาสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 3. เปรียบเทียบผลการเปล่ียนแปลงของระดับไขมันในเลือด รายกลุม กอนและหลังการออกกําลังกายการทดสอบคาที (t-test)

สรุปผลการวิจัย

ผลการวจิัยพบวา 1. ผลของระดับโคเลสเตอรอล กอนการออกกําลังกายสะสมระยะทางสูงกวาหลังการออกกําลังกายสะสมระยะทาง อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

2. ผลของระดับโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอรไรด กอนการออกกําลังกายสะสมเวลาสูงกวาหลังการออกกําลังกายสะสมเวลา อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

3. ผลของระดับโคเลสเตอรอล กอนการออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงานสูงกวาหลังการออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงาน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

อภิปรายผลการวิจัย

จากผลของการวิจยั สามารถอภิปรายผลไดดังนี ้ 1. ระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอรไรด กอนออกกําลังกายสูงกวาหลังออกกําลังกายสะสมระยะทาง ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของแสงโสม สีนะวัฒนและคนอ่ืน ๆ (2546) ไดศึกษาวิจัยเร่ืองโปรแกรมควบคุมน้ําหนักสําหรับหญิงวัยทํางานท่ีมีภาวะโภชนาการเกิน ผลการวิจัยพบวา กลุมทดลองมีการเดินเพื่อออกกําลังกายเพิ่มข้ึน การบริโภคอาหาร น้ําหนักตัว คาดรรชนีมวลกาย เปอรเซ็นต ของไขมัน เสนรอบวงเอว อัตราสวนเสนรอบวงเอวตอสะโพก เสนรอบวงแขน เสนรอบวงตนขา และไขมันในเลือดลดลงและลดลงมากกวากลุมเปรียบเทียบ ในกลุมทดลองลดน้ําหนักไดมากกวารอยละ 5 ของน้ําหนักเร่ิมตนในสัปดาหท่ี 24 และ 48 ตามลําดับ และสอดคลองกับงานวิจัยของเกรียส และคนอ่ืน ๆ (Kraus and

others. 2002 ) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ระดับความหนักของการออกกําลังกายตอไลโปโปรตีน ผลการวิจัยพบวา การออกกําลังกายท่ีมีผลตอไขมันในเลือดและไลโปโปรตีนคือการออกกําลังกายระดับหนัก สามารถแกไขระดับไขมันในเลือดไดมากกวากลุมควบคุมและกลุมออกกําลังกายระดับตํ่าถึงหนัก ระดับตํ่าถึงปานกลางและดีกวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ ซ่ึงแสดงวาการออกกําลังกายมีผลตอการเปล่ียนแปลงระดับไขมันในเลือด การออกกําลังกายอยางสมํ่าเสมอและตอเนื่อง จะสงเสริมใหคนเรามีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการ

Page 138: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

134

ปองกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การออกกําลังกายดวยความแรงระดับปานกลางหรือคอนขางรูสึกเหนื่อย หายใจแรงข้ึน หัวใจเตนเร็วข้ึนบางก็พอเพียงตอการปองกันโรค

2. ระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอรไรด กอนออกกําลังกายสูงกวาหลังออกกําลังกายสะสมเวลา ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของศิริบูรณ ประทุมพร (2545) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง การศึกษาการเปล่ียนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือดของผูรับบริการโปรแกรมสงเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสรรพประสิทธิประสงค ผลการวิจัยพบวา กอนรับบริการมีคาเฉลี่ยโคเลสเตอรอล 257.6 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต โดยมีระดับโคเลสเตอรอล 200-249,250-299 และมากกวา 300 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต รอยละ 45.4 44.3 และ10.3 ตามลําดับ ผลการตรวจระดับโคเลสเตอรอลหลังการรับบริการเดือนท่ี 1,2 และ3 พบวาคาเฉล่ีย 228.7,234.9 และ 242.7 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต ตามลําดับโดยมีระดับโคเลสเตอรอลมากวา 200 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต รอยละ 18.6 ,12.4 และ6.8 ระดับโคเลสเตอรอล 200-229 รอยละ 80.4 , 84.5และ 86.4 ระดับโคเลสเตอรอลมากกวา 300 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต รอยละ 0,3.1 และ6.8 ตามลําดับ หลังรับบริการมีผูท่ีมีระดับโคเลสเตอรอลอยูในเกณฑปกติ และเกณฑท่ีสามารถปองกันได แตเม่ือระยะเวลาเพ่ิมข้ึนในเดือนท่ี 2,3 เร่ิมมีจํานวนผูมีระดับโคเลสเตอรอลอยูในเกณฑปกติลดลง และจํานวนผูท่ีมีระดับโคเลสเตอรอลมากกวา 300 มิลลิกรัมเปอรเซ็นต เพิ่มข้ึน จากการศึกษาแสดงใหเห็นวาการเขารวมโปรแกรมการสงเสริมสุขภาพมีผลตอการควบคุมระดับไขมันในเลือด และสอดคลองกับงานวิจัยของวนิดา สินไชย (2545) ไดศึกษาวิจัยเร่ืองการเปล่ียนแปลงสมรรถภาพทางกายและระดับสารเคมีในเลือดหลังการออกกําลังกายของเจาหนาท่ีศูนยสงเสริมสุขภาพเขต 6 ผลการวิจัยพบวา อัตราชีพจร สวนใหญมีคาเฉล่ียลดลง และทดสอบสมรรถภาพทางกาย ดานการนั่งกมตัว ความจุปอด การลุกนั่ง 30 วินาที การยืนกระโดดไกล และการใชออกซิเจนสูงสุด แรงเหยียดขา และแรงเหยียดหลังเพิ่มข้ึน ระดับสารเคมีในเลือด glucose , LDL และcholesterol ลดลงtriglyceride และHDL เพิ่มข้ึน แสดงใหเห็นวาการออกกําลังกายสงผลดีรางกายและระดับไขมันในเลือดลดลงได 3. ระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอรไรด กอนออกกําลังกายสูงกวาหลังออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงาน ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของ แมคเทอนันและคนอ่ืนๆ (McTiernan and others. 2007) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ผลของการออกกําลังกายตอไขมันในรางกายของผูชายและผูหญิง ผลการวิจัยพบวาระยะเวลาการออกกําลังกายในผูชายคาเฉล่ีย 370 นาทีตอสัปดาห ระยะเวลาการออกกําลังกายในผูหญิงคาเฉล่ีย 295 นาที ตอสัปดาห ผลการออกกําลังกายในผูหญิงสามารถลดนํ้าหนักลง 1.4 กิโลกรัม ในกลุมทดลอง ผลการออกกําลังกายในผูชายสามารถลดนํ้าหนักลง 1.8 กิโลกรัมในกลุมทดลอง เสนรอบเอวผูหญิงลดลงเฉล่ีย 1.4 เซนติเมตรเสนรอบเอวผูชายลดลงเฉล่ีย 3.3 เซนติเมตรในกลุมควบคุม พบวา การออกกําลังกายโดยกาวกระโดดสามารถลดนํ้าหนัก คาดัชนีมวลกาย ไขมันในรางกาย ไขมันหนาทองไดอยางดี จาก

Page 139: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

135

การวิจัยชวยสนับสนุนการออกกําลังกายควรใชระยะเวลา 60 นาทีตอ 1วัน โดยเปนกิจกรรมทางกายในระดับความหนักปานกลางถึงหนักมาก

4. ผลของระดับโคเลสเตอรอล กอนการออกกําลังกายสะสมระยะทางสูงกวาหลังการ ออกกําลังกายสะสมระยะทาง อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ.05 ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของพิชิตพล อุทัยกุล (2539) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ผลของการออกกําลังกายแบบแอโรบิค 6 สัปดาหตอการเปล่ียนแปลงของระดับไขมันในเลือดของบุคลากรในวิทยาลัยเทคนิคเชียงราย ผลการวิจัยพบวา ระดับไขมันในเลือดไดแก โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด แอลดีแอล-โคเลสเตอรอล และรอยละของไขมันในรางกายหลังการออกกําลังกาย มีคาความแตกตางกันทางสถิติท่ีระดับนัยสําคัญ 0.05 สรุปไดวาการฝกวิ่งเหยาะๆ 6 สัปดาห ๆ ละ 3 วัน วันละ 30 นาทีมีผลลดระดับไขมันในเลือดทําใหรางกายมีการเปล่ียนแปลงไปในทางท่ีดี และสอดคลองกับงานวิจัยของบรรทม พิมพทองครบุรี (2541) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ผลการฝกกายบริหารชุดแมไมมวยไทยพื้นฐาน แอโรบิคดานซ และการกระโดดเชือกท่ีมีตอสมรรถภาพกลไกของนักเรียนชาย ช้ันประถมศึกษาปท่ี 5-6 ในโรงเรียนสังกัด สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบวา สมรรถภาพทางกลไก กอนและหลังการฝกของกลุมกายบริหารชุดแมไมมวยไทยพื้นฐาน แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 สมรรถภาพทางกลไกกอนและหลังการฝกของกลุมแอโรบิคดานซ แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สมรรถภาพทางกลไกกอนและหลังการฝกของกลุมกระโดดเชือก แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 กลุมแอโรบิคดานซ และกลุมกระโดดเชือกไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 จากการศึกษาแสดงใหเห็นวาวิธีการออกกําลังกายท่ีแตกตางกันมีผลตอสมรรถภาพทางกายไมแตกตางกัน

5. ผลของระดับโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอรไรด กอนการออกกําลังกายสะสมเวลาสูงกวาหลังการออกกําลังกายสะสมเวลา อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของไซคิน ซิลเวอแมนและคนอ่ืนๆ (Simkin-Silverman and others. 1992 ) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง กิจกรรมทางกายในชีวิตประจําวันสามารถชวยปองกันไมใหน้ําหนักเพิ่มข้ึนไดในกลุมผูหญิงหลังวัยหมดประจําเดือนติดตามผลการศึกษา 5 ป ผลการวิจัยพบวา ในกลุมทดลองคาเฉล่ียน้ําหนักลดลง กลุมควบคุมมีคาเฉล่ียน้ําหนักเพิ่มข้ึน 2.4 กิโลกรัม วัดเสนรอบเอวของ กลุมทดลองมีคาเฉล่ียลดลงอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีP < 0.001

อยางไรก็ตามพบวากลุมควบคุมอาหารมีการคงท่ีของนํ้าหนักมากกวากลุมท่ีมีกิจกรรมทางกาย และกลุมตัวอยางท่ีรับประทานอาหารท่ีมีพลังงานนอยและไขมันตํ่ารวมกับการมีกิจกรรมทางกายในระยะยาวสามารถควบคุมน้ําหนักใหคงท่ีไดดีกวา และสอดคลองกับงานวิจัยของ แอนเดอสันและคนอ่ืน ๆ (Andersen

and others. 1995) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ผลของกิจกรรมในชีวิตประจําวันตอโครงสรางรางกายของผูหญิงอวนท่ีออกกําลังกายแบบแอโรบิก ผลการวิจัยพบวา กลุมผูหญิงท่ีออกกําลังกายแบบแอโรบิกมีน้ําหนักเพิ่มข้ึน

Page 140: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

136

5.5 กิโลกรัม ขณะที่กลุมท่ีมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจําวันมีน้ําหนักเพิ่มข้ึน4.6 กิโลกรัม หลังการทดลอง 16 สัปดาห ผลไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอรไรดลดลงอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .01

6. ผลของระดับโคเลสเตอรอล กอนการออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงานสูงกวา หลังการออกกําลังกายโดยใชจักรยานวัดงาน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของ มงคล ใจดี (2527) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง การเปรียบเทียบผลการฝกแบบอากาศนิยม 2 วิธี ตอการเปล่ียนแปลงความสมบูรณทางกาย ดัชนีความหนัก ปริมาณโคเลสเตอรอลในไลโปโปรตีนท่ีมีความหนาแนนสูง และปริมาณโคเลสเตอรอลรวมในเลือดของประชาชนชายไทย วัยผูใหญ ผลการวิจัยพบวา การฝกแบบอากาศนิยม 2

วิธีของกลุมทดลองท้ัง 2 กลุมใหผลในการเพิ่มสมรรถภาพการใชออกซิเจนสูงสุด มีผลตอปริมาณโคเลสเตอรอลในไลโปโปรตีนท่ีมีความหนาแนนสูงและอัตราสวนของปริมาณโคเลสเตอรอลในไลโปโปรตีนท่ีมีความหนาแนนสูงตอปริมาณโคเลสเตอรอลรวมไมตางกัน แตใหผลตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ.05 กับ สวนขนาดรูปรางและปริมาณโคเลสเตอรอลรวมระหวาง 3 กลุมไมตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ แสดงใหเห็นวาการออกกําลังกายวิธีแตกตางกันแตมีผลตอรางกายไมแตกตางกัน

ขอเสนอแนะ

จากการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยมีขอเสนอแนะดังนี้ ขอเสนอแนะท่ัวไป

ผลการวิจัยท่ีพบวาการออกกําลังกายมีผลตอการลดระดับไขมันในเลือด ควรนําปรับใชและใหขอแนะนําการออกกําลังกายท่ีเหมาะสมของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ เพื่อเปนการสงเสริมสุขภาพ และใหการสนับสนุนในการจัดกิจกรรมการออกกําลังกายของเจาหนาท่ีโรงพยาบาลสวรรคประชารักษ โดยการใหการสนับสนุนในดานสถานท่ี อุปกรณตาง ๆ งบประมาณ ตลอดจนบุคลากรผูปฏิบัติงานอยางตอเนื่อง

ขอเสนอแนะสําหรับการวิจัยคร้ังตอไป

ควรมีการนําผลการวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมการออกกําลังกายตอการลดระดับไขมันในเลือด โดยมีการจัดทําโปรแกรมการสงเสริมสุขภาพบุคลากรทุกดาน คือ ดานสัดสวนของรางกาย และดานสมรรถภาพทางกาย ไปพรอมกัน

********************

Page 141: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

137

รายการอางอิง บรรทม พิมพทองครบุรี. (2544). ผลการฝกกายบริหารชุดแมไมมวยไทยพื้นฐาน แอโรบิคดานซ และการ

กระโดดเชือกท่ีมีตอสมรรถภาพกลไกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปท่ี 5-6 ในโรงเรียนสังกัด สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา . วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. ขอนแกน : มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ปยะนุช รักพาณิชย, ภัทราวุธ อินทรกําแหง และวิศาล คันธารัตนกุล. (2544). การทบทวนองคความรูและเทคนิคการเคล่ือนไหวและการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพนิวธรรมดาการพิมพ.

พิชิตพล อุทัยกุล. (2539). ผลของการออกกําลังกายแบบแอโรบิค 6 สัปดาหตอการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดของบุคลากรในวิทยาลัยเทคนิคเชียงราย. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ภัทราวุธ อินทรกําแหง.(2545). ขยับกายสบายชีวี. (Online).Available : http://advisor.anamai.moph.go.th/hph/move/hypertension.html.(8/01/2551)

มงคล ใจดี. (2527). การเปรียบเทียบผลการฝกแบบอากาศนิยม 2 วิธี ตอการเปล่ียนแปลงความสมบูรณทางกาย ดัชนีความหนัก ปริมาณโคเลสเตอรอลในไลโปโปรตีนท่ีมีความหนาแนนสูง และปริมาณโคเลสเตอรอลรวมในเลือดของประชาชนชายไทยวัยผูใหญ. กรุงเทพมหานคร : การกีฬาแหงประเทศไทย.

ใยวรรณ ธนะมัย. (2537). “ภาวะไขมันในเลือดสูง,” นิตยสารใกลหมอ.18(2) :52. ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา.(มปป) การปองกันโรคหัวใจ (Online). Available :

http//www.thaiheartweb.com/prevention.htm (13/10/2550) วนิดา สินไชย และคนอ่ืน ๆ. (2545). การเปล่ียนแปลงสมรรถภาพทางกายและระดับสารเคมีในเลือดหลัง

การออกกําลังกายของเจาหนาท่ีศูนยสงเสริมสุขภาพเขต 6. ขอนแกน : ศูนยสงเสริมสุขภาพเขต 6 จังหวัดขอนแกน.

ศิริบูรณ ประทุมพร และคนอ่ืน ๆ. (2545). การศึกษาการเปล่ียนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือดของผู รับบริการโปรแกรมสงเสริมสุขภาพโรงพยาบาลสรรพประสิทธิประสงค.อุบลราชธานี : โรงพยาบาลสรรพประสิทธิประสงค.

สมชาย ล่ีทองอิน. (2542). “มุมมองใหมในการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ,” วารสาร สถานการณดานการออกกําลังกาย. 4 (5) :17.

________. (2545). ขยับกาย สบายชีวี. กรุงเทพฯ:กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Page 142: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

138

. (2545). วันอนามัยโลกป 2002 ขยับกายสบายชีวี. (Online). Available : http://www.anamai.moph.go.th/Agita_mundo/ex.htm.(5/12/2548)

สวรรคประชารักษ,โรงพยาบาล.(2547). รายงานประจําป 2547. นครสวรรค : โรงพยาบาลสวรรคประชารักษ. สาธารณสุข, กระทรวง. (2542). ภาวะไขมันในเลือดสูง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพองคการรับสงสินคา

และพัสดุภัณฑ(ร.ส.พ.).17. ________. (2545). สถิติการตาย. (Online). Available : http://bps.ops.moph.go.th/index1_ info.htm.(8

/03/2551) สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2535). “โรคหัวใจขาดเลือด.” ใน หมอชาวบาน, 14(160). หนา.24-28. แสงโสม สีนะวัฒนและคนอ่ืนๆ. (2546). โปรแกรมควบคุมน้ําหนักสําหรับหญิงวัยทํางานท่ีมีภาวะ

โภชนาการเกิน. นนทบุรี : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. Andersen RE, and others.(1999). Effects of lifestyle activity vs structured aerobic exercise in obese

women: a randomized trial. (Online).1999.Available :http:// www.ncbi.nih.gov/site/entre? cmd.(5 Dec.2007)

Kraus W. et al.(2002) Effect of the amount and intensity of exercise on plasma lipoproteins. .(Online).Available:http://content.nejm.org/cig/content/full/347/19/1483?hits=20&where= fulltext (30 Sep 2005)

Mc. Tienan et al.(2007). Exercise Effect on Weight and body fat in Men and Women. .(Online).2007.Available :http:// www.obesityresearch.org/cgi/content/abtract/15/6/1496.(5 Dec.2007).

Simkin-Silverman L.(1992) Intervention can Prevent Weight gain during Menopause : result from a

5- year randomized clinical trial. (Online).2003.Available :http:// www.ncbi.nih.gov/site/entre? cmd.(5 Dec.2007)

********************

Page 143: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

139

การพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนบานดงเมือง(ดงเมืองวิทยา) อําเภอกุมภวาป จังหวัดอุดรธานี*

นิรมล ทองตัน**

รศ.ดร.สมคิด สรอยน้ํา***

ผศ.ธัญญา คําโตนด****

บทคัดยอ การวิจัยคร้ังนี้ มีวัตถุประสงคหลักคือ พัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูโรงเรียนบานดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) และไดกําหนดวัตถุประสงคเฉพาะในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู 2) พัฒนาวิธีการแกปญหาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู 3) ศึกษาผลการพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยศึกษาความรูความเขาใจของครูเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียน เจตคติตอการทําวิจัยในช้ันเรียน และ ผลงานวิจัยในช้ันเรียน การดําเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู จํานวน 48 คน ใชแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู พบวามีปญหาและอุปสรรค คือ 1) ความเพียงพอของหนังสือคนควาเพื่องานวิจัยของโรงเรียน 2) แหลงเรียนรูในการวิจัย 3) การคนหาบทคัดยอวิทยานิพนธหรืองานวิจัยใหมๆ 4) ทุนสนับสนุนการวิจัย 5) การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณในการทําวิจัย 6) คาใชจายเขารับการอบรมการทําวิจัยในชั้นเรียน 7) การแปลผลการวิเคราะหขอมูล 8) การเลือกใชเครื่องมือเหมาะกับลักษณะของขอมูล 9) การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน และ10) การสรางเคร่ืองมือที่ใชในการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู โดยการระดมความคิดจากครูแกนนําการวิจัยในช้ันเรียนของโรงเรียน ปรากฏวาไดกิจกรรมที่จะนํามาใชพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู จํานวน 5 กิจกรรม คือ 1) จัดหาและรวบรวมตัวอยางรายงานการวิจัย บทคัดยอวิทยานิพนธหรืองานวิจัยใหมและตัวอยางเครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล 2) การพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมกิจกรรมตามตารางที่ผูวิจัยกําหนด 3) การใหความรูในการสืบคนขอมูลทางอินเตอรเน็ต และแหลงคนควาอื่นๆ 4) แตงตั้งครูแกนนําวิจัยของโรงเรียน เปนพี่เลี้ยงใหคําแนะนํา และ 5) การตั้งงบประมาณสนับสนุนลงในแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู ที่มีตอความรู ความเขาใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน เจตคติ และผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูตาม แบบแผนการทดลองแบบกลุมเดียวที่มีการทดสอบกอนและหลังการทดลอง เครื ่องมือที ่ใชเก ็บรวบรวมขอมูลประกอบดวย 1) แบบทดสอบวัดความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียน 2) แบบสอบถามวัดเจตคติของครูตอการทําวิจัยในช้ันเรียน และ 3) แบบประเมินรายงานการวิจัยในช้ันเรียนของครู พบวา ครูมีความรูความเขาใจเกี่ยวกับการวิจัย มีเจตคติตอการทําวิจัยในชั้นเรียน สูงกวากอนการพัฒนาอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลําดับ

คําสําคัญ: การพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียน/ การวิจัยในช้ันเรียน

* วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธาน ี** รองผูอาํนวยการโรงเรียนบานดงเมือง(ดงเมืองวิทยา) อาํเภอกุมภวาป จังหวัดอุดรธาน ี*** รองศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอดุรธานี (ท่ีปรึกษาวิทยานพินธ) **** ผูชวยศาสตราจารยประจําคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ท่ีปรึกษาวิทยานพินธ)

Page 144: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

140

The Classroom Research Development of Teachers at Baan Dongmuang School (Dongmuangwittaya) Kumpawapi District, Udonthani Province

Niramol Thongtan

Somkid Sroinam

Thanya Kamtanod

Abstract The purpose of this research was to develop the classroom research of teachers at Baan Dong Muang School (Dong Muang Wittaya) with specified research objectives as follows: 1) to study problems and obstacles of the classroom research; 2) to develop the problems improvement methods, and 3) to study the results of this research by aiming at a complete understanding of teachers in conducting the classroom research, including the attitude. The research was carried out in 3 phases. First Phase: The study of problems and obstacles of conducting the classroom research was done with the sample group of 48 teachers. The method of data collecting was done by using Questionnaires. The research discovered that there were some problems and obstacles caused by 1) adequacy of academic resources in the school, 2) learning resources of conducting research, 3) seeking a new abstracts or researches, 4) research funding, 5) instruments for research, 6) financial support to attend a research training for conducting the classroom research, 7) extracting data analysis, 8) selecting proper tools to the research attribution, 9) creating of tools for data collection, and 10) writing the classroom research. Second Phase: The development of methods for solving problems and obstacles by using the brainstorming of those core teachers. There were 5 carried out activities found to improve ways of conducting the classroom research: 1) finding and collecting samples, new abstracts or researches including tools of data collecting, 2) development of classroom research by attending the assigned schedule, 3) searching for data through the Internet and available learning sources, 4) personnel consultant or mentor for conducting classroom research, and 5) arrangement for financial support into the annual school policy plan. Third Phase: The study on the development towards a complete understanding, attitude and result of conducting the classroom research was done by using pre-test and post-test for a single sample group. The tools for data collecting consisted of 1) questionnaires for a complete understanding, 2) questionnaires for teachers’ attitude, and 3) research evaluation. The research revealed that the method of the classroom research development for the complete understanding and the attitude is statistically significant at the .01 and .05 levels respectively.

Keywords: Teacher Research Development/ Classroom Research

Page 145: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

141

ความเปนมาและความสําคญัของปญหา การจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการศึกษาท่ีมุงพัฒนาคนไทยใหเขาสูระบบเศรษฐกิจฐานความรูท่ีมีการแขงขันกันตลอดเวลาและหัวใจของการแขงขันอยูท่ีการพัฒนาปญญาการแสวงหาความรูใหม การคิดคนนวัตกรรมการเขาหาแหลงทุน การใชเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความรูและเขาสูความเปนผูนําในการแขงขัน (สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แหงชาติ, 2544 : 48) ซ่ึงกลไกของการสรางเศรษฐกิจฐานความรูคือการศึกษา จากรายงานการประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรูเชิงลึกในโรงเรียน 80 แหง เม่ือป พ.ศ.2546 พบวาการปฏิรูปการเรียนรูของโรงเรียนสวนหนึ่งจะทําใหผูเรียนมีความสุขในการเรียน รูจักทํางานกลุมและกลาแสดงออกมากข้ึน แตผลสัมฤทธ์ิทางวิชาการของเด็กกลับอยูในระดับตํ่าโดยนักเรียนในโรงเรียนรอยละ 90 มีคะแนนความรูทางวิชาการตลอดจนทักษะ การคิดวิเคราะหและคนควา เฉล่ียอยูในระดับท่ีตองแกไข (นงลักษณ วิรัชชัย และสุวิมล วองวาณิช, 2548 : 258) ซ่ึงสอดคลองกับผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน ของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องคการมหาชน) พบวา มาตรฐานดานผูเรียนมีความ สามารถในการคิดวิเคราะหสังเคราะห มีวิจารณญาณ และมีความคิดสรางสรรค อยูในระดับดีเพียงรอยละ 11.1 ดานการมีทักษะในการแสวง หาความรูดวยตนเอง รักการเรียนรูและพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง อยูในระดับดีรอยละ 26.5 ดานการมีความรูและทักษะท่ีจําเปนตอหลักสูตร อยูในระดับดีรอยละ 12.6 และผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนทุกกลุมสาระการเรียนรูอยูในระดับตํ่ามาก (นันทิยา ตันศรีเจริญ, 2548 : 15) ซ่ึงขอสรุปดังกลาวแสดงถึง ผลการดําเนินการปฏิรูปการศึกษา ท่ียังไมบรรลุเปาหมาย นอกจากนี้ยังมีการกลาวถึงทิศทาง การวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศท่ีเกี่ยวของกับครูและการจัดการเรียนรูไววาการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรูท่ีทําใหผูเรียนเกิดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรูเพิ่มมากข้ึนเปนการวิจัยเพื่อหาวิธีการดําเนินการเปล่ียนรูปแบบการเรียนรูโดยส้ินเชิงเนื่องจากการเรียนรูแบบ เดิมเปนการเรียนรูเพื่อความรูเกิดการซึมซับความรูตามรูปแบบท่ีตองการใหรู ไมไดสรางจินตนาการและความคิดริเร่ิมสรางสรรคแตการเรียนรูเพื่ออนาคตเปาหมายหลักไมใชเพื่อความรูแตจะใชความรูสรางปญญาสรางจินตนาการและความคิดริเร่ิมสรางสรรค (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2546 : 3-4) ในสภาพปจจุบันของการวิจัยทางการศึกษาพบวางานวิจัยสวนใหญเปนงานวิจัยเชิงสํารวจ สวนงานวิจัยเชิงทดลอง งานวิจัยปฏิบัติการรวมถึงงานวิจัยและพัฒนายังมีนอยและการทําวิจัยทางการศึกษามีการแยกสวนกันระหวางการวิจัยกับการปฏิบัติการทางการศึกษา ซ่ึงตามความเปนจริงแลวครูจะตองทําไปพรอมกันท้ังการเรียนการสอนการวิจัยและประเมินผลรวมท้ังการพัฒนาปรับปรุง ครูตองทํางานใหเหมือนเปนเกลียวเชือกซอนไปในเวลาสอนพรอมกับการวิจัยในชั้นเรียนและการประกันคุณภาพภายใน (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, 2544 : 37)

Page 146: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

142

การปฏิรูปการศึกษาเร่ิมข้ึนต้ังแตวันท่ีพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 มีผลบังคับใชแตการจัดการศึกษาตามแนวทางท่ีบัญญัติไวในพระราชบัญญัติดังกลาวก็ยังไมสามารถปฏิบัติไดครบถวนโดยเฉพาะมาตรา 30 ที่วา "ใหสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสงเสริมใหผูสอนสามารถวิจัยเพื ่อพัฒนาการเรียนรูท่ีเหมาะสมกับผูเรียนในแตละระดับการศึกษา" (พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542, 2542 : 29) จุดเนนในการวิจัยสําหรับครูในมาตรา 30 คือ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยหมายความกวางไปถึงพัฒนาการเรียนรูของผูเรียนและพัฒนาการสอน หรือพัฒนาวิชาชีพของครูดวย (มัลลิกา นิตยาพร, 2543 : 2) ซ่ึงผูบริหารสถานศึกษาจะตองสนับสนุนใหครูทําวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู การจัดการเรียนรูถือเปนงานปกติแตตองทําใหเปนระบบ สอดคลองกับแนวคิดของอํารุง จันทวานิช (2539) ท่ีสรุปวาครูควรทํางานวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนตลอดเวลา รวมท้ังการฝกใหผูเรียนมีทักษะและจิตวิญญาณของนักวิจัยท่ีดีเพื่อใหผูเรียนมีนิสัยใฝรู มีศักยภาพในการคิดวิเคราะหและมีทักษะในการเขียนรายงาน การวิจัยในช้ันเรียนเปนรูปแบบหนึ่งของการวิจัยทางการศึกษา ซ่ึงผูสอนสามารถเปนผูจัดทําการวิจัยเพื่อแกปญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนไดอยางมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการทําวิจัยในช้ันเรียนจึงไมนาเพิ่มงานแกครู เพราะครูพบปญหาขณะทําการสอน ฉะนั้นงานวิจัยอาจเปนสวนหนึ่งท่ีจะชวยทําใหประสิทธิภาพการสอนของครูดีข้ึน หากครูมีความคิดท่ีจะนําผลการวิจัยมาแกปญหาการเรียนการสอนอยางมีหลักการและตรงกับสภาพของผูเรียน อันเปนการเช่ือมโยงวิชาการกับการปฏิบัติจริง (ดรุณี อาจปรุ, 2543 : 2) การวิจัยสําหรับครูเปนการแกปญหานักเรียนบางคนบางเร่ืองเพื่อพัฒนา(ปรับปรุงนักเรียนออน เสริมนักเรียนเกง) ใหไดเรียนทันเพื่อนหรือไดรับการพัฒนาเต็มศักยภาพของเขา (อุทุมพร จามรมาน, 2544 : 1) และวิธีการที่จะทําใหนักเรียนประสบความสําเร็จในชีวิตดวย การเปนผูกํากับตนเองเปนนักแกปญหาท่ีไดผล เปนนักคิด นักการศึกษาไดพยายามศึกษาและประยุกตใชงานวิจัยเปนกลยุทธการเรียนการสอน ไดวิธีการเรียนการสอนท่ีหลากหลายสนองความตองการที่แตกตางกันของนักเรียน การวิจัยในช้ันเรียนจะชวยใหครูมีวิถีชีวิตของการทํางานครูอยางเปนระบบมีการตัดสินใจในแนวทางเลือกตาง ๆ ไดกวางขวาง และลึกซ้ึงมากยิ่งข้ึนอยางมีเหตุผลและสรางสรรค ครูนักวิจัยจะมีโอกาสมากข้ึนในการคิดใครครวญ เกี่ยวกับเหตุผลของการปฏิบัติงาน สามารถบอกไดวางานท่ีปฏิบัติไปนั้นไดผลดีหรือไมเพราะอะไร นอกจากนี้ครูท่ีใชกระบวนการวิจัยใน การพัฒนากระบวน การเรียนการสอน จะสามารถควบคุม กํากับและพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองไดเปนอยางดี เพราะการทํางานและผลของการทํางานนั้นลวนมีความหมายและคุณคาสําหรับครูในการพัฒนานักเรียน ผลการทําวิจัยในช้ันเรียนจะชวยใหครูไดตัวบงช้ีท่ีเปนรูปธรรมของผลสําเร็จในการปฏิบัติงานครู เม่ือครูไดทําการวิจัยในช้ันเรียนควบคูไปกับ

Page 147: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

143

การปฏิบัติงานสอนอยางเหมาะสมแลวจะกอใหเกิดผลดีตอวงการศึกษาและวิชาชีพครูอยางนอย 3 ประการ (มนสิช สิทธิสมบูรณ, 2546 : 4 ; อางอิงจาก สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม, 2538) คือ 1. นักเรียนจะมีการเรียนรูท่ีมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งข้ึน 2. วงวิชาการศึกษาจะมีขอความรูและ/หรือนวัตกรรมทางการจัดการเรียนการสอนท่ีเปนจริงเกิดมากข้ึน อันจะเปนประโยชนตอครูและเพื่อนครูในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเปนอยางมาก และ 3. วิถีชีวิตของครู หรือวัฒนธรรมในการทํางานของครูจะพัฒนาไปสูความเปนครูมืออาชีพ (Professional Teacher) มากยิ่งข้ึน โรงเรียนบานดงเมือง(ดงเมืองวิทยา) เปนสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาอุดรธานีเขต 2 ต้ังอยูในเขตเทศบาลตําบลกุมภวาป อําเภอกุมภวาป จังหวัดอุดรธานี มีภารกิจรับผิดชอบจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน 3 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนตน มีนักเรียนจํานวน 1,005 คน มีขาราชการครู 55 คน รับผิดชอบพื้นท่ีเขตบริการ 7 หมูบาน คือ บานดงเมือง หมูท่ี 1,3,4,8,9,10 และ 13 ลักษณะชุมชนเปนชุมชนกึ่งในเมืองและก่ึงชนบท นักเรียนสวนมากเปนนักเรียนนอกเขตบริการที่อยูบริเวณรอบนอกเขต เทศบาลตําบลกุมภวาป การจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนบานดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) ยังตองไดรับการพัฒนาและปรับปรุงเม่ือเทียบกับเกณฑมาตรฐานการศึกษา เพราะผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินภายนอกพบวา มีอยูหลายมาตรฐานท่ีมีผลการประเมินอยูในระดับ พอใช ไมวาจะเปนมาตรฐานดานผูเรียนท่ีมีผลสัมฤทธ์ิ รวมท้ังมาตรฐานดานการเรียนการสอนของครู ในตัวบงช้ีท่ีวา มีการวิจัยเพื่อพัฒนาส่ือและการเรียนรูของผูเรียนและนําผลไปใชพัฒนาผูเรียน ซึ่งครูจําเปนตองไดรับการพัฒนาใหมีความรูในกระบวนการวิจัยในช้ันเรียน มีทักษะในการปฏิบัติการทําวิจัยและเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแกปญหาการเรียนการสอนในช้ันเรียนหรืองานท่ีตนรับผิดชอบ เพราะถาครูยังใชวิธีสอนแบบเดิมไมปรับเปล่ียนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน ไมสามารถพัฒนาตนเองใหเปนผูใฝรูใฝเรียนเพื่อเปนแบบอยางท่ีดีแกลูกศิษยได แมวาครูบางสวนจะผานการอบรมในเร่ืองการวิจัยทางการศึกษามาแลว ก็ยังไมสามารถนําความรูมาประยุกตใชพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนางานท่ีตนรับผิดชอบ ตลอดจน ถายทอดกระบวนการวิจัยใหผูเรียนใชการวิจัยเปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรูในการคนควาความรูใหมหรือตองการแกปญหาท่ีเกิดข้ึน เปนการพัฒนาคุณภาพผูเรียนใหเปนผูใชการวิจัยเปนกระบวนการหน่ึงของการเรียนรูตลอดชีวิต และในปจจุบันผลงานการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูในโรงเรียนบานดงเมือง(ดงเมืองวิทยา) ก็ยังมีไมมากเทาท่ีควร จากเหตุผลและความสําคัญดังกลาว ผูวิจัยจึงสนใจท่ีจะศึกษาการพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูเพื่อใหครูมีความรูในการวิจัยมีทักษะในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู โดยศึกษาปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูวาเปนอยางไรจะใชวิธีการใดมาพัฒนาครูและวิธีการที่นํามาใชพัฒนาจะสามารถ

Page 148: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

144

ทําใหครูเกิดความรูความเขาใจและมีเจตคติท่ีดีตอการทําวิจัยในช้ันเรียนรวมท้ัง สรางผลงานวิจัยในช้ันเรียนไดหรือไม ผลการวิจัยจะเปนขอมูลท่ีนํามาใชปรับปรุงการทําวิจัยในช้ันเรียนใหครูไดพัฒนาการเรียนการสอนอยูตลอดเวลา เพื่อใหบรรลุผลตามเจตนารมณในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ

วัตถุประสงคของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูโรงเรียนบานดงเมือง 2. เพื่อพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูโรงเรียนบานดงเมือง 3. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู โดยมีวัตถุประสงคยอยเพื่อ 3.1 ศึกษาและเปรียบเทียบความรูความเขาใจเร่ืองการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูกอนและหลังการพัฒนา 3.2 ศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติตอการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูกอนและหลังการพัฒนา 3.3 สํารวจผลงานวิจัยในช้ันเรียนของครู

วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยใชรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบงเปน 3 ระยะ ไดแก ระยะท่ี 1 การศึกษาปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู ระยะท่ี 2 การศึกษาเพื่อพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู และระยะท่ี 3 การศึกษาผลของการพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย ประกอบดวย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู 2) แบบบันทึกการคัดเลือกกิจกรรมท่ีใชเปนวิธีการแกปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียน 3) แบบ สอบถามเจตคติตอการทําวิจัยในช้ันเรียน 4) แบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในเร่ืองการวิจัยในช้ันเรียน และ 5) แบบประเมินรายงานวิจัยในช้ันเรียนของครู การเก็บรวบรวมขอมูล ผูวิจัยไดเก็บรวบรวมขอมูลในแตละระยะดังนี้ 1) ในการศึกษาปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู ผูวิจัยไดเชิญกลุมเปาหมายคือครูผูสอนจํานวน 48 คน มาประชุมช้ีแจงเพื่อทําความเขาใจใหตรงกัน และผูวิจัยเก็บรวบรวมขอมูลโดยใชแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู 2) ในการศึกษาเพ่ือพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู ผูวิจัยไดเชิญครูผูสอนและครูแกนนําการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน รวมประชุมระดมความคิดหากิจกรรมท่ีจะใชพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู ใหกลุมเปาหมายประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม ใน 3 ดาน คือ เปนกิจกรรมท่ีสามารถนําไปปฏิบัติได เปนกิจกรรมที่มีความคุมคาในการนําไปปฏิบัติ และเปนกิจกรรมท่ีมีความสอดคลองกับสถานการณตามสภาพความเปนจริงในปจจุบัน ลงในแบบบันทึกการคัดเลือกกิจกรรม และ 3) ในการศึกษาผลของการพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู จํานวน 23 คน ท่ีสมัครใจเขารับการพัฒนา ผูวิจัยเก็บรวบรวมขอมูล

Page 149: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

145

โดยใชแบบสอบถาม เจตคติตอการทําวิจัยในช้ันเรียน แบบ ทดสอบวัดความรูความเขาใจในเร่ืองการวิจัยในช้ันเรียน และแบบประเมินรายงานวิจัยในช้ันเรียนของครู การวิเคราะหขอมูล ผูวิจัยทําการวิเคราะหโดยการหาคาเฉล่ีย (Mean) และคาเบ่ียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบทีแบบกลุมตัวอยางไมเปนอิสระจากกัน (t-test for Dependent Samples)

สรุปผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู พบวา มีปญหาและอุปสรรคอยูในระดับ “มาก” 10 อันดับแรก ประกอบดวย 1) ความเพียงพอของหนังสือคนควาเพื่องานวิจัยของโรง- เรียน 2) แหลงเรียนรูในการวิจัย 3) การคนหาบทคัดยอวิทยานิพนธหรืองานวิจัยใหมๆ 4) ทุนสนับสนุนการวิจัย 5) การจัดหาเคร่ืองมือ อุปกรณในการทําวิจัย 6) คา ใชจายเขารับการอบรมการทําวิจัยในช้ันเรียน 7) การแปลผลการวิเคราะหขอมูล 8) การเลือกใชเคร่ืองมือเหมาะกับลักษณะของขอมูล 9) การเขียนรายงานวิจัยในช้ัน-เรียน และ 10) การสรางเคร่ืองมือท่ีใชในการเก็บรวบรวมขอมูล 2. ผลการพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู ไดขอสรุปกิจกรรมท่ีใชพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู มี 5 กิจกรรม คือ 1) การจัดหาและรวบรวมตัวอยางรายงานการวิจัย บท คัดยอวิทยานิพนธหรืองานวิจัยใหมและตัวอยางเคร่ืองมือท่ีใชในการรวบรวมขอมูล 2) การพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมกิจกรรมตามตารางที่ผูวิจัยกําหนด 3) การใหความรูในการสืบคนขอมูลทางอินเตอรเน็ต และแหลงคนควาอ่ืน ๆ 4) แตงต้ังครูแกนนําวิจัยของโรงเรียน เปนพี่เล้ียงใหคําแนะนําแกครู และ 5) การตั้งงบประมาณสนับสนุนลงในแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน 3. ผลของการพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู พบวา การใชวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูท่ีพัฒนาข้ึน มีผลทําให 1) ความรูความเขาใจของครูเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียน หลังการพัฒนาสูงข้ึนกวากอนพัฒนาอยางมีนัย สําคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 เปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว 2) ครูมีเจตคติตอการทําวิจัยในชั้นเรียนในระดับ “คอนขางดี” สูงกวากอนการพัฒนาอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 เปนไปตามสมมติฐานท่ีต้ังไว และ 3) ผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครู พบวา ครูจํานวน 12 คน คิดเปนรอยละ 52.17 ท่ีเขียนรายงานวิจัยไดเสร็จสมบูรณ และครูจํานวน 11 คน คิดเปนรอยละ 47.83 ท่ีอยูระหวางดําเนินการ โดยเขียนเคาโครงการ วิจัยเสร็จแลวทุกคน และผลการประเมินคุณภาพการเขียนรายงานวิจัยในช้ันเรียนของครู พบวา มีครูจํานวน 10 คน สามารถเขียนรายงานผลการวิจัยในช้ันเรียนอยูในระดับดี สวนอีก 2 คน สามารถเขียนรายงานผลการวิจัยในช้ันเรียนอยูในระดับพอใช สวนรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยในช้ันเรียนสวนใหญจะใชรูปแบบไมเปนทางการมาก กวารูปแบบเปนทางการ

Page 150: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

146

อภิปรายผล 1. การศึกษาปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู 1.1 ในดานแหลงคนควา มี 3 ประเด็น คือ ความเพียงพอของหนังสือคนควาเพื่องานวิจัยของโรงเรียน แหลงเรียนรูในการวิจัย และการคนหาบทคัดยอวิทยานิพนธหรืองานวิจัยใหม ๆ แสดงใหเห็นวา แหลงคนควาขอมูลการวิจัยในโรงเรียนมีนอยไมเพียงพอตอการนํามาใชศึกษาคนควา สอดคลองกับผลการวิจัยของสริยา ทองสมัคร (2538 :128) ; บังอร หิรัญอร (2545 : 102) ; กานดา พูนลาภทวี และวรรณดี แสงประทีปทอง (2545 : 27-29) ; เสาวลักษณ นามจันดี (2547: 86) ; สุรศักดิ์ การุณ (2547: 118 ) ท่ีพบวา ปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู ปจจัยท่ีสงผลตอการทําวิจัยในช้ันเรียน ไมมีเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของเพียงพอ ขาดแหลงเรียนรูและเอกสารสําหรับคนควาการทําวิจัยในช้ันเรียน 1.2 ในดานงบประมาณ มี 3 ประเด็น คือ ทุนสนับสนุนการวิจัย การจัดหาเคร่ืองมืออุปกรณในการทําวิจัย และคาใชจายเขารับการอบรมการทําวิจัยในช้ันเรียน สอดคลองกับผลการวิจัยของวีรพล ฉลาดแยม (2544) ; บังอร หิรัญอร (2545 : 114) ; ประเทือง พลเสนา (2545 : 47) ; กานดา พูนลาภทวี และวรรณดี แสงประทีปทอง (2545 : 27-29 ) ; ปญญา โรจนวิภาต (2546) ; เสาวลักษณ นามจันดี (2547 : 86) ; สุรศักดิ์ การุณ (2547 : 118) ท่ีตางก็พบวา ปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู รวมท้ังสาเหตุการที่ครูไมทํางานวิจัยของครูมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 3 และปจจัยท่ีสงผลและเอ้ือตอการทําวิจัยในช้ันเรียน ลวนมาจากขาดปจจัยสนับสนุนดานทุน และ การจัดหาเคร่ืองมือ วัสดุ อุปกรณในการทําวิจัย ไมมีการตั้งงบประมาณเพ่ือการวิจัย และเปนคาใชจายเขารับการอบรมของครู ซ่ึงจะพบวา มีงานวิจัยท่ีมีขอคนพบเชนนี้ คือ งานวิจัยของ เพ็ญณี แนรอท และคณะ (2547) ท่ีไดทําการสังเคราะหงานวิจัยและทิศทางการวิจัยในอนาคต พบวา สภาพการทําวิจัยในช้ันเรียน ในระดับประถมศึกษา ครูใชเงินทุนสวนตัวในการทําวิจัย และปญหาในการทําวิจัยของอาจารยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความตองการดานแหลงทุนสนับสนุน จะเห็นไดวางบประมาณเปนปจจัยสําคัญในอันดับตนๆ สําหรับการดําเนินงานทุกอยาง โดยเฉพาะการวิจัยในช้ันเรียนแตละเร่ือง ตองเสียคาใชจายสูงกวาจะสําเร็จได ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการทําวิจัยในช้ันเรียนจึงเปนส่ิงท่ีสถานศึกษาตองจัดสรรใหเปนคาใชจายใหกับครูผูวิจัยอยางเหมาะสม เพราะการวิจัยในช้ันเรียนมีความเกี่ยวของสัมพันธกับการจัดการเรียนการสอน โดยครูผูสอนสามารถดําเนินการวิจัยรวมไปกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ 1.3 ดานความรูความเขาใจเกี่ยวกับการวิจัย มี 4 ประเด็น คือ การแปลผลการวิเคราะหขอมูล การเลือกใชเคร่ืองมือเหมาะกับลักษณะของขอมูล การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน และการสรางเคร่ืองมือท่ีใชในการเก็บรวบรวมขอมูล ซ่ึงสอดคลองกับผลการวิจัยของ วีรพล ฉลาดแยม (2544) ; ประเทือง พลเสนา (2545 : 49) ; กานดา พูนลาภทวี และวรรณดี แสงประทีปทอง (2545 : 28-29) ; สุพัฒน มีสกุล (2546 :

Page 151: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

147

107) ; ปญญา โรจนวิภาต (2546) ; เสาวลักษณ นามจันดี (2547 : 86-87) ; สุรศักดิ์ การุณ (2547 : 118-119) ท่ีพบวา ครูมีปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนดานความรูความเขาใจและทักษะในการวิจัยในชั้นเรียน อยูในระดับ “มาก” ท้ังดานการแปลผล การวิเคราะหขอมูลการเขียนรายงานผลการวิจัยวิจัยในช้ันเรียน โดยเฉพาะทักษะในการสรางและเลือกใชเคร่ืองมือการวิจัย ตัวผูวิจัยจะตองมีความรูและทักษะทางการวิจัย เปนคุณสมบัติหรือปจจัยพื้นฐานของผูวิจัยท่ีสําคัญท่ีสุด ซ่ึงวิธีการที่จะเพิ่มพูนความรูใหแกครู ใหมีความรูความเขาใจและทักษะเกี ่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและการวิจัยในชั ้นเรียนนั้น จะตองไดรับคําแนะนําที่ถูกตองจากครู แกนนําการวิจัยของโรงเรียน และการศึกษาดวยตนเอง จากการอานเอกสารเพิ่มเติม ซ่ึงก็สอดคลองกับ ผลการวิจัยของ สุธาสินี บุญญาพิทักษ (2545 : 256-266) ท่ีไดศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถภาพครูนักวิจัย ไดขอมูลเชิงประจักษจากมุมมองของครูประจําการ ในประเด็น สภาพการพัฒนาสมรรถภาพครูนักวิจัยและปญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานวิจัยในช้ันเรียน พบวา ครูประจําการมีความคิดเห็นสอดคลองกันวา จากประสบการณจริงในโรงเรียน ครูมักประสบปญหาในการเร่ิมตนทําวิจัยในช้ันเรียนท้ังในดานความรู เจตคติ และทักษะการปฏิบัติตลอดจนแหลงทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู ดานความรูความเขาใจ พบวาขาดความรูเกี่ยวกับการวิเคราะหปญหา การกําหนดปญหาวิจัย ไมรูข้ันตอนและกระบวนการวิจัย ตลอดจนความรูเกี่ยวกับสถิติและมีความกังวลใจกับการใชสถิติในงานวิจัย ไมสามารถออกแบบการวิจัยได ดานเจตคติ พบวาครูไมเช่ือในวิธีวิจัยวาจะนําไปสูการแกปญหาได มีเจตคติไมดีตอการวิจัย มองวาวิจัยเปนเร่ืองยุงยาก เหมาะกับผูมีความรูระดับปริญญาโทเทานั้น ไมกลาเสนอแนวทางแกปญหาท่ีตนเองมีประสบการณปฏิบัติ ขาดความม่ันใจในการทําวิจัย บางสวนไมยอมรับการเปล่ียนแปลงและไมยอมรับการสอนท่ีเนนผูเรียนเปนสําคัญ คิดวาท่ีตนปฏิบัติดีแลวไมจําเปนตองปรับปรุงหรือพัฒนา ขาดความต้ังใจจริงในการพัฒนาผูเรียน ดานทักษะการปฏิบัติ พบวาครูสวนใหญไมสามารถสรางนวัตกรรมการสอนใหม ๆ ได ขาดทักษะในการสรางเคร่ืองมือวัดและประเมินคุณลักษณะตาง ๆ ของผูเรียน ไมจัดเก็บขอมูลเปนระบบ ไมสามารถสรุปขอมูลได ดานแหลงทรัพยากรในการเรียนรู พบวาขาดเอกสารแหลงขอมูลท่ีสนับสนุนการวิจัยและตัวอยางงานวิจัยในช้ันเรียนท่ีชัดเจน ขาดผูนําหรือผูมีประสบการณใหคําแนะนําปรึกษาภายในโรงเรียน 2. การพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู 2.1 กระบวนการพัฒนาวิธีการแกปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูผูวิจัยไดใชหลักการมีสวนรวมของบุคลากร ใหความสําคัญกับบุคลากรในโรงเรียน ท่ีมีความรูความสามารถในกระบวนการวิจัย โดยแตงต้ังครูท่ีจบปริญญาโทเปนครูแกนนําวิจัยของโรงเรียนทําหนาท่ีเปนพี่เล้ียงใหคําแนะนําและชวยเหลือครูในการทําวิจัยในชั้นเรียน เพราะตัวครูเองยอมรูสภาพปญหาของโรงเรียนไดดีกวาบุคคล ภายนอก จากการศึกษาเอกสารกรณีตัวอยาง : รูปแบบการวิจัยและพัฒนาท้ังโรงเรียนของ

Page 152: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

148

นักวิจัยในพื้นท่ี โครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรูเพื่อพัฒนาคุณภาพผูเรียน และรายงานการสังเคราะห : รูปแบบการพัฒนาครูท้ังโรงเรียน ของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รวมกับการระดมสมองของครูแกนนําวิจัยของโรงเรียน ทําใหไดรูปแบบกิจกรรมท่ีหลากหลาย และผานการกล่ันกรองคัดเลือกจากคณะครู จนไดกิจกรรมท่ีจะใชพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู 2.2 กิจกรรมท่ีใชพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู มี 5 กิจกรรม คือ การจัดหาและรวบรวมตัวอยางรายงานการวิจัย บทคัดยอวิทยานิพนธหรืองานวิจัยใหมและตัวอยางเคร่ืองมือท่ีใชในการรวบรวมขอมูล การพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมกิจกรรมตามตารางท่ีผูวิจัยกําหนด การใหความรูในการสืบคนขอมูลทางอินเตอรเน็ตและแหลงคนควาอ่ืน ๆ แตงต้ังครูแกนนําวิจัยของโรงเรียน เปนพี่เล้ียงใหคําแนะนําแกครู และการต้ังงบประมาณสนับสนุนลงในแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน ผลในข้ันตอนนี้พบวา มีครูจํานวน 23 คนท่ีสนใจสมัครเขารวมกิจกรรมตามตารางปฏิทินการปฏิบัติงาน การพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียน ระหวางวันท่ี 25 ธันวาคม 2549 ถึงวันท่ี 31 มีนาคม 2550 ใชเวลาชวง 15.00 – 16.30 น. โดยผูวิจัยจึงจัดทําเอกสารแจกใหครูไดศึกษาเพิ่มเติม พรอมกับการเยี่ยมช้ันเรียน ซ่ึงครูก็มีความสนใจโดยไดสอบถามขอสงสัยกับผูวิจัยหรือครูแกนนําวิจัยของโรงเรียนและยืมเอกสารตัวอยางงานวิจัยในช้ันเรียนและเอกสารอานประกอบ ไปศึกษาคนควา สวนในการต้ังงบประมาณสนับสนุนลงในแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน ผูวิจัยไดเสนอขออนุมัติใชงบประมาณป 2550 สําหรับครูท่ีทําวิจัยในชั้นเรียน และขอตั้งงบประมาณสําหรับเขารับการอบรมของครู สอดคลองกับรายงานการวิจัย การสังเคราะหองคความรูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรูท่ีเนนตัวผูเรียนเปนสําคัญต้ังแต พ.ศ. 2542 – 2547 ของ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์ และคณะ (2548 : 170) ไดเสนอแนะใหผูบริหารมีสวนสนับสนุนครูใหทําวิจัย โดยการสงเสริมการพัฒนาทักษะ การทําวิจัยของครู เชน การจัดฝกอบรม ใหความรู ศึกษาดูงาน และฝกปฏิบัติจริงอยางตอเนื่อง จัดหาพี่เล้ียง ทีมงานใหความชวยเหลือในระยะแรกของการทําวิจัย ซ่ึงผูวิจัยไดเลือกวิธีใหครูฝกปฏิบัติจริง และแตงต้ังครูผูนําการวิจัยของโรงเรียนใหความชวยเหลือแนะนําเปนพี่เล้ียง และสอดคลองกับผลการวิจัยของ นภเนตร ธรรมบวร (2548 : 46) เร่ืองการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูในการอาน คิดวิเคราะห เขียน และสรางองคความรูดวยตนเองท่ีเนนผูเรียนเปนสําคัญ ท่ีไดสรุปขอเสนอแนะเชิงนโยบายในแนวทางการพัฒนาการฝกหัดครู และอบรมครูประจําการท่ีวา ครูเรียนรูไดดีท่ีสุดโดยการศึกษาการลงมือปฏิบัติจริง สะทอนความคิดการแลกเปล่ียนความรูประสบการณ และการทํางานรวมกับเพื่อนครูดวยกัน 3. ผลของการพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู 3.1 ผลการพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูดานความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทําวิจัยในชั้นเรียน พบวา ครูมีความรูความเขาใจเกี่ยวกับทําวิจัยในช้ันเรียนหลังการพัฒนาสูงกวากอนพัฒนาอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 ท้ังนี้ระดับความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียนมีการ

Page 153: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

149

เปล่ียนแปลงจากระดับผานเกณฑข้ันตํ่าเปนระดับปานกลาง แสดงใหเห็นวากิจกรรมท่ีใชพัฒนาครูสงผลใหเกิดการเปล่ียนแปลงดานความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทําวิจัยใน ช้ันเรียน สอดคลองกับงานวิจัยของ สุพัฒน มีสกุล (2546 : 112) ที่พบวาการใชกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการสามารถชวยพัฒนาครูใหมีความรูความเขาใจ และสามารถทําวิจัยในชั้นเรียนดวยการลงมือปฏิบัติจริงได และ นภเนตร ธรรมบวร (2548 : 46) ไดมีขอสรุปไววา ครูเรียนรูไดดีท่ีสุดโดยการศึกษา การลงมือปฏิบัติจริง การสะทอนความคิด การแลกเปลี่ยนความรูประสบการณ และการทํางานรวมกับเพื่อนครูดวยกัน รวมตลอดถึงการสังเกต และจดบันทึกการเรียนรูของเด็ก สวนคะแนนความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูท่ีเพิ่มข้ึนกวากอนพัฒนาเพียงเล็กนอย อาจเนื่องมาจากการสํารวจปญหาและอุปสรรคการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูโดยใชแบบสอบถามทําใหไมไดปญหาที่แทจริง เพราะครูอาจใชความรูสึกท่ีเขาขางตัวเองวามีความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียนดีแลว จากผลการวิเคราะหขอมูลของกลุมเปาหมาย ครูกวารอยละ 60 เคยผานการอบรมเกี่ยวกับการทําวิจัยในช้ันเรียนและเคยทําวิจัยในช้ันเรียนมาแลว 3.2 เจตคติตอการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู พบวา ครูมีเจตคติท่ีดีตอการทําวิจัยในช้ันเรียนสูงข้ึนกวากอนพัฒนาอยางมีนัย สําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ท้ังนี้แมวากอนพัฒนาและหลังการพัฒนาจะมีระดับเจตคติอยูในระดับคอนขางดี แตหลังการพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงของคาเฉลี่ยจาก 3.67 เปน 4.07 ซึ่งอาจเปนเพราะวาครูมีเจตคติท่ีไมถูกตองกับการทําวิจัย คือ ไมเห็นความสําคัญของการทําวิจัยในชั้นเรียน วาเปนสวนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คิดวาเปนงานยุงยากซับซอน ไมมีเวลาในการทํางานวิจัยในช้ันเรียน เนื่องจากมีภาระงานมาก อีกทั้งเปนเรื่องที่ตองใชความรูและทักษะในระดับสูง มีความเคยชินอยูกับกระบวนการสอนแบบบรรยายตามหลักสูตรและจุด ประสงคที่กําหนดไว (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์ และคณะ, 2548 : 168) และครูที่ความสนใจสมัครเขารับการพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนยอมมีเจตคติท่ีดีตอการทําวิจัยในช้ันเรียนอยูแลว 3.3 สวนผลงานวิจัยในช้ันเรียนของครู พบวา ครูจํานวน 23 คน สามารถวางแผนงานวิจัยในช้ันเรียนไดโดยเขียนโครงการวิจัยในช้ันเรียน และการเขียนรายงานวิจัยในช้ันเรียนของครู พบวา มีครูจํานวน 10 คน สามารถเขียนรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนอยูในระดับดี สวนอีก 2 คน สามารถเขียนรายงานผลการวิจัยในช้ันเรียนอยูในระดับพอใช และยังดําเนินการไมเสร็จจํานวน 11 คน เพราะขาดความม่ันใจและความมุงม่ัน ซ่ึงก็จะสงผลตอการพัฒนาตนเองของครู สอดคลองกับหลักของการพัฒนาตน (เอมอร กฤษณะรังสรรค, 2545 : 54-55 ;อางถึงใน อัจฉรา โพธิยานนท, 2546) ไดสรุปสาระสําคัญไว ดังนี้ 1) การพัฒนาตองเกิดจากความเต็มใจและสมัครใจ ถามีความตองการท่ีจะเปล่ียนแปลงตนเองดวยตัวบุคคลนั้นเอง โดยปราศจากความรูสึกวาถูกบังคับ ตระหนักรูถึงปญหาและความจําเปนในการเปล่ียนแปลงตนเองจะมี

Page 154: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

150

ความมุงม่ันท่ีจะฝาพนอุปสรรค และผลักดันตนเองใหไปถึงเปาหมายใหได 2) ผูท่ีตองการพัฒนาตองมีบทบาทหลักในการลงมือพัฒนาตนดวยตนเอง ตระหนักถึงความรับผิดชอบตอชีวิตตนเอง ไมมีใครลงมือแทนได 3) การพัฒนาตนเอง เปนการเปล่ียนแปลงตนเองท่ีมีขอบเขตของจุดมุงหมายครอบคลุมท้ัง 3 ดานคือ เพื่อการแกไขปญหาท่ีเกิดข้ึนในปจจุบัน เพื่อการปองกันปญหาที่อาจจะเกิดข้ึนในอนาคต และเพื่อการสรางเสริมศักยภาพของตนใหสูงข้ึน และ 4) การพัฒนาตนเองเปนกระบวนการเรียนรูท่ีตอเนื่องตลอดชีวิต

ขอเสนอแนะ 1. โรงเรียนหรือสถานศึกษาทุกระดับ สามารถนํารูปแบบการวิจัยและพัฒนาไปใชพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของบุคลากรได โดยดําเนินการพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนเปน 3 ระยะ คือ การศึกษาหาสาเหตุปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครู การพัฒนาวิธีการหรือกิจกรรมท่ีจะใชแกปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู และการศึกษาผลการพัฒนาการทําวิจัยในช้ันเรียนของครู 2. จากผลการวิจัยพบวา ปญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยของครู มี 2 สาเหตุ คือ ดานแหลงคนควาและดานงบประมาณ ดังนั้นผูบริหารและหนวยงานท่ีเกี่ยวของ จึงตองใหการสนับสนุนจัดหา เอกสาร หนังสือคนควาเกี่ยวกับงานวิจัยตัวอยางงานวิจัยในช้ันเรียน ทุน เคร่ืองมือ อุปกรณในการทําวิจัยและสืบคนขอมูล รวมท้ังคาใชจายสงครูเขารับการอบรม ตามกําลังความสามารถที่จะจัดใหได สวนสาเหตุจากตัวครูดานความรูความเขาใจเกี่ยวกับการวิจัย ผูบริหารและหนวย-งานท่ีเกี่ยวของจะตองสงเสริมสนับสนุนใหครูไดศึกษาเพ่ิมเติมและเขารับการอบรมเร่ืองความรูในกระบวนการวิจัย หรือแตงต้ังครูท่ีมีความเชี่ยวชาญในการทําวิจัยในช้ันเรียนเปนท่ีปรึกษาใหคําแนะนําแกครูท่ีจะทําวิจัยในช้ันเรียน 3. ควรกําหนดนโยบายเปนมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู โดยใหครูทุกคนทําวิจัยในช้ันเรียนควบคูกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยางนอยปละ 1 เร่ือง 4. ควรศึกษาหารูปแบบกิจกรรมท่ีจะชวยใหครูเห็นคุณคาของการทําวิจัยใน ช้ันเรียน และอยากพัฒนาการทําวิจัยในชั้นเรียนท่ีเกิดจากแรงจูงใจภายในตนเอง ซ่ึงจะทําใหครูเกิดการเรียนรูท่ียั่งยืนและสามารถใชกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู

********************

Page 155: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

151

เอกสารอางอิง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์ และคณะ. (2548). รายงานการวิจัย การสังเคราะหองคความรูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู

ที่เนนตัวผูเรียนเปนสําคัญต้ังแต พ.ศ. 2542-2547 (ฉบับสมบูรณ). กรุงเทพฯ : กลุมพัฒนานโยบายการเรียนรูดานภูมิปญญาและการทองเท่ียว สํานักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนา การเรียนรู สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรจรีย ณ ตะก่ัวทุง. (2547). กลยุทธการเรียนการสอนที่หลากหลาย : แนวปฏิบัติพัฒนาและนิเทศ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเอ็กซเปอรเน็ทจํากัด.

คณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, สํานักงาน. (2544). การวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรูตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : สถาบันสงเสริมการวิจัยเพื่อการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแหงชาติ.

ดรุณี อาจปรุ. (2543). ความตองการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผูสอนวิชาคณิตศาสตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ขอนแกน.

ประเทือง พลเสนา. (2545). ปญหาและความตองการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูแกนนําในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ปญญา โรจนวิภาค. (2546). การศึกษาปญหาและความตองการในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี. ปริญญานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนสิช สิทธิสมบูรณ. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมการวิจัยในชั้นเรียน. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน.

มัลลิกา นิตยาพร. (2543) การพัฒนาการเรียนรูดวยการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา. วรรณา เดนขจรเกียรติ. (2543). ปจจัยที่สงผลตอความพึงพอใจในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูประถม ศึกษา

สังกัดสํานักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วีรพล ฉลาดแยม. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถม ศึกษาจังหวัดหนองบัวลําภู. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน.

สริยา ทองสมัคร. (2538). สาเหตุในการทําและไมทําวิจัยและสภาพการทําวิจัยทางการศึกษาของครูมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 3. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร.

สุธาสินี บุญญาพิทักษ. (2545). การพัฒนาหลักสูตรครูนักวิจัยในชั้นเรียน สําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญานิพนธการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

Page 156: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

152

สุรศักดิ์ การุญ. (2547). ปจจัยที่สงผลตอการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผูสอนในชวงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน.

เสาวลักษณ นามจันดี. (2547). ปญหาและความตองการเพ่ือการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผูสอนกลุมสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาขอนแกน เขต 5. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน.

อัจฉรา โพธิยานนท. (2546) การปฏิรูปการจัดการเรียนรู : จากแนวคิดสูการปฏิบัติ มิติใหมของการพัฒนาครูเพ่ือการปฏิรูปการจัดการเรียนรูในสถานศึกษา. กลุมผลิตและพัฒนาครู สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนและในโรงเรียนเพ่ือพัฒนานักเรียน. กรุงเทพมหานคร : ฟนนี่.

อํารุง จันทวานิช. (2539) "จะจัดการวิจัยและการศึกษาใหสอดคลองกันอยางไร," ขาวสารวิจัยการศึกษา. 19 : 3-6 ********************

Page 157: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

153

การตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล*

ณัฐา ปยะวิทยวนิช**

ผศ.ดร.สุวรรณี แสงมหาชยั, ผศ.ดร.รวิภา ธรรมโชติ, ดร.จารุวรรณ ธาดาเดช***

บทคัดยอ การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงคเพ่ือ (1) วิเคราะหถึงปจจัยที่เปนปญหาและอุปสรรคในการดําเนินการตรวจสอบทุจริตการจัดซื้อจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล (2) เสนอแนะทางการแกไขปญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล เพ่ือใหเกิดความโปรงใส มปีระสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณของทองถ่ิน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยเชิงคุณภาพฉบับน้ี เปนการศึกษาทบทวนเอกสารและบันทึก เนนการศึกษา รวบรวม และเรียบเรียงขาวสารจากหนังสือวิชาการ บทความ วารสาร รายงานการวิจัย รายงานผลการปฏิบัติงานประจําป วิทยานิพนธ และสื่ออิเล็กทรอนิกส กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย คือการสัมภาษณเจาหนาที่ที่เก่ียวของในการดําเนินการตรวจสอบทุจริตการจัดซื้อจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล จากสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (สํานักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.) ตามพระราชบัญญัติวาดวยความผิดเก่ียวกับการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 จํานวน 10 ราย จากการวิจัยพบวา ปญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจางที่เกิดขึ้นขององคการบริหารสวนตําบล (อบต.) มีรูปแบบการทุจริตที่หลากหลาย ต้ังแตขั้นตอนริเริ่มเสนอโครงการจัดซื้อจัดจางการทุจริตสมยอมกันในการเสนอราคาการจัดซื้อจัดจาง รวมถึงการทุจริตในขั้นตอนการดําเนินงานการกอสราง และการตรวจรับงาน ซึ่งการทุจริตดังกลาวไดสง ผลกระทบตอประเทศไทยในดานตางๆ ไดแก ผลกระทบจากการทุจริตที่ตอการบริหารราชการขององคการบริหารสวนตําบลเอง ผลกระทบทางดานการเมือง ผลกระทบทางดานเศรษฐกิจของประเทศ และผลกระทบทางดานสังคม

คําสําคัญ: การตรวจสอบทุจริต/ การจัดซื้อจัดจาง/ องคการบริหารสวนตําบล *

* วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ.2551 ** รับราชการ บุคลากร 3 ฝายการศึกษา สํานกังานเขตบางแคกรงุเทพมหานคร *** ผศ.ดร.สุวรรณี แสงมหาชัย ประจําคณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยรามคําแหง อาจารยท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ ผศ.ดร.รวิภา ธรรมโชติ ประจําคณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยรามคําแหง อาจารยท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ ดร.จารุวรรณ ธาดาเดช ประจําบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง อาจารยท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ

Page 158: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

154

Audits Revealing Corruption in Tambon Administration Organization Procurement Nattha Piyavitwanich

Asst. Prof. Dr. Suwannee Sagmahachai

Asst. Prof. Dr. Ravipa Thummachot

Dr. Charuwan Tadadaj

Abstract The aims of this research were to (1) study problems and obstacles on corruption audit in the procurement of Tambon administration organization, and (2) propose ways for solving the problem of corruption in the procurement of Tambon administration organization in order to ensure transparency and efficiency in local budget management. The instruments used in this qualitative research were the study and review of the document and record from technical books, articles, journals, research reports, annual reports, thesis and electronic medias focusing on data collection and editing. The information was collected from the interview of 10 officers related to corruption audition in the procurement of Tambon administration organization. They are from the Office of the National Counter-Corruption Commission (NCCC) under the Act Concerning Offenses Relating to the Submission of Bids to Government Agencies, B.E. 2542 (1999). According to the research, it was found that there were several forms of procurement corruptions within Tambon administration organization, from the initial process of project proposal, mutually consent to bid, until the process of construction and inspection. Those corruptions affect Thailand in many aspects namely; Tambon administration organization management, political, economic and social aspects.

Keywords: Audits Revealing Corruption/ Tambon Administration Organization/ Procurement

Page 159: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

155

ความสําคัญและที่มาของปญหา การทุจริตในหนวยงานราชการ เปนปญหาสําคัญท่ีสุดปญหาหน่ึงของประเทศไทยในปจจุบัน เนื่องจากเปนปญหาท่ีเช่ือมโยงใหเกิดปญหาอื่นๆ อีกมากมาย เชน ปญหาทางเศรษฐกิจและความเช่ือมั่นในการลงทุน ปญหาระบบคุณธรรม และปญหาความม่ันคงทางการเมือง เพราะวาการปฏิวัติและรัฐประหาร แทบทุกครั้งจะอางเหตุท่ีผูบริหารประเทศกระทําการทุจริตคอรรัปช่ัน ทําใหจําตองมีการปฏิวัติรัฐประหาร และเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ท้ังน้ี ปจจุบันการทุจริตก็มีหลากหลายรูปแบบ และพัฒนาใหทันยุคสมัยมากข้ึน โดยเฉพาะการทุจริตเกี่ยวกับการจัดซ้ือจัดจางในหนวยงานของรัฐ ยกตัวอยางเชน การสมยอมเสนอราคา หรือการฮั้วประมูล ซึ่งถือเปนปญหาท่ีสําคัญยิ่ง เนื่องจากประเทศไทยมีงบประมาณในการจัดซ้ือจัดจางภาครัฐปหนึ่งๆ เปนจํานวนหลายหมื่นลานบาท แตงบประมาณไดรั่วไหลไปกับการท่ีรัฐถูกเอาเปรียบจากการสมยอมกันในการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ ซึ่งเปนการทุจริตชนิดหน่ึงและเปนอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในตางประเทศถือเปนความผิดฐาน “ฉอโกงรัฐ” ทําใหรัฐตองสูญเสียงบประมาณสูงเกินควรท่ีจะเปนและไดงานหรือพัสดุท่ีไมมีคุณภาพ เนื่องจากคาจางสวนหน่ึงตองนําไปจายตามขอตกลง ทําใหผูรับงานจําเปนตองลดมาตรฐานของส่ิงกอสรางเพ่ือประหยัดตนทุน และประการสําคัญ ทําใหเจาหนาท่ีของรัฐท่ีเกี่ยวของกับการประมูลแสวงหาประโยชนท่ีมิชอบ แมรัฐจะมีระเบียบในการจัดซ้ือจัดจาง กําหนดวิธีการข้ันตอนในการจัดซ้ือจัดจางไวแลว แตมีปญหาควบคุมทุจริตการจัดซ้ือจัดจางเกิดข้ึนเปนจํานวนมาก จึงไดมีการออกพระราชบัญญัติวาดวยความผิดเก่ียวกับการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางของหนวยงานของรัฐ โดยกําหนดใหคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ เปนหนวยงานหลักในการดําเนินการปราบปรามการทุจริตจัดซ้ือจัดจางในหนวยงานของรัฐ

แตอยางไรก็ตาม ถึงแมจะมีพระราชบัญญัติวาดวยความผิดเก่ียวกับการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ออกมาบังคับใชแลว แตก็มีปญหาการทุจริตเกิดข้ึนเปนจํานวนมาก โดยเฉพาะการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางในองคกรปกครองสวนทองถิ่น เนื่องจากรัฐบาลตองจัดสรรงบประมาณใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่นเพิ่มข้ึน ทําใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นเปนหนวยงานท่ีมีงบประมาณมาบริหารเปนจํานวนมหาศาล ทําใหบรรดาผูมีอิทธิพลในทองถิ่นหรือผูรับเหมากอสรางตางๆ สนใจเขามาเปนนักการเมืองทองถิ่น โดยพยายามใชเงินซื้อเสียงใหไดเขามาเปนผูบริหารองคกรปกครองสวนทองถิ่น เพื่อหวังเขามาแสวงหาประโยชนจากเงินงบประมาณดังกลาวผานการทุจริตในการจัดซ้ือจัดจาง โดยเฉพาะองคการบริหารสวนตําบลซ่ึงปจจุบัน มีจํานวนหลายพันแหงท่ัวประเทศไทย และมีแนวโนมการทุจริตเพ่ิมมากข้ึน จึงจําเปนตองมีการศึกษาหาแนวทางในการควบคุมตรวจสอบการทุจริตในการจัดซ้ือจัดจางใหเกิดความโปรงใส เพื่อใหประชาชนในทองถิ่นไดรับผลประโยชนจากงบประมาณของประเทศอยางเต็มเม็ดเต็มหนวย และเพื่อใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Page 160: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

156

จุดมุงหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาถึงปจจัยท่ีเปนปญหาและอุปสรรคในการดําเนินการการตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจาง

ขององคการบริหารสวนตําบล 2. เพื่อเสนอแนวทางการแกไขปญหาการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล เพื่อให

เกิดความโปรงใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารจัดการงบประมาณของทองถิ่น

ขอบเขตการวิจัย ศึกษากรณีทุจริตท่ีเกี่ยวของกับการจัดซ้ือจัดจางขององคกรปกครองสวนทองถิ่น โดยศึกษาเฉพาะกรณี

การทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล ท่ีเกิดข้ึนในชวงประมาณ 4-5 ปท่ีผานมา โดยศึกษาจาก 1. กฎหมาย กฎ ระเบียบ และประกาศตางๆ ท่ีเก่ียวของกับการซ้ือและการจางขององคการบริหารสวน

ตําบล อาทิ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยวาดวยการพัสดุของหนวยการบริหารราชการสวนทองถิ่น พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวาดวยความผิดเก่ียวกับการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เปนตน

2. วิธีการ ข้ันตอน และรูปแบบของการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบลในปจจุบัน 3. กระบวนการและวิธีการในการหลีกเลี่ยง และดําเนินการใดๆ อันเกี่ยวกับการทุจริตและคอรรัปช่ันใน

กระบวนการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล 4. ปญหาและขอจํากัดในการดําเนินการการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล ตามระเบียบ

กระทรวงมหาดไทยวาดวยการพัสดุขององคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2538

ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาวิจัยนี้ใชวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เปนหลักซึ่งตามหลักวิธีวิทยา

(Methodology) โดยมุงท่ีจะศึกษาขอมูลจากสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ ในดานการตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล โดยเฉพาะผลจากการศึกษาท่ีไดจะนําไปวิเคราะหถึงปญหาและอุปสรรคท่ีเกิดข้ึนในการปฏิบัติหนาท่ี โดยใชการพรรณนาวิเคราะห (Descriptive Analysis) นําเสนอผลท่ีไดจากการศึกษาวิจัย การวิจัยนี้ไดกําหนดระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาไวนี้ ดังน้ี การศึกษาเอกสาร การศึกษาเอกสารน้ัน จะสํารวจท้ังขอมูลจากแหลงคนควาของมหาวิทยาลัยตางๆ หนังสือ ตํารา วารสาร บทความ รายงานการวิจัย รายงานการสัมมนา รายงานผลการปฏิบัติงานประจําป วิทยานิพนธ ตลอดจนเว็บไซตตางๆ ท่ีเกี่ยวของท้ังในประเทศ และตางประเทศ รวมถึงขอมูลจากหนวยงานตางๆ อาทิ สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) กระทรวงมหาดไทย องคกรปกครองสวนทองถิ่น เปนตน โดยมีวัตถุประสงคเพื่อใหไดมาซ่ึงขอมูลการทุจริตท่ีเกิดข้ึน รวมถึงรูปแบบ วิธีการจัดการปญหาทุจริต และประพฤติมิชอบขององคการบริหารสวนตําบล

Page 161: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

157

การสัมภาษณเชิงลึก การสัมภาษณเชิงลึก เปนการถามเพื่อหาสาเหตุของการทุจริตและประพฤติมิชอบท่ีเกิดข้ึนในองคการบริหารสวนตําบล หาขอเสนอแนะท่ีเปนประโยชนตอการกําหนดแนว ทางในการแกไขและปองกันในอนาคต ดังน้ัน จึงไดทําการสัมภาษณเจาหนาท่ีสํานักคดี สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) จํานวน 10 คน ซึ่งมีอํานาจหนาท่ีในการตรวจสอบทุจริตเก่ียวกับการจัดซ้ือจัดจางของหนวยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวาดวยความผิดเก่ียวกับการเสนอราคาตอหนวย งานของรัฐ พ.ศ. 2542 แนวความคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกีย่วของ เพื่อใหการดําเนินการวิจัยมีแนวทางท่ีชัดเจน เกิดความรู ความเขาใจกวางขวางยิ่งข้ึน ผูวิจัยจึงไดศึกษาวรรณกรรมท่ีเกี่ยวของจากเอกสาร หนังสือราชการ หนังสือวิชาการ บทความตางๆ เอกสารประกอบการประชุม รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ โดยมีรายละเอียดท่ีนําเสนอในสวนนี้ 6 สวน ไดแก 1. แนวความคิดเก่ียวกับการกระจายอํานาจ 2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองทองถิ่น 3. แนวความคิดระบบอุปถัมภ 4. แนวความคิดระบบคุณธรรม 5. แนวความคิดเก่ียวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ 6. แนวความคิดเก่ียวกับการทุจริตการจัดซ้ือจัดจาง

ผลการศึกษาวิจัย จากการศึกษาขอมูล และสัมภาษณเชิงลึกผูท่ีเก่ียวของกับการกระบวนการตรวจสอบการทุจริตจัดซ้ือจัดจางภาครัฐ ผูวิจัยพบวาปญหาในการตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล มีปญหาหลายประการ สามารถสรุปปญหาแยกเปน 1. ปญหาการตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางภายในองคการบริหารสวนตําบล 2. ปญหาการตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางภายนอกองคการบริหารสวนตําบล 1. ปญหาการตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางภายในองคการบริหารสวนตําบล

ปญหาการตรวจสอบจัดซ้ือจัดจางท่ีเกิดข้ึนจากปจจัยภายในองคการบริหารสวนตําบลเอง มีอยูหลายประการ คือ

1.1 ปญหาดานบุคลากร ปญหาสําคัญ ซึ่งเปนปจจัยท่ีเปนอุปสรรคประการสําคัญในการปองกันและปราบปรามการทุจริต

จัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล ก็คือ ปญหาดานบุคลากรท่ีเก่ียวของกับการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล ซึ่งประกอบดวย เจาหนาท่ีพัสดุ หัวหนาเจาหนาท่ีพัสดุ นายกองคการบริหารสวนตําบล และคณะกรรมการตาง ๆ ท่ีนายกองคการบริหารสวนตําบลแตงต้ังใหปฏิบัติหนาท่ี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยวาดวยการพัสดุขององคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2538

Page 162: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

158

การจัดซ้ือจัดจางในองคการบริหารสวนตําบล จะเปนไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรมมีความโปรงใส และประชาชนในทองถิ่นจะไดรับประโยชนจากการบริการสาธารณะดังกลาวอยางเต็มตามงบประมาณหรือไมนั้น เจาหนาท่ีดังกลาวขางตน ถือวาเปนหัวใจท่ีสําคัญท่ีสุดในการดําเนินการจัดซ้ือจัดจางดังกลาว เพราะในทุกกระบวนการของการจัดซ้ือจัดจาง เจาหนาท่ีดังกลาวจะเปนผูควบคุมและดําเนินการ ตลอดจนเปนฝายกําหนดหลักเกณฑและเงื่อนไขของการคัดเลือกพัสดุ ซึ่งมักพบปญหาวา เจาหนาท่ีดังกลาวสวนใหญจะมีสวนเกี่ยวของในการทุจริตจัดซ้ือจัดจางในแทบทุกโครงการท่ีมีการทุจริต ซึ่งมีมูลเหตุสําคัญหลายประการ ดังตอไปนี้

ประการแรก บุคลากรท่ีมีหนาท่ีในการจัดซ้ือจัดจาง ซึ่งขาราชการประจําขององคการบริหารสวนตําบลไมมีความเปนอิสระในการดําเนินการ โดยถูกการแทรกแซงไดงาย โดยเฉพาะจากผูบริหารทองถิ่น (ฝายการเมืองทองถิ่น) ซึ่งเปนผูท่ีมีอํานาจแตงต้ังใหทําหนาท่ีตามระเบียบ และก็สวมหมวกอีกใบทําหนาท่ีเปนผูบังคับบัญชาท่ีมีอํานาจใหคุณใหโทษเจาหนาท่ีเหลาน้ันได

ประการท่ีสอง เจาหนาท่ีขององคการบริหารสวนตําบลสวนใหญท่ีถูกแตงต้ังใหทําหนาท่ียังมีความรูความเขาใจเก่ียวกับประเภทและชนิดของพัสดุไมเพียงพอ ซึ่งทําใหการจัดซ้ือจัดจางในแตละครั้ง ไมสามารถคัดเลือกพัสดุท่ีมีคุณภาพ และเปนประโยชนราชการอยางแทจริง รวมท้ังในการตรวจรับพัสดุ หรือตรวจงานจาง มักพบปญหาสําคัญวาคณะกรรมการตรวจรับหรือตรวจการจางไมมีความรูและความเขาใจเก่ียวกับพัสดุหรืองานจางน้ัน จึงไมสามารถตรวจสอบไดวาพัสดุ หรืองานจางน้ันเปนไปตามท่ีกําหนดไวในสัญญาหรือไม

ประการท่ีสาม การทําหนาท่ีของเจาหนาท่ีในการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล จะถูกควบคุมและดูแลโดยนายกองคการบริหารสวนตําบลเพียงผูเดียว ต้ังแตข้ันตอนแรกจนถึงข้ันตอนสุดทาย หากนายกองคการบริหารสวนตําบลเก่ียวของกับการทุจริตแลว การตรวจสอบจะทําไดยาก เนื่องจากในข้ันตอนการจัดซ้ือจัดจางเปนอํานาจขององคการบริหารสวนตําบลน้ันๆ โดยเฉพาะจะไมมีบุคคลหรือองคกรภายนอกเขามาดูแลการจัดหารวมดวย ทําใหสามารถดําเนินการไดอยางอิสระ ไมกลัวถูกตรวจสอบ เพราะการเขาไปมีสวนรวมของนายกองคการบริหารสวนตําบลและผูบริหารน้ันจะเปนความลับ โดยท่ีจะเปนการส่ังการดวยวาจาไปยังเจาหนาท่ีท่ีทําหนาท่ีในการจัดหา

ประการท่ีสี่ เจาหนาท่ีท่ีเกี่ยวของกับการจัดซ้ือจัดจางดังกลาวขาดคุณธรรม และไรสามัญสํานึกท่ีดีในการรับราชการดวยความซ่ือสัตยสุจริต คิดแตประโยชนสวนตนมากกวาประโยชนของประเทศชาติ โดยใชอํานาจหนาท่ีของตนแสวงหาโอกาสทุจริตคอรรัปช่ันเสียอีก ซึ่งเกิดจากความโลภ ประกอบกับรายไดของขาราชการทองถิ่นคอนขางนอย ทําใหมีโอกาสอาศัยเหตุดังกลาว ซึ่งเปนเหตุผลผิด ๆ ทําการแสวงหาประโยชนท่ีไมชอบดวยกฎหมาย

1.2 ปญหาวิธีดําเนินการจัดซ้ือจัดจาง กระบวนการจัดซ้ือจัดจางพัสดุ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยวาดวยการพัสดุขององคการบริหาร

สวนตําบล พ.ศ. 2538 นั้น แตละวิธีมักประสบกับปญหาหลายประการทางปฏิบัติ ทําใหการจัดซ้ือจัดจางไมไดคุณภาพตามวัตถุประสงค และทําใหเกิดปญหาการทุจริตของเจาหนาท่ีท่ีเก่ียวของกับกระบวนการจัดซ้ือจัดจาง

Page 163: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

159

ดังกลาว โดยเฉพาะอยางยิ่ง การจัดซ้ือจัดจางโดยวิธีการสอบราคา และวิธีการประกวดราคา เพราะเปนการจัดซ้ือจัดจางในโครงการท่ีมีวงเงินงบประมาณคอนขางสูง และเปนวิธีการจัดซ้ือจัดจางท่ีกําหนดข้ึน โดยมีเจตนารมณเพื่อเปนการเปดโอกาสใหผูประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการจัดซ้ือจัดจางมีการแขงขันราคากันอยางเปนธรรม แตผูบริหารขององคการบริหารสวนตําบล เจาหนาท่ี และผูรับเหมาบางรายมักจะรวมมือกันในการทุจริตทําใหเกิดปญหาการรองเรียนคอนขางมาก โดยเฉพาะกระบวนการจัดซ้ือจัดจางดังกลาว ตอไปนี้

1.3 ปญหาการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยวาดวยการพัสดุขององคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2538

กําหนดใหมีการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบลในแตละโครงการจะตองการกําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุท่ีตองการจัดซ้ือหรือจัดจางไวในรายงานการขอซ้ือหรือขอจาง ซึ่งเปนอํานาจหนาท่ีของเจาหนาท่ีพัสดุเปนผูพิจารณากําหนด โดยท่ัวไปแลวจะพิจารณากําหนดตามความตองการ หรือการใชประโยชนขององคการบริหารสวนตําบลน้ัน ๆ ซึ่งจะไมมีหลักเกณฑ ระเบียบวิธีท่ีแนนอนในการกําหนด ทําใหเจาหนาท่ีพัสดุ หรือองคการบริหารสวนตําบลน้ัน สามารถกําหนดคุณลักษณะเฉพาะไดอยางเต็มท่ีโดยอิสระ ทําใหเกิดปญหา “การล็อกสเปก” ซึ่งเกิดความไมโปรงใส และเปนธรรมในการพิจารณาคัดเลือกผูประกวดราคา หรือสอบราคา เปนการกระทําเพ่ือเจตนาเอื้ออํานวยประโยชนแกผูประกอบการรายใดรายหน่ึง หรือมีการเขามาทําการสมยอมกันในการประกวดราคา หรือสอบราคา ซึ่งเปนการกระทําท่ีไมถูกตอง ขัดตอกฎหมาย และระเบียบท่ีเก่ียวของกับการจัดซ้ือจัดจาง ทําใหเกิดความไมเปนธรรมแกผูประกอบวิชาชีพท่ีไมมีสมัครพรรคพวก หรือเครือญาติในองคการบริหารสวนตําบลน้ัน ๆ

การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะน้ี เปนวิธีการท่ีระเบียบกําหนดใหตองกระทําเพ่ือใหไดพัสดุตรงตามความตองการขององคการบริหารสวนตําบล โดยมีเจตนารมณนํามาใชบริการสาธารณะตามความตองการของประชาชนในทองถิ่นนั้น แตพบวาเกิดวิธีการท่ีไมสุจริต ไมโปรงใสเกิดข้ึน วิธีการกําหนดคุณลักษณะไมมีหลักเกณฑ หรือวิธีการท่ีแนนอนชัดเจน ตลอดจนเจาหนาท่ีท่ีเกี่ยวของกับประกวดราคา หรือสอบราคา สามารถดําเนินการในข้ันตอนดังกลาวไดฝายเดียวโดยอิสระ ขาดการตรวจสอบถวงดุลจากภาคประชาชนในพื้นท่ี ซึ่งเปนผูรับประโยชนท่ีแทจริงจากการประกวดราคาหรือสอบราคา และองคกรภายนอก เขามีสวนรวมในการพิจารณาดวย เนื่องจากการดําเนินการดังกลาว ระเบียบจะกําหนดใหเจาหนาท่ีในองคการบริหารสวนตําบลน้ันเปนผูมีอํานาจเพียงฝายเดียว

1.4 ปญหาการกําหนดราคากลาง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย วาดวยการพัสดุขององคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2538 การ

จัดซ้ือจัดจางทุกโครงการ เจาหนาท่ีพัสดุจะตองทํารายงานการขอซ้ือขอจางตอนายกองคการบริหารสวนตําบล โดยในรายงานดังกลาวจะตองมีรายการตาง ๆ ตามท่ีกําหนด โดยเฉพาะเรื่องรายละเอียดของราคากลางหรือราคามาตรฐาน ซึ่งราคากลางถือเปนสวนสําคัญมากรายการหน่ึงท่ีระเบียบฯ จะตองกําหนดใหระบุไวในรายงานการขอซื้อขอจางทุกรายการ โดยเจาหนาท่ีพัสดุจะเปนผูกําหนดราคากลางโดยเปรียบเทียบราคามาตรฐานหรือราคาของ

Page 164: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

160

ทางราชการ หรือราคาท่ีเคยซื้อ หรือจางครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปงบประมาณ แตมิไดบังคับใหเจาหนาท่ีจะตองยึดหลักราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการเสมอไป เพราะระเบียบยังเปดโอกาสใหต้ังราคากลางไดตามความเหมาะสมกับความตองการขององคการบริหารสวนตําบลน้ัน การเปดโอกาสใหเจาหนาท่ีพัสดุ หรือองคการบริหารสวนตําบลสามารถกําหนดราคากลางไดอยางอิสระ โดยขาดการมีสวนรวมภาคประชาชนในทองถิ่น ซึ่งเปนผูเสียภาษีใหแกทองถิ่น หรือองคกรภายนอกในการรวมเขามาถวงดุลและดุลพินิจของเจาหนาท่ี ทําใหเกิดปญหาการตั้งราคากลางสูงกวาราคาจริง ทําใหรัฐและประชาชนในทองถิ่นเสียประโยชนจากการซ้ือของแพง ไมไดคุณภาพ

ท้ังน้ี การกําหนดราคากลางน้ัน ระเบียบพัสดุฯ ไดกําหนดวิธีปฏิบัติเอาไววามีกระบวนการอยางไร แตวิธีการกําหนดราคากลางนั้น ทําใหเกิดปญหาดังกลาวมาโดยตลอดจนถึงปจจุบัน เพราะ วิธีการกําหนดราคากลางยังไมมีแนวทาง หลักเกณฑ และวิธีการท่ีโปรงใสและรัดกุมเพียงพอ

1.5 ปญหาการตรวจรับการซ้ือหรือการจาง การจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบลแตละรายการ เมื่อผานข้ันตอนการพิจารณาผลการ

คัดเลือกการซื้อพัสดุ หรือการจางเรียบรอยแลว จะตองมีการเรียกผูชนะการประกวดราคา หรือสอบราคา แลวแตกรณี มาเขาทําสัญญากับองคการบริหารสวนตําบลดังกลาว ตอมาจึงเขาสูข้ันตอนการสงมอบพัสดุ หรือการจางใหแกองคการบริหารสวนตําบล

ท้ังน้ี กระบวนการตรวจรับพัสดุหรือการตรวจการจางองคการบริหารสวนตําบลจะตองแตงต้ังคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือตรวจการจางแลวแตกรณี เพื่อเขามาทําหนาท่ีตรวจสอบความสมบูรณ มาตรฐานของพัสดุหรือการจางดังกลาวน้ันวาเปนไปตามขอกําหนด เงื่อนไขตางๆ เงื่อนเวลา ท่ีระบุไวในสัญญาหรือไม อยางไร

ซึ่งสวนใหญประสบปญหาวา การตรวจรับพัสดุ และการจางขององคการบริหารสวนตําบลไมไดมีการตรวจรับตามมาตรฐานตามขอกําหนดท่ีระบุในสัญญาโดยมีมูลเหตุสําคัญในหลายประการ เชน คณะกรรมการตรวจรับขององคการบริหารสวนตําบลไมมีความรู ความเช่ียวชาญเพียงพอเกี่ยวกับพัสดุ หรือการจางดังกลาว เพราะองคการบริหารสวนตําบลเพิ่งกอต้ังข้ึนมาไมนาน และมีจํานวนบุคลากรนอย จึงหาผูเช่ียวชาญเฉพาะดานไดคอนขางยาก เมื่อเทียบกับหนวยงานราชการอื่น ท่ีมีกอต้ังมานาน และมีบุคลากรจํานวนมาก และมีความพรอมในดานน้ีมากกวา และอีกมูลเหตุหนึ่ง ก็คือ คณะกรรมการตรวจรับ โดนแทรกแซงจากนักการเมืองทองถิ่น ซึ่งเปนผูบังคับบัญชาสามารถใหคุณใหโทษแกตนเองได ทําใหเกิดปญหาการแทรกแซงการทํางาน ทําใหเกิดความไมเปนอิสระในการพิจารณาตรวจรับพัสดุหรือการจางดังกลาว 2. ปญหาการตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางภายนอกองคการบริหารสวนตําบล

การตรวจสอบการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางของประเทศไทย มีลักษณะเปนการตรวจสอบการกระทําผิด โดยเนนการทํางานในเชิงรับ มีการทํางานในเชิงรุกคอนขางนอย โดยสวนใหญจะทําการตรวจสอบ เมื่อมีการรองเรียนเขามาสูหนวยงานท่ีมีหนาท่ีทําการตรวจสอบทุจริตดังกลาว เชน คณะกรรมการปองกันและปราบปราม

Page 165: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

161

การทุจริตแหงชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน เปนตน ทําใหยังขาดประสิทธิภาพในการปราบปรามการทุจริต และยังขาดการประสานงานในการรวมมือในการปราบปรามการทุจริตประเภทดังกลาวจากหนวยงานท่ีเกี่ยวของ รวมท้ังยังประสบกับปญหาท่ีสําคัญอีกหลายประการ โดยเฉพาะการเขามีสวนรวมของภาคประชาชนและส่ือมวลชนในการเปนเครือขายเขารวมตรวจสอบการทุจริต ซึ่งมีนอยมากในประเทศไทย ท้ังน้ี สามารถสรุปปญหาไดดังน้ี 2.1 ปญหาดานบุคลากร 1. จํานวนบุคลากรท่ีทําหนาท่ีตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล ไมเหมาะสมกับภารกิจงานท่ีมีปริมาณมาก ยกตัวอยางเชน เจาหนาท่ีสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ ท่ีทําหนาท่ีตรวจสอบการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางของหนวยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวาดวยความ ผิดเก่ียวกับการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มีจํานวนนอยมากเมื่อเทียบกับจํานวนเรื่องรองเรียนเกี่ยวกับการจัดซ้ือจัดจางท่ีรองเรียนมายังสํานักงานคณะกรรมการ ปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติหลายพันเรื่อง และสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติในปจจุบันมีสํานักงานในสวนกลาง คือ กรุงเทพมหานครเพียงแหงเดียว ในการทําหนาท่ีตรวจสอบทุจริตจัดซ้ือจัดจางขององคกรปกครองสวนทองถิ่นท่ัวประเทศจํานวนหลายพันแหง มีขอจํากัดในการเดินทางไปตรวจสอบ และตองใชงบประมาณในการตรวจสอบคอนขางสูง ทําใหไมสามารถตรวจสอบทุจริตขององคกรปกครองสวนทองถิ่นไดอยางทันทวงทีและท่ัวถึง

2. ขาดบุคลากรท่ีมีความเช่ียวชาญเฉพาะดาน เนื่องจากการจัดซ้ือจัดจางน้ันจะตองมีผูเช่ียวชาญเฉพาะดาน หรือเฉพาะเรื่องในการตรวจสอบ เชน การตรวจสอบการจัดซ้ือคอมพิวเตอร องคกรตรวจสอบควรจะมีผูเช่ียวชาญที่มีความรูเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือสเปกของคอมพิวเตอร เพื่อจะไดรูเทาทันในการตรวจสอบ แตในปจจุบันนั้น เจาหนาท่ีในหนวยงานท่ีมีหนาท่ีรับผิดชอบเกี่ยวการตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจาง ยกตัวอยางเชน เจาหนาท่ีสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหง ชาติท่ีรับผิดชอบเก่ียวกับการตรวจสอบการทุจริตเก่ียวกับการจัดซ้ือจัดจางสวนใหญ สําเร็จการศึกษาดานนิติศาสตร ซึ่งทําใหมีความรูความเช่ียวชาญในดานกฎหมาย และระเบียบของทางราชการเทาน้ัน แตไมมีความรูทางดานเทคโนโลยี วิศวกรรม สถาปตยกรรม หรือเครื่องมือเกี่ยวกับวิชาชีพเฉพาะดานแตอยางใด จึงเปนปญหาและอุปสรรคสําคัญประการหน่ึงในการทําหนาท่ีตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจาง ซึ่งมีการจัดซ้ือจัดจางในหลายประเภทและหลายรูปแบบแตกตางกันไป

2.2 ปญหาดานการดําเนินการของเจาหนาที่ผูรับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบทุจริตจัดซ้ือจัดจาง 1. การดําเนินการตรวจสอบทุจริตลาชามาก เพราะมีปญหาอุปสรรคหลายประการ ทําใหเรื่อง

รองเรียนคางการดําเนินการเปนจํานวนมาก ทําใหมีปญหาพยานหลักฐาน เมื่อเนิ่นนานไปจะทําใหหาพยานหลักฐานไดยากข้ึนผูกระทําผิดสามารถแกไขทําลายพยานหลักฐานไดและความนาเ ช่ือถือของ

Page 166: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

162

พยานหลักฐานจะนอยลง และผลของดําเนินการลาชา ทําใหผูกระทําผิดยังอยูในตําแหนงไดตอไป และโกงกินในโครงการอื่น ๆ อีกตอไป ทําใหรัฐไดรับความเสียหายอยางมหาศาล

2. การประสานการทํางานระหวางหนวยงานตางๆ ท่ีมีหนาท่ีตรวจสอบการทุจริตจัดซ้ือจัดจาง เชน สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ สํานักงานตรวจเงินแผนดิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสํานักงานตํารวจแหงชาติ ยังมีคอนขางนอย ทําใหเปนลักษณะการทํางานแบบตางหนวยงานตางทําสงผลใหเกิดความไมเปนเอกภาพในการทํางาน

3. รูปแบบการทํางานในบางหนวยงานท่ีทําหนาท่ีตรวจสอบทุจริตยังยึดติดกับระเบียบของทางราชการในหลายประเด็น เชน ระเบียบการเบิกคาใชจายในการดําเนินการ ระเบียบงานสารบรรณ ทําใหไมคลองตัวในการทํางาน และปญหาสําคัญอีกประการหนึ่ง คือ ระบบสายการบังคับบัญชาหลายทอดหลายช้ัน ทําใหการตัดสินใจแตละเรื่องเปนไปโดยลาชา โดยอุปสรรคข้ันตอนทางราชการดังกลาวน้ัน ไมเหมาะสมกับงานปราบปรามทุจริตซ่ึงตองทํางานเชิงรุกจะตองอาศัยความรวดเร็วและคลองตัวในการดําเนินการ

2.3 ปญหาการมีสวนรวมในการตรวจสอบของภาคประชาชน การตรวจสอบทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคกรปกครองสวนทองถิ่น จําเปนตองไดรับความ

รวมมือจากประชาชนในทองถิ่นนั้น รวมถึงส่ือมวลชนทองถิ่น และสื่อมวลชนระดับชาติ ชวยเปนกลไกในการใหขอมูล และชวยสนับสนุนองคกรของรัฐในการทําหนาท่ีตรวจสอบการทุจริต เนื่องจากสื่อมวลชนเปนองคกรหนึ่งท่ีสามารถทําหนาท่ีตรวจสอบการทุจริต โดยอาศัยความรู และวิธีการในการนําเสนอขาวสารขอมูลตางๆ เชน การเขาไปมีสวนรวมในลักษณะท่ีเปนการนําเสนอขาวสารเกี่ยวกับการจัดซ้ือจัดจางรายใหญๆ นําเสนอขาวสารเก่ียวกับการจัดซ้ือจัดจางท่ีมีลักษณะท่ีจะเปนการทุจริตแกสาธารณะ และเปนผูนําใหความรูกับประชาชนในการตรวจสอบการทุจริต เปนตน อยางไรก็ตาม การปองกันและปราบปรามการทุจริตจะตองไดรับความรวมมือจากทุกฝายท่ีเกี่ยวของ และการมีสวนรวมของประชาชนซ่ึงเปนกําลังสําคัญ แตสิ่งท่ีเปนปญหาและพบอยูเสมอในการท่ีทําใหสื่อมวลชนไมสามารถท่ีจะใชบทบาทและหนาท่ีท่ีตนมีอยูไดอยางมีประสิทธิภาพคือขอจํากัด เนื่องจากขาดดานความรูความเขาใจเก่ียวกับปญหาการทุจริตในแตละกรณี เพราะไมมีความรูและประสบการณในงานตรวจสอบทุจริต และปญหาความรวมมือและประสานงานกับทางราชการในการใหสื่อมวลชนเขารวมหรือตรวจสอบขอมูล และปญหาในเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติหนาท่ีรายงานขาวของส่ือมวลชน เปนตน

ในสวนของการตรวจสอบโดยภาคประชาชนนั้น การตอสูกับปญหาการทุจริตท่ีฝงรากลึกในสังคมไทย ซึ่งเปนสังคมแหงคานิยมระบบอุปถัมภนั้น ไมมีทางจะไดรับการแกไข ปรับปรุงอยางมีประสิทธิภาพไดอยางแนนอน หากไมไดรับการชวยเหลือและสนับสนุนจากภาคประชาชน จึงจําเปนตองสงเสริมความรูความเขาใจใหแกประชาชน เพ่ือประชาชนในทองถิ่นนั้น ๆ ไดมีความรู ความเขาใจ สํานึกถึงผลรายและความเสียหายตอประเทศชาติอยางมากมายท่ีเกิดจากกระบวนการทุจริต โดยเฉพาะการหาประโยชนจากการจัดซ้ือจัดจางของหนวยงานราชการ งบประมาณจํานวนมากที่กระจายลงสูองคกรปกครองสวนทองถิ่น ซึ่งสมควรจะตองถูกนํามาใชในการพัฒนาความเจริญของทองถิ่น นํามาใชแกไขปญหาความยากจน ความขาดแคลนของประชาชนใน

Page 167: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

163

ทองถิ่น จะตองถูกโกงกินไปเพียงเพราะวาผูท่ีมีอํานาจหนาท่ีเก่ียวของกับการบริหารเงินงบประมาณขององคกรปกครองสวนทองถิ่นใชอํานาจหนาท่ีท่ีตนมีอยูนั้น ไปใชเพื่อแสวงหาประโยชนแกตนและพวกพองแทนท่ีจะนําเงินงบประมาณน้ันไปแกไขปญหาหรือพัฒนาทองถิ่นท่ีตนไดรับเลือกต้ังเขามาบริหาร

ท้ังน้ี ปญหาการทุจริตยอมสงผลเสียโดยตรงตอประชาชนในทองถิ่น และตอประเทศชาติท่ีนาจะไดรับประโยชนจากเงินงบประมาณผานโครงการจัดซ้ือจัดจางท่ีองคกรปกครองสวนทองถิ่นไดดําเนินการ เพราะแนวทางการใชเงินงบประมาณของรัฐในโครงการจัดซ้ือจัดจางไมวาจะเปนโครงการจัดซ้ือจัดจางระดับชาติ หรือการจัดซ้ือจัดจางขององคกรปกครองสวนทองถิ่น ลวนมีวัตถุประสงคเพื่อนําเงินภาษีอากรท่ีเก็บจากประชาชนทําใหเกิดประโยชนสูงสุดในการพัฒนาประเทศและเอ้ือประโยชน ตอประชาชนอยางเสมอภาคกัน งบประมาณจํานวนมากถูกจัดสรรเพื่อนําไปพัฒนาทองถิ่นท่ีหางไกล ไมวาจะเปนการสรางสาธารณูปโภค และทําการบริการสาธารณะประเภทตาง ๆ เชน ถนน โรงเรียน เพื่อสงเสริมเกษตรกรรม การขนสงมวลชน ซึ่งโครงการตาง ๆ เหลาน้ีจะไมมีมาตรฐาน และคุณภาพสมบูรณเลย ถาหากวาเงินงบประมาณท่ีจะนํามาจัดซ้ือจัดจางน้ันถูกนักการเมืองทองถิ่นและเจาหนาท่ีของรัฐโกงกินไป จึงเห็นวาการตรวจสอบการทุจริตจัดซ้ือจัดจางขององคกรปกครองสวนทองถิ่นภาคประชาชนมีความสําคัญยิ่ง โดยประชาชนในทองถิ่นจะตองรวมมือและใหขอมูลกับหนวยงานของรัฐท่ีทําหนาท่ีปองกันและปราบปรามการทุจริต เชน สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) สํานักงานตรวจเงินแผนดิน เปนตน ในการดําเนินการตรวจสอบการทุจริต โดยสรางเครือขายภาคประชาชนใหเขมแข็ง เพื่อวัตถุประสงคในการตอตานการทุจริตทุกรูปแบบอยางมีประสิทธิภาพ และกระจายครอบคลุมในทุกทองถิ่นท่ัวประเทศ

อภิปรายผลการวิจัย ในอดีตท่ีผานมา ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองแบบรวมศูนยอํานาจการตัดสินใจไวท่ีราชการสวนกลาง เปนการปกครองแบบรวมอํานาจ แตลักษณะรูปแบบการปกครองในอดีตน้ัน กอใหเกิดปญหาอยางชัดเจนวา การส่ังการจากราชการสวนกลาง โดยตัดสินใจเรื่องตางๆ แทนประชาชนเจาของอํานาจอธิปไตย โดยไมเปดโอกาสใหประชาชนตัดสินใจดวยตัวเอง ทําใหการแกปญหาตางๆ ไมตรงกับสภาพความตองการท่ีแทจริงของประชาชนในทองถิ่น และการแกปญหาดังกลาว โดยวิธีการเดียวกันท้ังประเทศโดยไมคํานึงถึงความเหมาะสม สอดคลอง และความตองการของแตละทองถิ่นนั้นไมสามารถแกไขปญหาตาง ๆ ของประชาชนในทองถิ่นได และไมชวยสนับสนุนการพัฒนาระบบประชาธิปไตยท่ีแทจริง ทําใหประชาชนขาดการมีสวนรวมในทางการเมือง ดังน้ัน จึงเกิดแนวคิดการกระจายอํานาจเปนรูปแบบการปกครองท่ีจําเปนตองใหประชาชนเขามามีสวนรวมในรูปแบบขององคกรบริหารระดับทองถิ่น โดยมีองคประกอบสําคัญ 3 ประการ คือ

1. จะตองมี “องคกรของประชาชน” ในการบริหารทองถิ่นรูปแบบใดรูปแบบหน่ึง เชน องคการบริหารสวนตําบล, เทศบาล ฯลฯ

Page 168: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

164

2. ผูบริหารสูงสุดขององคกรทองถิ่นใดจะตองเปนคนในทองถิ่นนั้น และตองมาจากการเลือกต้ังอยางเสรี และยุติธรรมของประชาชนในทองถิ่น เชน สมาชิกสภา และกรรมการบริหารตองมาจากการเลือกต้ังของประชาชน

3. องคกรจะตองมีอํานาจหนาท่ี และมีความเปนอิสระจากสวนกลาง และสวนภูมิภาคอยางเหมาะสม จากแนวคิดดังกลาว ทําใหสภาตําบลพัฒนามาเปนองคการบริหารสวนตําบล หรือ อบต. ซึ่งมาจากการ

เลือกต้ังของประชาชน โดยหวังวาองคการบริหารสวนตําบลจะเปนศูนยรวมใจของคนในทองถิ่น ในการดําเนินกิจกรรมเพ่ือแกปญหาและพัฒนาทองถิ่น เพราะการใหคนในทองถิ่นเลือกตัวแทน (ซึ่งเปนคนในทองถิ่นดวยกันเอง) มาบริหารและพัฒนาทองถิ่นของตน ยอมจะตองรูปญหาของทองถิ่น รักผูกพัน รูสึกเปนเจาของทองถิ่นมากกวาคนนอกทองถิ่น

องคการบริหารสวนตําบลจึงองคกรท่ีสําคัญมาก มีหนาท่ีในการพัฒนา และบริหารงบประมาณของทองถิ่นดวยความโปรงใส เพ่ือประโยชนสาธารณะของประชาชนในทองถิ่นอยางแทจริง แตในทางความเปนจริงแลว จากการสํารวจขอมูลสวนท่ีเกี่ยวของกับการทุจริต พบวาองคการบริหารสวนตําบลกลับมีการทุจริต เฉพาะท่ีมีการรองเรียนตอคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ต้ังแตป 2543 มีจํานวนเพิ่มข้ึนทุกป ซึ่งเรื่องท่ีรองเรียนสวนใหญเปนกรณีการจัดซ้ือจัดจางถึงรอยละ 60.90 และในจํานวนผูถูกรองเรียนพบวาสวนใหญรอยละ 60.26 เปนประธานกรรมการบริหาร (ตําแหนงปจจุบัน คือ นายกองคการบริหารสวนตําบล) และกรรมการบริหารองคการบริหารสวนตําบล ซึ่งใกลเคียงกับสถิติการรองเรียนขององคการบริหารสวนตําบล ท่ีกองราชการสวนตําบล กรม การปกครองรวบรวมไวเปนสถิติ พบวามีการรองเรียนประธานกรรมการบริหารองคการบริหารสวนตําบลถึงรอยละ 71.66

จากการวิจัยพบวา ปญหาการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางท่ีเกิดข้ึนขององคการบริหารสวนตําบล (อบต.) มีรูปแบบการทุจริตท่ีหลากหลาย ต้ังแตข้ันตอนริเริ่มเสนอโครงการจัดซ้ือจัดจาง การทุจริตสมยอมกันในการเสนอราคาการจัดซ้ือจัดจาง รวมถึงการทุจริตในข้ันตอนการดําเนินงานการกอสราง และการตรวจรับงาน ซึ่งการทุจริตดังกลาวไดสง ผลกระทบตอประเทศไทยในดานตาง ๆ ไดแก ผลกระทบจากการทุจริตท่ีตอการบริหารราชการขององคการบริหารสวนตําบลเอง ผลกระทบทางดานการเมือง ผลกระทบทางดานเศรษฐกิจของประเทศ และผลกระทบทางดานสังคม

ขอเสนอแนะ สําหรับแนวทางการแกไขปญหาการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล เพื่อใหเกิด

ความโปรงใส มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณของทองถิ่น ผูวิจัยเห็นวา การท่ีจะทําใหปญหาการทุจริตคอรรัปช่ันลดลง ตองอาศัยคนในทองถิ่นเปนสําคัญ คือตองสรางความรูสึกรักผูกพันและหวงแหนทองถิ่นใหเกิดข้ึน

ความรวมมือของประชาชนในทองถิ่น มีสวนอยางสําคัญท่ีจะชวยกันดูแลรักษาผลประโยชนของทองถิ่นของตน และชวยเปนเครือขายในการตรวจสอบการทํางานของผูบริหารทองถิ่น ทําใหการทํางานของผูบริหาร

Page 169: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

165

ทองถิ่นตองมีความรอบคอบ และตระหนักถึงประโยชนสวนรวมมากยิ่งข้ึน ผูวิจัยมีความเห็นวาชาวบานสามารถชวยกันปองกันการทุจริตในทองถิ่นไดหลายระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับชุมชน/ทองถิ่น และระดับสังคม 1. ระดับบุคคล

ในฐานะเปนบุคคลหน่ึงในสังคมท่ีอยูทามกลางสถานการณตางๆ อาจมีโอกาสและแรงจูงใจหลายอยางท่ีจะกอใหเกิดการทุจริต และสงเสริมการทุจริตข้ึนมาในทองถิ่นได ดังน้ันประชาชนทุกคนจึงมีสวนอยางสําคัญท่ีจะชวยกันปองกันการทุจริต ซึ่งสามารถกระทําไดดวยตัวของตัวเอง ดังน้ี 1.1 การมีจิตใจสุจริต สรางนิสัยในตนเอง ตระหนักรูถึงผลเสียท่ีเกิดข้ึนจากการทุจริตท่ีมีตอตนเอง ชุมชน มีคุณธรรม และความละอายท่ีจะทําการทุจริต เมื่อทุกคนมีพื้นฐานจิตใจท่ีมีคุณธรรมแลว ยอมเปนเกราะกําบังท่ีดีเยี่ยมท่ีจะไมใหมีการทุจริตข้ึนมาได 1.2 ตัวเองจะตองไมประพฤติ ปฏิบัติ หรือทําการทุจริต ไมวาโดยทางตรงหรือทางออม ประชาชนไมวาจะเปนในฐานะชาวบาน หรือเปนสมาชิกองคการบริหารสวนตําบล ตองชวยกันปองกันการทุจริต โดยไมทําการทุจริตเอง ท้ังการทุจริตตอหนาท่ีความรับผิดชอบ หรือรวมมือกับคนอื่นเพื่อทําการอันเปนการทุจริต ตระหนักเห็นถึงโทษท่ีจะเกิดข้ึนจากการทุจริต เปนท่ีรังเกียจของสังคม หรือหากคนอื่นไมรู เรายอมรูอยูแกใจดี อันจะนํามาซึ่งความไมสบายใจ หากคนทุกคนเตือนตัวเองได และทําไดจริงแลวจะชวยปองกันการทุจริตไดอยางแนนอน 1.3 ตัวเองจะตองไมสนับสนุนหรือสงเสริมใหคนอื่นทุจริต เริ่มจากคนใกลตัวในครอบครัว และคนรอบขางขยายวงออกไปสูบุคคลอื่นๆ โดยการไมเลือกคนทุจริตหรือมีพฤติกรรมท่ีจะทุจริตเขาไปเปนสมาชิกสภาในระดับตางๆ หรือเขาไปดําเนินกิจกรรมของสวนรวมอื่นๆ เปนตน 1.4 หากพบเห็นการทุจริตตองชวยกันตักเตือน แนะนํา หรือแจงเบาะแส ท้ังน้ีจะชวยทําใหคนท่ีคิดจะทุจริตเกิดความเกรงใจ หรือเกรงกลัว ไมกลาทําการอันเปนการทุจริตตอไป เชน การรองเรียน การแจงเบาะแสใหหนวยงานรับผิดชอบดําเนินการตอไป 2. ระดับชุมชน

ประชาชนในทองถิ่นตางๆ ควรดําเนินการจัดใหมีการรวมกลุมสรางเครือขายกันข้ึน เพื่อใหมีพลังในการเขามาตรวจสอบการทํางานของทองถิ่นหรือองคการบริหารสวนตําบล ใหเกิดความถูกตอง เกิดประโยชนตอสวนรวม อาจเปนในรูปของชมรมชาวบานตานการทุจริต อยางนอยก็จะทําใหคนท่ีคิดจะทุจริตรูสึกวามีใครคอยจับตาตรวจสอบอยูเปนการปองกันปราบปรามการทุจริตไดอีกทางหน่ึง และหากเกิดการทุจริตข้ึนในชุมชนหรือทองถิ่น ก็ใชพลังกลุมในการกดดันใหมีการตรวจสอบและแกไขปญหาตอไป

การรวมกันเปนกลุมเปนกลยุทธการทํางานที่นําเอาพลังของกลุมมาชวยปองกันการทุจริตได การดําเนินงานในระดับชุมชน สามารถทําไดเปนข้ันตอน ดังน้ี

2.1 การรวมกลุม โดยเริ่มจากการพูดคุยกันในกลุมเล็ก ๆ ท่ีมีความคิดเห็นคลายกันแลวขยายวงออกไปสูคนอื่น ๆ เพื่อดึงเขารวมเปนสมาชิก มีการประชุมปรึกษา หารือ กําหนดวัตถุประสงค เปาหมายการทํางานรวมกัน รวมถึงการวางแนวทางวิธีการทํางานของกลุมข้ึนมา

Page 170: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

166

2.2 การสรางเครือขายในชุมชนของเรามีกลุมตางๆ อยูมากมายท่ีประชาชนรวมตัวจัดต้ังกันข้ึนมาเอง หรือกลุมท่ีไดรับการสนับสนุนจากหนวยงานภายนอกท้ังภาค รัฐและเอกชน ดังน้ันในการดําเนินการเพื่อปองกันการทุจริตในชุมชนทองถิ่นจึงควรรวม พลังกลุม องคกรตางๆ ดังกลาว โดยอาจเริ่มจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิด และสรางเปนเครือขายการทํางานข้ึนมา

2.3 การประชุมวางแผน เพื่อใหการทํางานมีแนวทางท่ีชัดเจนจึงควรมีการประชุม กําหนดบทบาทหนาท่ี หรืออาจเลือกผูประสานงานกลุมเครือขายข้ึนมา

2.4 การกําหนดกติกาชุมชน เมื่อมีการรวมกลุม สรางเครือขายข้ึนมาแลว ควรมีการกําหนดกติกาของชุมชน เพื่อเปนแนวทางปฏิบัติสําหรับทุกคนในชุมชน และเปนเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมและสิ่งเตือนใจไมใหเกิดการทุจริตข้ึนมา มีการกําหนดโทษทางสังคมไว เชน หากผูใดทุจริตหรือสนับสนุนการทุจริต เพื่อนบานจะไมคบคาสมาคม ไมชวยเหลือการงาน ไมใหเขารวมกิจกรรมของชุมชน ไมใหเปนสมาชิกกลุมกองทุนตางๆ เปนตน

2.5 การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว เปนการแสดงออกทางสังคมท่ีจะใหคนทุจริต หรือคิดจะทุจริตรูวาชุมชนเอาจริงเอาจังในการปองกันและปราบปรามการทุจริต เชน จัดทําปายคําขวัญตอตานการทุจริต การจัดเวทีประชาคมเก่ียวกับการตานทุจริต การรองเรียน การรวมตัวกดดัน หรือชุมนุมเรียกรองโดยสงบ เปนตน 3. ระดับสังคม

ในการดําเนินการเพื่อปองกันการทุจริตน้ัน นอกจากพลังกลุมเครือขายในชุมชนแลวยังมีกลุมพลังแนวรวมจากภายนอกอีกมากมายท่ีสามารถประสานงาน สรางเครือขาย หรือขอความสนับสนุนเพื่อใหการดําเนินงานของชุมชนเกิดผลมากยิ่งข้ึน และมีพลังมากยิ่งข้ึน

หนวยงานภายนอกท่ีดําเนินการเกี่ยวกับการปองกันทุจริต ไดแก องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เชน คณะกรรมการการเลือกต้ัง (กกต.) คณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน (คตง.) คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีองคกรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ สมาคมตางๆ เครือขายประชาชนตานทุจริตคอรรัปช่ัน และสื่อมวลชน เปนตน

การดําเนินงานเพื่อเช่ือมตอกับองคกรภายนอกอาจทําไดหลายรูปแบบ เชน สมัครเขาเปนองคกรสมาชิกเครือขาย การแจงเรื่องราวรองเรียนการทุจริต สงขอมูลการทุจริตใหกับหนวย งานท่ีมีอํานาจหนาท่ีดําเนินการ การขอรับการสนับสนุนการดําเนินงานทางวิชาการ งบประมาณ การรวมเคลื่อนไหว เมื่อเกิดกรณีการทุจริตในชุมชนอื่นๆ กลุมอาจรวมพลังเพ่ือเขารวมชวยกันแกปญหา หรือหากชุมชนเรามีกรณีการทุจริตเกิดข้ึนก็สามารถขอใหเครือขายภายนอกเขามารวมเคลื่อนไหวเพื่อการแกไขปญหาได

การทุจริตในองคการบริหารสวนตําบลปองกันไดดวยพลังของชุมชน โดยเริ่มท่ีสมาชิกของชุมชนแตละคนเปนผูมีคุณธรรม ไมทุจริต ไมสงเสริมสนับสนุนใหผูอื่นกระทําการทุจริต ชวยกันเปนหูเปนตาดูแลรักษาผลประโยชนของสวนรวม (ซึ่งก็คือผลประโยชนของทุกคนน่ันเอง) ไมเลือกคนทุจริตหรือเคยทุจริตเขาไปสูสภาในระดับตางๆ รวมกลุม และสรางเครือขายภายในชุมชน และชุมชนใกลเคียง เพื่อวางแนวทาง วางแผนเคลื่อนไหวตอตานการทุจริต โดยเปนชมรม หรือจดทะเบียนเปนสมาคมท่ีถูกตองตามกฎหมาย และสรางเครือขายการทํางาน

Page 171: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

167

ใหกวางออกไปสูกลุมอื่นๆ ในระดับกวาง ท่ีมีกลุมเคลื่อนไหวเพื่อตอตานการทุจริตอยูแลว เชน เครือขายประชาชนตานทุจริตคอรรัปช่ัน เปนตน

นอกจากการแกปญหาการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบล โดยอาศัยปจจัยการสรางเครือขายการตรวจสอบการทุจริตโดยภาคประชาชน และภาคส่ือมวลชนทองถิ่น ซึ่งนาจะเปนวิธีการแกปญหาดังกลาวท่ีมีประสิทธิภาพท่ีสุดแลวนั้น จากการศึกษาวิจัยหัวขอดังกลาว และสัมภาษณเจาหนาท่ีของรัฐท่ีทําหนาท่ีเกี่ยวของกับการตรวจสอบการทุจริตเกี่ยวกับการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบลแลว เห็นวาการปองกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซ้ือจัดจางขององคการบริหารสวนตําบลใหมีประสิทธิภาพนั้น จะตองมีมาตรการท่ีสําคัญ ดังตอไปนี้

1. ควรจัดใหมีดําเนินการฝกอบรมเพิ่มเติมความรูใหกับเจาหนาท่ีขององคการบริหารสวนตําบลท่ีเกี่ยวของในการจัดซ้ือจัดจาง เพ่ือใหเกิดความรู และความเขาใจท่ีถูกตองเกี่ยวกับกฎระเบียบของทางราชการ และมีความเช่ียวชาญเก่ียวกับพัสดุท่ีจัดซ้ือจัดจาง รวมท้ังจัดกิจกรรมสงเสริมคุณธรรม และจริยธรรมของผูบริหารองคการบริหารสวนตําบล (นักการเมืองทองถิ่น) และเจาหนาท่ีขององคการบริหารสวนตําบล เพื่อใหยกระดับมาตรฐานทางคุณธรรมและมีจิตสํานึกท่ีดีในการทํางานรับใชทองถิ่น

2. การจัดซ้ือจัดจางแตละโครงการขององคการบริหารสวนตําบล ควรมีการจัดสงประกาศ และเอกสารในการจัดซ้ือจัดจางดังกลาว ไปยังหนวยงานท่ีมีหนาท่ีในการตรวจสอบทุจริตโดยตรง (เชน สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ) เพื่อเปนขอมูลเบ้ืองตนใหกับเจาพนักงานในการตรวจสอบการทุจริต และหากเปนการจัดซ้ือจัดจางโครงการสําคัญ มีมูลคาสูง ควรจะมีการสงเจาพนักงานของหนวยงานตรวจสอบทุจริต เขาไปสังเกตการณหรือตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจางน้ันในแตละข้ันตอน ซึ่งจะเปนสวนหนึ่งของการปองกันการทุจริต หรือหากมีการทุจริตเกิดข้ึนก็จะสามารถปราบปรามไดอยางทันทวงที

3. ตองขยายอัตราบุคลากรท่ีทําหนาท่ีในการตรวจสอบทุจริต เพื่อใหเหมาะสมกับจํานวนภารกิจ โดยเฉพาะเพิ่มจํานวนเจาหนาท่ีสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ ซึ่งมีจํานวนนอยมาก เม่ือเทียบกับการทุจริตท่ีมีทุกหยอมหญาของประเทศไทย และตองพัฒนาศักยภาพบุคลากรดังกลาวใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน ใหรูเทาทันกลโกงท่ีนับวันจะยิ่งมีการพัฒนาซับซอนข้ึนทุกขณะ

4. สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ ควรเรงขยายสํานักงานไปยังภูมิภาคใหเพิ่มข้ึน เพื่อใหเกิดความรวดเร็ว และประหยัดงบประมาณในการเดินทางจากสวนกลาง และสามารถดําเนินการปองกันและปราบปรามการทุจริตไดอยางทันทวงที

5. ควรพิจารณาแกไขปรับปรุงระเบียบพัสดุใหทันสมัยยิ่งข้ึน และหามาตรการตางๆในการปองกันการทุจริตมากําหนดไวในระเบียบพัสดุใหรัดกุมมากข้ึน โดยเฉพาะการดําเนินการในข้ันตาง ๆ เชน การคัดเลือกผูมีคุณสมบัติเบ้ืองตน พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจาง การตรวจรับพัสดุหรือการจาง ไมควรใหอํานาจผูบริหารทองถิ่นและเจาหนาท่ีทองถิ่นเพียงฝายเดียว ท่ีมีอํานาจหนาท่ีในการดําเนินการดังกลาว ควรใหมีการแตงต้ังภาค

Page 172: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

168

ประชาชนในทองถิ่นหรือองคกรภายนอกอื่นเขารวมเปนคณะกรรมการในการดําเนินการดวย เพื่อเปนการตรวจสอบ และถวงดุล

6. สํานักงานคณะกรรมการการเลือกต้ัง และหนวยงานราชการท่ีเกี่ยวของควรรวมมือทําการปองกันและปราบปรามการซ้ือเสียงในการเลือกต้ังสวนทองถิ่นอยางเอาจริงเอาจัง เพื่อใหไดนักการเมืองทองถิ่นท่ีดีมีคุณธรรม เพื่อเขามาทําหนาท่ีพัฒนาบานเกิดของตนเอง

7. ควรมีมาตรการคุมครองขาราชการขององคการบริหารสวนตําบลไมให โดนแทรกแซงการทํางานจากนักการเมืองทองถิ่น โดยหามาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางอื่นๆ ในการคุมครองเพ่ือไมใหโดนกลั่นแกลงจากฝายนักการเมืองทองถิ่น และสามารถคัดคาน หรือถวงดุลอํานาจของผูบริหารหรือนักการเมืองทองถิ่นได

8. ขอสําคัญท่ีสุด ควรพิจารณากําหนดใหปญหาการทุจริตคอรรัปช่ันเขาเปนวาระแหงชาติ โดยสรางจิตสํานึกใหทุกภาคสวนของสังคมไทย ตระหนักถึงความสําคัญของปญหาดังกลาว วาเปนปญหารายแรงท่ีฉุดความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ และหนวยงานตางๆ ท่ีมีอํานาจหนาท่ีเกี่ยวกับตรวจสอบการทุจริตจัดซ้ือจัดจาง เชน สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ สํานักงานตรวจเงินแผนดิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสํานักงานตํารวจแหงชาติ เปนตน ควรรวมมือประสานงานกันอยางใกลชิด ใหเกิดความเปนเอกภาพในการทํางานมากกวาปจจุบัน ประสานขอมูลซ่ึงกันและกันจะสงผลทําใหการปองกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน

********************

Page 173: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

169

รายการอางอิง

นนท กอแกวทองดี, เรืองโรจน จอมสืบ, ภัชรา คติกุล, ชนาธิป บุณยเกตุ, สรสาสน ลีเพ็ง, สุรศักดิ์ ศรีสาร และรัฐปกรณ นิภานันท. (2546, เมษายน). คูมือประชาชนตานการทุจริตโครงการประชาศึกษาและชุมชนสัมพันธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพชวนพิมพ.

ปรเมศวร สังขเอี่ยม. (2542). ปญหาการควบคุมการเขาแขงขันในการจัดซ้ือจัดจางของรัฐตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พุทธศักราช 2535. วิทยานิพนธ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ผาสุก พงษไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค, นวลนอย ตรีรัตน, นพนันท วรรณเทพสกุล, อาภาศรี จุฑาเทพ, วิษณุ วงศสินศิริกุล และจันทรา ธนะวัฒนาวงศ. (2541). ธุรกิจ รัฐ และคอรรัปชัน (Businessmen, Government and Corruption). รายงานผลการวิจัย. รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ. (ม.ป.ท.).

พรศักดิ์ ผองแผว, กุศล รักษา, ขวัญจิต สุขสวัสด์ิ, จินดา นูเร, เจฎิกา เอกแสงศรี, นิรัตน พงษสิทธิถาวร และคนอื่นๆ. (2539). องคความรูวาดวยการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการไทย. รายงานผลการวิจัยเสนอตอสํานักงานคณะ กรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ. (ม.ป.ท.).

ศุภชัย ยาวะประภาษ, สุวิมล ราชธนบริบาล, ขวัญแกว โพธิทัต, กนกอร กบิลลิกะวานิชย และนพเรณู สัจจารักษ. (2544). คอรรัปชันและการซื้อขายตําแหนงในทัศนะขาราชการ. รายงานการวิจัยคอรรัปชันในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

อรทัย กกผล. (2547, ธันวาคม). รายงานผลการวิจัยการพัฒนาระบบการจัดซ้ือจัดจางขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ เอ.พี. กราฟค ดีไซน.

อุดม เชยกีวงศ. (2547). คูมือปฏิบัติงานของ: ผูบริหารและบุคลากร อบต. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพทิชช่ิงเอ็ท.

อุดม รัฐอมฤต. (2544). การแกไขปญหาการทุจริตในระบบการเมืองและวงราชการไทย (Political and Bureaucratic Corruption and its Solution). รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: กองการพิมพ, สํานักงานเลขาธิการสภาผูแทนราษฎร.

********************

Page 174: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

170

แนะนําหนังสือ ชื่อหนังสือ : Active Learning 101 Strategies to Teach Any Subject ผูเขยีน : Mel Silberman ปที่พิมพ : 1996, หนา 189 หนา สํานักพิมพ : A Simon & Schuster Company ผูแนะนํา : ดร.ประจักร รอดอาวุธ เนื้อหาสาระ หนังสือเลมน้ีเปนหนังสือเลมเดียวท่ีครอบคลุมเทคนิคการเรียนแบบใฝรู (Active Learning) ซึ่งเปน

เทคนิคท่ีเหมาะสําหรับการนําไปประยุกตใชในการสอนระดับมัธยมศึกษา เพราะเปนหนังสือท่ีมีรายละเอียดเก่ียวกับเทคนิคการสอนมากกวารอยวิธีท่ีจะทําใหนักเรียนมีสวนรวมและต้ังใจเรียนในทุกรายวิชา หัวขอสําคัญประกอบดวยเทคนิคการสอนท่ีจะชวยใหนักเรียนเรียนอยางต้ังใจและกระตือรือรน โดยเสนอแนะเทคนิคต้ังแตการใชกิจกรรมท่ีหลากหลายเพ่ือฝกทักษะการทํางานกลุม การรวมกันคิดวิเคราะหเกี่ยวกับเนื้อหาหรือหัวขอท่ีเรียน หนังสือเลมน้ีอธิบายวิธีจัดกิจกรรมเพื่อสงเสริมการเรียนรูท้ังส้ิน 101 วิธี ประกอบไปดวย กิจกรรมละลายพฤติกรรมในบทแรก ๆ เทคนิคการเรียนชวงกลางบทเรียน ซึ่งประกอบไปดวยแบบฝกหัดท่ีกระตุนใหผูเรียนสามารถสะทอนความคิด และกิจกรรมท่ีสงเสริมการนําไปประยุกตใชในอนาคต นอกจากน้ีกิจกรรมตาง ๆ ดังกลาวไดถูกออกแบบมาใชในการเรียนอยางนาสนใจ ทําใหเกิดความรูอยางถองแทในการเรียน รวมท้ังทําใหเกิดความคงทนในการเรียนรูอีกดวย หนังสือเลมน้ียังเหมาะสําหรับนักศึกษาครูและครูประจําการ นักการศึกษา และนักวิชาการผูชํานาญการหรือมืออาชีพท่ีจัดการศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เหมาะท่ีจะนําไปใชในการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตอนปลาย รวมท้ังระดับวิทยาลัย ศูนยการเรียนสําหรับผูใหญ

เกี่ยวกับผูเขยีน Mel Silberman เปนนักจิตวิทยาท่ีมีช่ือเสียงและเปนท่ียอมรับในระดับนานาชาติในฐานะผูบุกเบิกและ

ชํานาญการในดานสติปญญาท่ีเนนความสัมพันธระหวางบุคคล การเรียนแบบใฝรู (Active Learning) การใหคําปรึกษาและการใหความชวยเหลือ ในขณะท่ี Mel ดํารงตําแหนงศาสตราจารยดานการพัฒนาการศึกษาผูใหญและการพัฒนาองคกรท่ี Temple University เขาไดรับรางวัล 2 รางวัล ดานการสอนยอดเยี่ยม นอกจากน้ีเขายังเปนผูอํานวยการการจัดฝกอบรมดาน Active Learning ท่ี Princeton, Newjersey. นอกจากนี้ยังเปนผูจัดทําหนังสือและการจัดสัมมนา รวมท้ังการจัดพิมพในหัวขอหรือเรื่องท่ีเขามีความชํานาญเฉพาะ Mel มีประสบการณมากกวา 30 ป ในการคิดงานสรางสรรค คิดคนเทคนิคท่ีไดรับการยอมรับ ซึ่งชวยใหผูอานหรือเรียนรูเกิดความรู ความฉลาด เรียนรูไดอยางรวดเร็ว และรวมมือกับผูอื่นไดอยางมีประสิทธิภาพ

Page 175: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

171

ใบส่ังซ้ือ/ใบบอกรับ

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ช่ือ (นาย/นาง/นางสาว) ................................................................................................................... ในนามหนวยงาน

หนวยงาน .................................................................................................................................................. ท่ีต้ังหนวยงาน ........................................................................................................................................... โทรศัพท ........................โทรสาร .......................... ไปรษณยีอีเลกทรอนิกส............................................ ในนามสวนตัว

สถานท่ีติดตอ ............................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................... โทรศัพท ......................โทรสาร ........................ ไปรษณยีอีเลกทรอนิกส................................................

มีความประสงคจะบอกรับ/ส่ังซ้ือ วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค บอกรับวารสารเปนรายป ปท่ี .......... พ.ศ. ............... จํานวน ...... ชุด ชุดละ 330 บาท

รวมเปนเงิน ............. บาท ส่ังซ้ือปลีก ฉบับท่ี ......... ปท่ี .......... พ.ศ. ............... จํานวน ...... ฉบับ ฉบับละ 125 บาท

ส่ังซ้ือปลีก ฉบับท่ี ......... ปท่ี .......... พ.ศ. ............... จํานวน ...... ฉบับ ฉบับละ 125 บาท

ส่ังซ้ือปลีก ฉบับท่ี ......... ปท่ี .......... พ.ศ. ............... จํานวน ...... ฉบับ ฉบับละ 125 บาท

รวมเปนเงิน ............. บาท

ท้ังนี้ไดสงเงินคาวารสาร จํานวน ............ บาท (............................................................................) โดย ธนาณัติ เช็คไปรษณีย ส่ังจาย ปณ.สวรรควิถี

ในนาม คุณ วรรฒนา ไวยมิตรา สํานักงานบัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค อ.เมือง จ.นครสวรรค 60000

Page 176: 1 ISSN 1905-677x วารสารวิิชาการบ ััณฑิิตศึึกษาgs.nsru.ac.th/journal/journal/j7_20080919.pdf · ป ที่ 3 ฉบับที่

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal

ปที่ 3 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

172

วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

ปท่ี 1 ฉบับท่ี 1 ปท่ี 1 ฉบับท่ี 2

ปท่ี 2 ฉบับท่ี 3 ปท่ี 2 ฉบับท่ี 4 ปท่ี 2 ฉบับท่ี 5

ปท่ี 3 ฉบับท่ี 6